28 ต.ค. 2019 เวลา 18:43 • การศึกษา
เคยสงสัยไหมคะ ว่าน้ำมันที่เราใช้กับ
ยวดยานพาหนะมาจากไหน?
กว่าจะมาเป็นน้ำมันให้เราได้ใช้ ต้องผ่านกระบวนการ
ขั้นตอนอะไรบ้างง !!!!
เมื่อสองวันก่อนมีโอกาสได้พูดคุยกับพี่คนนึงที่แกลาพักร้อน 3 เดือน เพื่อมาอยู่กับครอบครัว มาเลี้ยงลูกน้อยช่วยภรรยา ซึ่งแกลางานมานานขนาดนี้ เพราะทำงานบริษัทที่เกี่ยวข้องกับปิโตเลียม แน่นอนว่าต้องอยู่ทะเล เวลาที่จะมาหา มาเจอครอบครัวแทบไม่มี(คงคิดถึงกันมากๆ) แต่ก็นะ ทำงานปิโตเลียมเงินเดือนสูงมาก ถึงมากทีเดียว ก้แอบสอบถามพี่เขานะคะ ว่าเงินเดือนเท่าไหร่ (ประมาน 7-8 หมื่นเลยดีเดียว ) แถมมีโบนัสปีละ 2 ครั้ง ค่าที่อยู่ที่พักก็ฟรี มีเงินเหลือเยอะ แต่ไม่ค่อยได้ใช้ เพราะอยู่กลางทะเล 😂 แล้วอันนี้ก็ลืมถามพี่แกเลยว่าทำตำแหน่งอะไร 😅
www.prachachat.net
เอาล่ะค่ะ มาถึงตรงนี้จากการสอบถามข้อมูล คุยแลกเปลี่ยนกับพี่แกก็สนุกดีฮ้ะ ด้วยความที่เราก็ชอบเรื่องนี้มากในสมัยเรียนเลยมีข้อมูลพอได้สนทนากับพี่แกบ้าง จนพี่แกสงสัยว่า เอ้ะ!! น้องมีแฟนทำงานปิโตเลียมรึป่าว? 5555 ตอบเลยว่าไม่คร่าา หนูแค่เป็นครูวิทย์มีข้อมูลพวกนี้เป็นความรู้ และเอาไว้สอนเด็กๆค่ะ 🤣🤣
ดังนั้นในบทความนี้จึงหยิบเรื่อง การกลั่นลำดับส่วน
น้ำมันปิโตรเลียมมาฝากกันค่ะ
ก่อนอื่น ต้องทำความรู้จักกันก่อนว่า ปิโตรเลียมคืออะไร?
📍ปิโตรเลียม เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในชั้นหินใต้พื้นผิวโลก ซึ่งมีธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลัก คือ ไฮโดรเจนกับคาร์บอนค่ะ และธาตุพวกนี้ก็ได้จากการสลายตัวของอินทรีย์สารที่ทับถมในชั้นหินตะกอน ภายใต้ความร้อนและความดันมหาศาล
สารไฮโดรคาร์บอนนี้จะมีจุดเดือดใกล้เคียงกันมากจึงต้องอาศัยการกลั่นลำดับส่วน โดยสารที่มีโมเลกุลน้อยกว่าจะระเหยและแยกตัวออกมาก่อน (จุดเดือดต่ำกว่า)
ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ยังคงเป็นสารละลายอยู่ **ไม่เป็นสารบริสุทธิ์ค่ะ**
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม
สารที่จุดเดือดต่ำ และมีคาร์บอนน้อย จะลอยขึ้นด้านบน
เรียงลำดับได้ดังนี้
1. ก๊าซหุงต้ม (มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน)
2. ก๊าซโซลีน (น้ำมันเบนซิน)
3. แนฟทา
4. น้ำมันก๊าด
5. น้ำมันดีเซล
6. น้ำมันหล่อลื่น
7. พาราฟิน
8. น้ำมันเตา
9. ยางมะตอย
www.tananop32a03.wordpress.com
***ถ้าเจอในข้อสอบ หนังสือหลายๆสำนักจะมีวิธีการจำ ดังนี้
ถ้า *มี รถ *เบนซ์ *นั่ง *ก็ จะ *ดี *หล่อ และ *บี จะ *พา *เต๋า และ *ต๋อย ไปเที่ยว
หลังจากที่เราได้น้ำมันดิบแล้ว นำไปกลั่นในข้างต้นจะเห็นว่า ส่วนที่ออกมาก่อน จะเป็นแก๊ส ของเหลว และของแข็ง ตามลำดับ
กว่าเราจะได้แหล่งที่มาของน้ำมันแล้ว ใช่ว่าน้ำมันที่เราพบ จะสามารถนำไปใช้ได้เลย ซึ่งเราก็ต้องนำไปกลั่นลำดับส่วนก่อน เราถึงจะนำนำ้มันที่ได้ไปใช้ให้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานแต่ละชนิด
ชนิดของปิโตรเลียมมีอะไรบ้าง?
1. น้ำมันดิบ
ซึ่งน้ำมันดิบก็ได้กล่าวไปแล้วในข้างบนค่ะ
2. แก๊สธรรมชาติ
จะมี อยู่ 4 ชนิดค่ะ
** มีเทน ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย หรืออัดใส่ถังเป็นเขื้อเพลิงรถโดยสาร NGV (Natural Gas for Vehicles)
** อีเทน จะพบมากในการทำพลาสติก
** โพรเพน และ ** บิวเทน เมื่อพบกัน เป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือเชื้อเพลิงหุงต้ม LPG ( Liquefied Petroleum Gas)
ทีนี้เรามาดูว่าน้ำมันเชื้องเพลิงที่ได้จากการกลั่นแล้ว เรานำไปใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง?
กล่าวคือ น้ำมันเชื้อเพลิงก็คือของเหลวที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ หลังจากนั้นเราจะนำไปปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อใช้เผาให้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์นั่นเองค่ะ
ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงจะมี 2 ประเภท คือ
1. น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน
2. น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล
ก่อนที่เราจะจากบทนี้ไป เรื่องการกลั่นลำดับส่วน
ก็มีข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของน้ำมันที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันมาฝากเป็นเกร็ดเล็กๆค่ะ เริ่มเลยค่ะ
1. น้ำมันเบนซิน ออกเทน 91
คล้าย เบนซิน ออกเทน 95 เพียงแค่ถูกลดคุณภาพลงมาเล็กน้อยค่ะ ไม่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์
2. น้ำมันเบนซิน ออกเทน 95
สุดยอดน้ำมันแห่งยานยนต์ ไม่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ มีค่าออกเทนสูง มีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ ทำให้เบนซิน 95 ตอบสนองต่อการขับขี่มากที่สุดค่ะ (แต่แอบแพงกว่าน้ำมันชนิดอื่น )
3. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95
ใช้แทน เบนซิน 95 ได้
มีส่วนผสมของ เอทิลแอลกอฮอล์ที่ความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับเบนซิน 95 ในอัตราส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทิลฯ 1 ส่วน
4. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91
ใช้แทน เบนซิน 91 ได้
มีส่วนผสมของ เอทิลแอลกอฮอล์ที่ความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับเบนซิน 91 ในอัตราส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทิลฯ 1 ส่วน
** สามารถเติมผสมกับเบนซินที่อยู่ในถังได้เลย
5. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ผสมกับ เอทิลแอลกอฮอล์ ที่ความบริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน 80 : 20
6. น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 85
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ผสมกับ เอทิลแอลกอฮอล์ ที่ความบริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน 15 : 85
7. ไบโอดีเซล
น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ ทำปฏิกิริยาเคมีกับ แอลกอฮอล์ เรียกว่าสารเอสเตอร์ มีสมบัติใกล้เคียงกับดีเซล
8. ก๊าซ LPG หรือก๊าซหุงต้ม
ได้จากกระบวนการแยกธรรมชาติ และกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ สารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน (โพรเพนกับบิวเทน)
พวกนี้ไม่มี ไม่มีกลิ่นค่ะ (ถ้ามีกลิ่นแปลว่าถังแก๊สอาจจะรั่ว หรือไฟจะไหม้บ้านล๊าวว )
9. ก๊าซ NGV
ก๊าซธรรมชาติที่มี มีเทน เป็นส่วนประกอบหลักและถูกอัดจนมีความดันสูง ถูกเก็บไว้ในถังบรรจุแก๊สธรรมชาติ
มีสภาพเป็นก๊าซหรือไอที่อุณหภูมิ และความดันบรรยากาศ
มีค่าความถ่วงจำเพาะกว่าอากาศ จึงเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจึงฟุ้งกระจายตามบรรยากาศอย่างรวดเร็ว จึงมีการสะสมลุกไหม้ และอาจระเบิดได้ ตามที่เราเห็นในข่าว รถที่ติดก๊าซ NGV
** แม้จะมีราคาถูก แต่ก็เสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้มากกว่าการเติมน้ำมันชนิดอื่นค่ะ
10. น้ำมันดีเซล
ลองมาสำรวจราคาน้ำมันในปัจจุบัน และตามบริษัทต่างๆที่ขายน้ำมันกันค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์และให้ความรู้นะคะ
ชอบกดไลค์ ติดตาม และคอมเม้นติชมได้นะคะ
ขอขอบพระคุณค่ะ 🙏😍😍
โฆษณา