26 ต.ค. 2019 เวลา 04:28 • ธุรกิจ
Learning Visual Diary #32 : Smart Creative (key takeaway from 'How Google Works')
สวัสดี​ครับ​ทุกท่าน​ หนึ่งในบริษัทแห่งนวัตกรรม​ที่ท่านนึกถึงบริษัทแรกๆเลยคือบริษัทอะไรครับ ผมเชื่อว่าหนึ่งในบริษัทคนจำนวนมากนึกถึงคือ Google ส่วนตัวผมเองคิดว่า Google มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนวิธีคิด ความเชื่อ การดำรงชีวิต ของพวกเราทุกคนอย่างมาก และวันนี้ผมมีหนังสือเล่มนึงในมือผมที่อยากจะมาเล่าให้ฟังครับ เรามานั่งคุยกันกับ 'How Google Works' คิดอย่างผู้นำ ทำอย่าง Google ครับ
1
คือมัน​อย่างนี้​ครับ...
ต้องเรียนว่า ผมอ่านหนังสือเล่มนี้จบมาพักใหญ่แล้ว และคิดอยู่นานว่าจะทำ summary ดีใหม คือผมชอบเนื้อหานะครับ แต่มันไม่ง่ายเลยที่จะสรุปเนื้อหาได้ หนังสือเล่มนี้ของผมเต็มไปด้วยรอยพับเต็มไปหมด ดังนั้นไม่มีทางที่เราจะย่อยจบในตอนเดียวครับ เอาเป็นว่าค่อยๆย่อยไปด้วยกัน แน่นอนผมใส่ความเห็นผมไปด้วย และหยิบมาเฉพาะที่มองว่าเป็น Key Takeaway​ ในความเห็นผมครับ
1
ที่มาของ How Google Works
หนังสือ How Google Works เขียนโดยคุณ Eric Schmidt และ Jonathan Rosenberg ความสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ คุณ Eric เป็น CEO ของ Google ในช่วงปี 2001-2011 ซึ่วเป็นช่วงเวลาที่ Google ข้ามจากความเป็น Startup สู่ Giant tech นอกจากนี้ Jonathan เองก็เป็นหัวหน้าทีมผลิตภัณฑ์​ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์​เขย่าโลก อย่างเช่น Search, Ads, Gmail และ Android
แค่ฟังประวัติผู้เขียน ผมในฐานะสาวก Google ก็ไม่รีรอจะหยิบมาอ่านทันที และไม่ผิดหวัง สมเป็นหนังสือที่เหล่า Googler (พนักงาน Google)​แนะนำ
สำหรับตอนแรกของ How Google Works series นี้ ผมอยากจะเริ่มจากการเล่าถึงศูนย์กลางของหนังสือนี้เล่มนี้ครับ นั่นคือ Smat Creative มันคืออะไร Smart Creative ไม่ใช่นวัตกรรม​ ไม่ใช่โปรแกรม แต่เป็นคนครับ!
หัวใจของ Google คือ Smart Creative แล้วมันคืออะไร
Google ให้นิยาม Smart Creative ขึ้นมาเอง โดยบอกว่า นี่แหละคือ คนทำงานสายพันธุ์​ใหม่ที่ Google ต้องการ เพราะว่าองค์กรต้องการเร่งความเร็วในการพัฒนา​และเพิ่มคุณภาพไปพร้อมกัน (จริงๆต้องถึงขั้นดีเยี่ยมเลยละ)​ ทางเดียวที่ Eric มองคือ ต้องดึงคนเก่งเข้ามาทำงานเยอะๆ
โดยนิยามคนเก่งหรือ Smart Creative​ คือต้องมีความสามารถหลายด้าน คือ ไม่ใช่จะรู้แค่ tech แต่ยังต้องรู้จักธุรกิจ และที่สำคัญต้องมีความคิดสร้างสรรค์​ มันทำให้พวกเขาชอบหาไอเดียใหม่ๆแปลกๆ และก็สามารถดำดิ่งลงไปจนทำเองได้ด้วย (ไม่ต้องรอสั่ง)​ มากกว่านั้น Eric ยังมองว่าจะเป็น Smart Creative ที่ดีต้องไม่กล้วพลาด สื่อสารเก่ง ให้ความร่วมมือดี และละเอียดละออ...
เยอะไปใหมครับ จริงๆคงไม่ใช่ทุกคนที่มีแบบนี้ ผมสรุปสั้นๆตามสมการนี้ครับ
1
Smart Creative = (Technical knowledge + Business expertise + Creativity) x Growth Mindset
ความรู้และความสร้างสรรค์​ต้องมี และต้องเสริมด้วยทัศนคติเพื่อเป็นตัวเร่งที่ทำให้ความรู้และความสร้างสรรค์​ ไปในทิศทางที่ก้าวกระโดดครับ
Culture สำคัญกับ Smart Creative มากกกก
การจะดึง Smart Creative เข้ามาร่วมงานได้รวมถึงรักษาพวกเขาเหล่านั้นไว้ด้วย วัฒนธรรมองค์กร​คือสิ่งที่สำคัญที่สุดเลย Smart Creative จะแคร์ว่าสถานที่ทำงานแบบใหนที่ทำให้เขาสามารถสร้างงานที่ยิ่งใหญ่ได้ แล้วองค์ประกอบของ Culture ที่ว่ามีอะไรบ้าง
1. Founder
วัฒนธรรมองค์กรที่ดีควรเริ่มต้นจากตัว Founder เอง Founder เป็นสัญลักษณ์แรกๆที่คนนอกมององค์กร ถ้าจะทำให้วัฒนธรรมองค์กรเกิดขึ้นได้ดี ต้องเริ่มจากความเชื่อใน slogan ของบริษัท ซึ่งจะทำให้คนอื่นเชื่อ ตัว Founder ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างอย่างหนักแน่นและแน่วแน่ก่อน
Culture ก่อเกิดตามธรรมชาติของมัน ซึ่ง Eric บอกว่ามันก็เกิดได้แหละ แต่มันมีความเสี่ยงมาก มันเหมือนเราปล่อยให้ส่วนที่สำคัญที่สุดเป็นไปตามดวง
Google มีนวัตกรรมมากมายไม่ใช่เพราะ Larry Page และ Sergey Brin เป็นอัจฉริยะคิดนวัตกรรม แต่เป็นเพราะเขาสามารถดึงดูดคนเก่งๆให้เข้ามาทำงานได้ และสร้างสถาวะแวดล้อมที่เหมาะสม ให้ทุกคนได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ ซึ่งพลังดึงดูดสำคัญก็คือ Culture ที่ถูกถ่ายทอดผ่านตัว Page และ Sergey นั่นแหละครับ
2. Workplace Environment
จะดึงดูด Smart Creative​ ได้ต้องมีที่ทำงานที่ดูดี คำว่าดูดีไม่ใช่ luxury นะครับ ไม่ใช่ห้องทำงานใหญ่ๆ ผมคิดว่านิยามของคุณสมบัติ workplace ที่ดีมีประมาณนี้ครับ
a. มีพื้นที่กระตุ้นความคิด เหมาะแก่การทำ deepwork ได้ดี ไม่จำเป็นต้องติดกับโต๊ะ
b. เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการ ทำงาน อยู่ และ กิน ด้วยกันได้เลย แม้ว่า Google จะเป็นเจ้าพ่อเทคโนโลยี​ แต่ที่ทำงานของ Google ก็น่าอยู่มาก เพราะต้องการให้พนักงานใช้เวลาในที่ทำงานและอยู่ร่วมกันได้มากที่สุด
c. พื้นที่ส่งเสริมให้มี interaction ต่อจากข้อที่แล้ว Google มีอาหารรสเลิศให้พนักงานทุกวัน เพราะต้องการให้พนักงานมีโอกาสทานข้าวด้วยกันและได้แลกเปลี่ยนความคิดกัน มีกิจกรรมหลังเลิกงานที่สามารถทำร่วมกันได้ ทำให้ได้เห็นเพื่อนร่วมงานหรือเจ้านายในมุมที่ไม่ใช่งาน ช่วยให้คนเราสนิทกันได้มากเลยครับ
