3 พ.ย. 2019 เวลา 00:20 • การเมือง
EP.1 ซีรี่ย์พื้นฐานเศรษฐศาสตร์การเมือง
3
เกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาล พอสังเขป
เกี่ยวกับเรื่อง
1.งบประมาณเกินดุล คือ รายได้ มากกว่า รายจ่าย
2.งบประมาณขาดดุล คือ รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย
3.งบประมาณสมดุล คือ รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
>รายได้และรายจ่ายของรัฐบาล
รายได้ มาจากไหน?
>ภาษีต่างๆ
1.ภาษีสรรพสามิต (ได้มากที่สุด)
2.ภาษีอากร
3.ภาษีศุลกากร
4.ภาษีอื่นๆ
>และรายได้อื่นๆ
รายจ่าย ใช้อะไรบ้าง?
-เงินไปยังกรมต่างๆ ซึ่งกรมที่ใช้งบประมาณมากที่สุด คือ กรมทางหลวง
-จ้างข้าราชการและจ้างแรงงานอื่นๆ
-ทำนโยบายต่างๆ
-และอื่นๆ
การออกงบประมาณของรัฐบาล
1. งบประมาณเกินดุล
เป็นงบประมาณที่มี รายได้ มากกว่า รายจ่าย
• สมมติปี 2561 ได้รายได้ 10 บาท แต่ปีงบประมาณ 2562 ก็ออกงบน้อยกว่ารายได้ของปี 2561 คือ 9 บาท นั่นแสดงว่า ทำให้เงินเหลืออีก 1 บาท เงินนี้ก็จะเข้าไปยัง เงินคงคลัง(เงินเก็บของรัฐบาล)
2. งบประมาณขาดดุล
เป็นงบประมาณที่มี รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย
• สมมติปี 2561 ได้รายได้ 10 บาท ปีงบประมาณ 2562 ก็ออกงบมากกว่ารายได้ของปี 2561 คือ 11 บาท นั่นแสดงว่า ทำให้ขาดอีก 1 บาท เงินนี้ก็จะมาจาก เงินคงคลัง(เงินเก็บของรัฐบาล) หรือกู้เงินนั่นเอง จึงทำให้เกิด "หนี้สาธารณะ" มาทดแทนเงินที่ยังขาดอยู่
3. งบประมาณสมดุล
เป็นงบประมาณที่มี รายได้ เท่ากับ รายจ่าย
• สมมติปี 2561 ได้รายได้ 10 บาท ปีงบประมาณ 2562 ก็ออกงบเท่ากับรายได้ของปี 2561 คือ 10 บาท นั่นแสดงว่าใช้อย่างพอดี
วิธีการออกงบประมาณของรัฐบาล
>แล้วทำไม บางปีรัฐบาลออกงบแบบ "เกินดุล" บางปีก็ออกงบแบบ "ขาดดุล" ? (แต่ก็มีบางปีออกงบแบบ"สมดุล")
> ดังนั้นต้องทำความรู้จักกับ "เงินฝืด" กับ "เงินเฟ้อ" ก่อน
• เงินฝืด คือ ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น : จากการที่เมื่อก่อน ซื้อลูกอม 1 บาท ได้ลูกอม 2 ลูก มาตอนนี้ ซื้อ 1 บาท ได้ลูกอม 3 ลูก นั่นคือ เงินบาทมีมูลค่าเพิ่มขึ้น จึงแลกเปลี่ยนได้สินค้ามากขึ้น
• เงินเฟ้อ คือ ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง : จากการที่เมื่อก่อน ซื้อลูกอม 1 บาท ได้ลูกอม 2 ลูก มาตอนนี้ ซื้อ 1 บาท ได้ลูกอม 1 ลูก นั่นคือ เงินบาทมีมูลค่าลดลง จึงแลกเปลี่ยนได้สินค้าน้อยลง
>แล้วงบประมาณเกินดุล กับ งบประมาณขาดดุล ใช้ตอนไหน?
• งบประมาณเกินดุล ใช้ตอนที่เกิดภาวะเงินเฟ้อ
• งบประมาณขาดดุล ใช้ตอนที่เกิดภาวะเงินฝืด
หวังว่าผู้อ่านได้เข้าใจคร่าวๆ เกี่ยวกับงบประมาณของรัฐบาล

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา