3 พ.ย. 2019 เวลา 16:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#จะใช้แรงดันเท่าไรดีในการคำนวณค่ากระแสไฟฟ้า
(ใช้ค่าไหนดี 220,230,380,400,416V ???)
- ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ของ วสท.พ.ศ. 2556 มีการกำหนดแรงดันไฟฟ้า ที่เรียกว่า แรงดันที่ระบุ (Nominal Voltage) ไว้สำหรับการออกแบบและการคำนวณค่าต่างๆทางไฟฟ้า ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของระบบ เช่น ที่หม้อแปลง ที่ตู้ MDB ที่ตู้ DB ที่ตู้ LP หรือที่โหลด ก็ให้ใช้ค่าแรงดันที่ระดับเดียวกันเป็นค่าในคำนวณ คือ ที่ 3 เฟส ใช้ 400V และที่ 1 เฟส ใช้ 230V (สำหรับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำ ชนิด 3 เฟส 4 สาย ของประเทศไทย)
- ซึ่งแรงดันที่ระบุนี้ จะไม่ใช่แรงดันไฟฟ้าพิกัด (Rated Voltage) แต่แรงดันพิกัด คือ แรงดันไฟฟ้าของอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ผู้ผลิตกำหนดขึ้น เพื่อให้การทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านั้น เป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด เช่น พิกัดแรงดันของมอเตอร์ที่กำหนด เป็น 220V และ 380V หรือ พิกัดแรงดันหม้อแปลงด้านแรงต่ำของ กฟน. = 240/416V และของ กฟภ. = 230/400V
- ดังนั้นในการคำนวณค่าในระบบไฟฟ้าต่างๆ เช่น ค่ากระแส ของหม้อแปลงของ กฟน. ก็จะไม่ใช้ 416V หรือ 240V มาคิดแล้วนะ หรือถ้าจะคำนวณพิกัดกระแสของมอเตอร์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ก็ไม่ใช้ระดับแรงดัน 380V หรือ 220V มาคิดแล้วเหมือนกันนะ แต่จะใช้ระดับแรงดันระบุค่าเดียวกันคือ 400V สำหรับ 3 เฟส และ 230V สำหรับ 1 เฟส
Reference:
- มาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย 2556
- Electrical Room
โฆษณา