d. อุปกรณ์ต้องดี คอมพิวเตอร์​ต้อง spec เยี่ยม เข้าถึง software ของบริษัทได้ เข้าถึง data ได้ นั่นคือ authority และ freedom ครับ ไม่ทำให้เรื่องไม่เป็นเรื่องมาขวางไอเดียหรือการทำงาน
Google Thailand Office
3. Organization Structure
เรื่องนี้มี 2 ประเด็นย่อย เรื่องแรกคือ Flat organization คือไม่มีขั้นเยอะ คุณ Eric อ้างคำพูดของ Jeff Bezos​ เรื่อง 2 Pizza rule ว่า หนึ่งหัวหน้าหรือหนึ่งชุดทำงานควรมีสมาชิกไม่เกิน 7 คน หรือต้องแบ่ง pizza 2 ถาดกินกันได้พอดี (คนละสองชิ้นนิดๆ)​ เพื่อความกระชับ ไม่มากไม่น้อยไป
Pizza Company
ประเด็นต่อมาคือเรื่อง ธรรมมาธิปไตยทางไอเดีย (Meritocracy) คือ ความคิดทุกคนเท่ากัน อยู่ที่ไอเดียใครน่าสนใจกว่า ไม่เกี่ยวกับตำแหน่ง ใน Google มีศัพท์ว่า HIPPO ใช้เรียกผู้บริหาร ซึ่งย่อมาจาก Highest Paid Person's Opinion อย่าให้ HIPPO ครอบงำ จงมีอิสระในการแสดงความเห็นครับ
4. Work-Life Integration
พนักงานเองต้องมีอิสระพอที่จะตัดสินใจเองว่า จะพักผ่อน จะทำงาน จะเล่น ตอนใหน ถ้าเรามีเป้าหมายร่วมกันกับบริษัท Smart Creative จะหาทางไปสู่เป้าหมายได้เอง เขาอาจจะนอนตอนกลางวัน แต่อาจมีความคิดดีๆและนั่งทำงานตอนกลางคืนหรือวันหยุด เพราะ Smart Creative​ เชื่อว่าความสำคัญไม่ใช่เสบาทำงานแต่เป็น passion ในการทำงาน เพราะมันทำให้การทำงานคือชีวิต และกลายเป็นการหลอมรวมงานเข้าไปในการใช้ชีวิต จนแบ่งไม่ออก
ไม่ใช่ทำงานตลอดเวลานะครับแต่ก็เหมือนใช่ เมื่อเป้าหมายของงานและการใช้ชีวิตเป็นเรื่องเดียวกันคุณก็ไม่ได้รู้สึกเหนื่อยกับงานอีกต่อไป (เหมือนที่คุณไม่เคยเหนื่อยกับการใช้ชีวิต)​ ผมเรียกมันว่า Work-Life Integration (คำนี่ฟังมาจากใหนซักแห่ง จำไม่ได้จริงๆครับ)​ เคล็ดสำคัญคือเจ้าตัวต้องทำเอง และเต็มใจเพราะ ไม่มีใครสร้าง passion ให้คุณได้ถ้าคุณไม่สร้างมันขึ้นมาครับ
1
ทั้งหมดของตอนแรก ผมขอสรุปประเด็นแบบสั้นๆนะครับ
1.เรารู้จักกับ Smart Creative​ แล้ว เขาเป็นคนที่มี Tech + Biz + Creative ทั้งหมดคูณด้วย Growth Mindset
2. ต่อมา Culture และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับ Smart Creative ต้องเอื้อต่อการคิด อุปกรณ์เครื่องมือข้อมูลต้องพร้อม ให้อิสระในการตัดสินใจ​
ทั้งหมดนี้ คือการสร้าง Emotional Safety ให้กับ Smart Creative ครับ ลองคิดตามในบริบทของเราต่อนะครับ
ยังมีเรื่องอีกเยอะเลยครับ ในหนังสือมีเรื่องสนุกอีกมากครับ พูดไม่หมดครับ สนใจหามาอ่านเองก็ดี แต่ถ้าอยากฟังแบบสรุปๆ (อ่านแล้วก็มาแชร์กันได้ครับ)​โปรดติดตามตอนต่อไปด้วยนะครับ ชอบไม่ชอบยังไง ติชมได้เลยครับ
Happy Learning
ขอบคุณ​ครับ
ชัช​ฤทธิ์​

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา