31 ต.ค. 2019 เวลา 12:06 • ความคิดเห็น
"ยุคนี้...แม้แต่โจรยังถูก disrupt !?"
เนื่องจากเมื่อวานและวันนี้ ผมต้องไปอบรมเกี่ยวกับกฎหมาย FinTech ซึ่งเป็นกฎหมายใหม่ที่ออกมารองรับเรื่องเทคโนโลยีด้านการเงิน และความปลอดภัยของข้อมูล ฯลฯ (หากมีโอกาสผมจะนำมาเล่าให้ฟังทีหลัง)
เรื่องของเรื่องก็คือ เดิมผมคิดว่าอาจจะไม่ได้ลงบทความใน 2 วันนี้ เนื่องจากติดเรื่องเวลาและไม่ได้เตรียมเรื่องที่จะเขียนไว้
แต่ไป ๆ มา ๆ หลังจากได้ฟังเนื้อหาในเรื่องที่อบรม ซึ่งวิทยากรได้พูดถึงการ disrupt ธุรกิจต่าง ๆ จึงได้เกิดไอเดียที่จะนำมาเขียนบทความนี้
ซึ่งเนื้อหาอาจจะเบา ๆ ซักหน่อย เพราะไม่ได้เน้นกฎหมายอะไรมากมาย จึงขอให้อ่านกันสนุก ๆ กระตุ้นความคิดนะครับ
pixabay
คือทุกวันนี้ กระแสคลื่น disrupt กำลังถาโถมและพัดพาธุรกิจเดิม ๆ ให้ล้มหายตายจากไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ธุรกิจธนาคาร
ย้อนกลับไปประมาณ 10 - 20 ปีที่แล้ว...
ก่อนที่เทคโนโลยีจะเข้ามา disrupt ธุรกิจนี้ ธนาคารมักจะกระจายสาขาไปยังจุดต่าง ๆ ที่มีจำนวนประชากรเยอะพอสมควร
จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ เวลากลับจากโรงเรียน ผมสังเกตว่าจะมีสาขาของธนาคารต่าง ๆ
ตลอดทางกลับบ้าน คือทุกๆ 2-3 ป้ายรถเมล์ต้องมีให้เห็น
เรียกได้ว่า หันไปทางไหน เดินไปที่ใด ก็จะพบสาขาของธนาคารใดธนาคารหนึ่งอยู่เสมอ
เมื่อผมได้มีโอกาสเข้าไปฝาก/ถอนเงิน ตอนเดินเข้าไปที่ธนาคารก็จะพบพี่ รปภ. ยืนอยู่หน้าประตู คอยตรวจสอบด้วยสายตาว่าคนที่เข้ามาทำธุรกรรม มีพฤติกรรมน่าสงสัยรึเปล่า (ห้ามใส่หมวก ห้ามใส่แว่นดำด้วยนะ)
พอเข้ามาในธนาคารก็จะมีเจ้าหน้าที่คอยแนะนำให้เขียนใบฝาก/ถอน รอเรียกคิว
เพื่อไปทำธุรกรรมต่อที่เคาน์เตอร์
ซึ่งแต่ละสาขาก็จะมีเคาน์เตอร์ให้บริการลูกค้า ประมาณ 4-5 เคาน์เตอร์
และหากลูกค้าคนไหนต้องการทำธุรกรรมอื่น ๆ เช่น เปิดบัญชี หรือขอกู้เงิน ฯลฯ ก็จะมีพนักงานคอยให้บริการและให้คำปรึกษาอีกส่วนหนึ่งต่างหาก
ซึ่งนั่นคือภาพในอดีต...
ทุกวันนี้ภาพเหล่านี้เริ่มหายไป ธนาคารทุกสีต่างทยอยยุบสาขาตามจุดต่าง ๆ ไปจนเกือบหมดแล้ว
เหลือเพียงสาขาตามห้างสรรพสินค้าที่พอจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการอยู่บ้าง แต่ก็ลดจำนวนพนักงานที่ประจำสาขาเหล่านั้นเหลือเพียงไม่กี่คน
เราอาจจะพบกับผู้จัดการสาขา 1 คน พนักงานประจำเคาน์เตอร์ซัก 2-3 คน
แม่บ้านและรปภ. อีก 1 คน ต่อธนาคาร
1 สาขา
และอีกไม่นาน สาขาในห้างสรรพสินค้าก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีอีกแล้วก็ได้
เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้การดำเนินธุรกรรมต่าง ๆ ระหว่างลูกค้ากับธนาคารสำเร็จง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส
ทุกวันนี้พวกเราใช้ smartphone ในการทำธุรกรรมได้เกือบทุกอย่าง จึงแทบไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปธนาคารอีกต่อไป
และอีกไม่นาน การทำธุรกรรมที่ต้องใช้เอกสารจำนวนมากอย่างเช่น การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยก็อาจทำผ่าน smartphone ได้เลยก็ได้ใครจะไปรู้
นั่นเป็นเรื่องของธุรกิจธนาคาร...
กลับมาที่หัวข้อของบทความที่ว่า โจรหรือคนร้ายอาจถูก disrupt ได้นั้นหมายความว่ายังไง ?
คำตอบของเรื่องนี้ก็ชัดเจนอยู่ในตัวอยู่แล้ว ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือการลดจำนวนของสาขาธนาคารและพนักงานอย่างต่อเนื่อง
เมื่อธนาคารในรูปแบบเดิมกำลังจะสูญหายไป รูปแบบของการปล้นธนาคารที่เราเห็นกันในอดีตก็อาจถูก disrupt ไปด้วยเช่นกัน
ลองนึกภาพตามผมนะครับ ใครที่เคยดูภาพยนตร์เกี่ยวกับการปล้นธนาคารน่าจะนึกออกได้ไม่ยาก
คนร้ายมักจะมีไม่ต่ำกว่า 5 คน ต้องมีการวางแผนกันว่าคนไหนมีหน้าที่อะไร เช่น ต้องมีคนดูต้นทาง ต้องมีคนที่เข้าไปข่มขู่กรรโชก และคนที่เตรียมรถเพื่อพาหนี
แต่เมื่อรูปแบบของธุรกิจธนาคารเปลี่ยนไป ทุกอย่างแทบจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัลไปหมดแล้วแม้กระทั่ง "เงิน"
รูปแบบการปล้นแบบเดิม ๆ อย่างการควงปืน หรือมีดเข้าไปในธนาคารจึงไม่อาจนำมาใช้ได้อีกต่อไปในปัจจุบัน
การปล้นในปัจจุบันและในอนาคตจึงเป็นการใช้ความเชี่ยวชาญทางด้าน IT เพื่อ hack ระบบข้อมูลหรือสินทรัพย์ดิจิตอล (ซึ่งรวมถึงเงิน) แทนการปล้นในรูปแบบเดิม
1
Hacker เก่ง ๆ เพียงคนเดียวสามารถโจรกรรมเงินและข้อมูลต่าง ๆ ของผู้คนได้โดยแทบไม่ต้องเสียเหงื่อเลยซักหยดเดียว
แถมไม่ต้องมีผู้ร่วมกระทำความผิดเยอะแยะมากมายเหมือนแต่ก่อนอีกต่อไป
ดังนั้น โจรหรือคนร้ายที่ไม่ปรับตัวก็ต้องถูก disrupt ไปด้วยเหมือนกัน (จะเสียใจแทนดีมั้ย)
สุดท้าย แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากแค่ไหนก็ตาม ก็หนีไม่พ้นด้านมืดของมนุษย์ที่นำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ในทางที่ผิด
จึงอาจถึงเวลาแล้วก็ได้ที่เราต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาจริยธรรมควบคู่กับเทคโนโลยีไปพร้อม ๆ กัน
ไม่ปล่อยให้ "สวนทาง" อย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา