3 พ.ย. 2019 เวลา 14:40 • การศึกษา
สรุปสภาวะ เงินฝืด และ เงินเฟ้อ
1
คำถาม
1) ถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลไม่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเลยหรือออกแต่ไม่เพียงพอ (ยกตัวอย่างวิกฤติต้มยำกุ้ง) เงินจะเฟ้อหรือฝืด
ตอบ เงินจะฝืด เพราะเงินในระบบหดตัวอย่างรวดเร็วเพราะเกิดหนี้ศูนย์ > ข้าวของ สินค้า และ ราคาทรัพย์สินทุกชนิด(ยกเว้นทองคำเพราะมีสมบัติเหมือนเงินหรือสินค้าตามแต่สถานการณ์) จะถูกลงปริมาณเงินเท่าเดิมจะซื้อของได้มากขึ้น
ธนบัตรเก่าสมัยต้นรัชกาลที่๙ (ที่มาภาพจากของสะสมเพจ เศรษฐศาสตร์&การลงทุน)
2) ถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลออกมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจอัดฉีดเงินเข้าระบบอุ้มหนี้เสีย เงินจะเฟ้อหรือฝืด
ตอบ ช่วงแรกๆเงินจะฝืดแต่เมื่อเวลาผ่านไปเงินจะเฟ้อ เพราะปริมาณเงินที่หมุนเวียนในระบบจะยังไม่ลดลงมากเงินจะไม่ฝืดมาก > เมื่อหนี้เสียเริ่มดี สถานการณ์เริ่มคงที่เงินในระบบจะเพิ่มขึ้น > เกิดภาวะเงินเฟ้อ (ยกตัวอย่าง หลังวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์)
ภาวะเงินเฟ้อดี/เสีย ต่อใคร
ดี > 1) นักลงทุน 2)ผู้ถือครองทรัพย์สิน 3) ผู้มีหนี้สินที่ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการลงทุน
เสีย > 1) พนักงานลูกจ้าง ราชการ ที่รับเงินเดือน 2) ผู้เกษียณอายุรับเงินบำนาญ 3) ผู้ถือครองเงินสด
ภาวะเงินฝืดดี/เสีย ต่อใคร
ดี> 1) พนักงานลูกจ้าง ราชการ ที่รับเงินเดือน 2)ผู้เกษียณอายุรับเงินบำนาญ 3)ผู้ถือครองเงินสด
เสีย > 1)นักลงทุน 2)ผู้ถือครองทรัพย์สิน 3)ผู้มีหนี้สิน (เพราะเงินทองหายาก จึงหามาจ่ายเจ้าหนี้ยาก)
เงินเฟ้อ สาเหตุ เกิดจากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มมากขึ้นจาก
1)การขึ้นราคาของปัจจัยการผลิต ยกตัวอย่างน้ำมัน ค่าแรง
3
2)การเพิ่มขึ้นขึ้นราคาสินทรัพย์และผู้ขายสินทรัพย์ขายสินทรัพย์ได้สำเร็จ
3)การปล่อยกู้ที่มากขึ้น ทุกครั้งที่มีการปล่อยกู้ ปริมาณเงินจะเพิ่มขึ้น เช่นการออกพันธบัตรรัฐบาล
4)คนเก็บเงินนำเงินออกมาใช้ เพราะเงินที่ถูกเก็บไว้จะถูกปล่อยลงสู่การหมุนเวียนเศรษฐกิจในในข้อ5ที่กำลังจะกล่าว
5)การหมุนเวียนเปลี่ยนถ่ายมือของเงินในรอบๆที่มาก ในศัพท์วิชาการจึงเรียกเงินว่า currency ในภาษาชาวบ้านเรียกจับจ่ายใช้สอยคล่องมือ
6) การปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย เพราะจะทำให้เกิดการกู้เงินครั้งใหม่(สำคัญที่การกู้เงินตามที่บอก ทุกครั้งที่มีการปล่อยกู้ เงินขยายตัว) (แต่เงินบาทจะอ่อนค่า เพราะทุนไหลออก)
7) เงินทุนไหลเข้าประเทศที่แลกเป็นบาทแล้ว, กำไรจากบริษัทที่ลงทุนนอกราชอาณาจักรไหลเข้าประเทศที่แลกเป็นบาทแล้ว, กำไรจากการส่งออกที่แลกเป็นบาทแล้ว และเงินที่กล่าวมานี้ไหลเข้ากระจายสู่ระบบ (แต่เงินบาทจะแข็งค่า เพราะบาทหายาก)
ธนบัตรเก่าสมัยรัชกาลที่๘ (ที่มาภาพจากของสะสมเพจ เศรษฐศาสตร์&การลงทุน)
เงินฝืด สาเหตุ เกิดจากปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบลดลงจาก
1)การลดราคาของปัจจัยการผลิต ยกตัวอย่าง น้ำมันลด ค่าแรงลดเช่นบริษัทจ่าย 75%
2)การลดลงของราคาสินทรัพย์และผู้ขายสินทรัพย์ขายได้สำเร็จ เช่นราคาทองลดลง หุ้นราคาลดลง เศรษฐีล้มละลายขายที่ดินราคาขาดทุน(ราคาที่ดินราคาลดลง)
3)การผิดนัดชำระหนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดหนี้ศูนย์เงินจะหายไปจากระบบแบบฮวบทันที
4)คนไม่ยอมใช้จ่ายเงินแต่จะเก็บออม ยิ่งต่างคนต่างเก็บออมเงินยิ่งฝืด โดยเฉพาะวัด มูลนิธิการกุศล เงินเก็บออมเยอะมากเยอะขึ้นเรื่อยๆไม่ค่อยนำออกมาใช้จ่าย (เพราะเงินที่ถูกเก็บไว้ไม่ได้เข้าไปอยู่ในระบบหมุนเวียนที่วิ่งๆอยู่ในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะเงินที่เก็บนอกระบบการเงิน เช่นเงินในกระปุกออมสินเด็ก เงินในตู้เซฟเศรษฐี)
5)รอบการหมุนเวียนเปลี่ยนมือของเงินลดลง ในภาษาชาวบ้านเรียก เศรษฐกิจฝืดเคือง คนอยากเก็บเงินสด
6) การปรับเพิ่มดอกเบี้ยนโยบาย เพราะเงินในระบบจะหดจะหดตัวลงๆ ทุกครั้งที่ลูกหนี้ส่งดอกและต้น ตามระยะเวลาที่ปล่อยกู้ (แต่เงินบาทจะแข็งค่า เพราะทุนไหลเข้ามาซื้อพันธบัตรดอกเบี้ยสูง)
7) เงินทุนไหลออก เพราะเงินถูกสูบออกไหลออกนอกประเทศ (แต่เงินบาทจะอ่อนค่า เพราะบาทถูกขายเพื่อแลกเป็นดอลลาร์ นำออกนอกประเทศ บาทจะไปกองอยู่ที่ในกองทุนเงินตราระหว่างประเทศ ไม่กระจายสู่มือประชาชน)
นอกจากนี้เงินยังไหล เป็นชั้นๆ (เหมือนวรรณะในอินเดีย) คือเช่น ไหลดีในหมู่คนรวย (เงินเฟ้อ) เหือดแห้งในรากหญ้า (เงินฝืด) ดังนั้นเงินอาจจะทั้งเฟ้อและฝืดพร้อมกันได้ เพราะพฤกติกรรมการเปลี่ยนถ่ายทรัพย์สินกันในหมวดหมู่เดียวกัน เช่นคนรวยเข้าแต่ห้างซื้อแต่ของดีๆมีคุณภาพ
รากหญ้าก็ซื้อของแลกเปลี่ยนกันแต่ในหมู่รากหญ้า
อีกทั้งรากหญ้ายังถูกสูบเงินขึ้นไปข้างบน (ที่เคยพูดไปเมื่อสามสี่ปีก่อน เรื่องต้นไม้แห่งเงิน)
2
ภาวะข้าวยากหมากแพง คือราคาข้าวของแพงขึ้นๆ จริงๆแล้วคือภาวะเงินเฟ้อไม่ใช่ภาวะเงินฝืด เพราะของมันแพงขึ้นๆ คนมีเงินก็อยากจะรีบซื้อของจำเป็นนั้นมาเก็บกักตุ้น (อยากใช้เงินออกไป) และถ้าเก็บเงินไว้เงินจะยิ่งเสียมูลค่า(เงินเฟ้อ)ซื้อของชนิดเดิมปริมาณเท่าเดิมในราคาเดิมไม่ได้
1
เขียนโดย “เศรษฐศาสตร์&การลงทุน”
นพพร รุ่งอุทัย
31 ตุลาคม 2562
>> สนใจบทความคุณภาพรบกวนกดติดตามเพจ เพื่อกำลังใจในการเขียนบทความคุณภาพต่อไป ขอบคุณครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา