4 พ.ย. 2019 เวลา 11:40 • สุขภาพ
📄เมื่อกล่าวถึง แคลเซียม(calcium, Ca2+) คนส่วนใหญ่รู้จักกันดีและได้ยินชื่ออยู่บ่อยๆ แต่มักเรียกกันสับสนว่ามันคือ วิตามินบ้าง แร่ธาตุบ้าง ยาบ้าง เป็นต้น
แล้วแคลเซียม มันคืออะไรกันแน่❓....
และเราควรได้รับแคลเซียมในปริมาณเท่าไหร่ต่อวันถึงจะเพียงพอ❓....
เราไปหาคำตอบกันเลยครับ 👉👉👉
จริงๆ แล้ว แคลเซียมเป็น"แร่ธาตุ" ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในอาหาร ผักและผลไม้หลายชนิด โดยมีปริมาณที่แตกต่างกันดังตารางข้างล่างนี้
ตารางแสดงปริมาณแคลเซียมในอาหารประจําวันของคนไทย
และแคลเซียมยังมีส่วนสำคัญต่อร่างกายของเรามากมาย โดยประโยชน์หลักๆ ของแคลเซียมคือ
✔️ร่างกายต้องการแคลเซียมเพื่อสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ส่วนใหญ่แคลเซียมจะถูกเก็บสะสมอยู่ในส่วนนี้ โดยการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายจะมีวิตามินดี (vitamin D) เป็นตัวช่วย สามารถอ่านประโยชน์ของวิตามินดีเพิ่มเติ่ม ได้ที่นี่....👇👇👇
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับในแต่ละวันมันจะมีปริมาณที่จำกัดอยู่นะครับ ไม่ใช่ว่าใครจะกินมากเท่าไหร่ก็ได้😢
การได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เกิดผลดีต่อร่างกาย หากได้รับมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน โดยปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวันจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอายุ หรือสภาวะของบุคคลแต่ละประเภท
ดังนั้นปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมของแต่ละคนที่ควรได้รับในแต่ละวันแสดงตามรูปด้านล่างนี้
ปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมของแต่ละคนที่ควรได้รับในแต่ละวัน https://bit.ly/2qi2Ze8
เมื่อเราได้รู้ถึงปริมาณแคลเซียมที่ตัวเราเองควรได้รับประทานแล้วนั้น... เราก็ควรรับประทานให้ถึงและเพียงพอ👌
แต่... แต่... แต่.... เราก็ไม่ควรรับประทานแคลเซียมเกินปริมาณที่กำหนดในแต่ละวันเช่นกัน⛔ เพราะหากรับประทานมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการท้องผูก(constipation) 😥 หรือแคลเซียมอาจไปขัดขวางการดูดซึมของ ธาตุเหล็ก (Fe2+) และ สังกะสี (Zinc, Zn2+) ได้เช่นกัน ดังนั้น เราไปดูตารางที่บอกถึงปริมาณสูงสุดของแคลเซียม ที่ไม่ควรรับประทานเกินขนาดต่อวันกันเลยครับ❎
ปริมาณสูงสุดของแคลเซียม​ ที่ไม่ควรรับประทานเกินขนาดนี้ต่อวันแบ่งตามช่วงอายุและสภาวะของแต่ละคน https://bit.ly/339QJLb
แต่พอรู้ปริมาณแล้วก็ไม่ใช่ว่าใครๆ จะกินแคลเซียมได้หมดทุกคน การกินแคลเซียมก็มีข้อจำกัดอยู่หลายประการ เช่น โรคประจำตัวของคุณ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยา หรือกับอาหารเสริมอื่นๆ
🛠️💊 ต่อไปนี้ผมจะขอยกตัวอย่าง การตีกันระหว่างยากับแคลเซียม(drug interactions) ที่อาจเจอได้บ่อยและควรระวัง ได้แก่
1.ยาที่เมื่อรับประทานคู่กับแคลเซียม จะทำให้ยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ได้น้อยลงเช่น bisphosphonates (ยารักษากระดูกพรุน), ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม fluoroquinolone และ tetracycline ยา levothyroxine, phenytoin เป็นต้น
2.ยาที่เมื่อรับประทานคู่กับแคลเซียม จะทำให้แคลเซียมออกฤทธิ์ได้มากขึ้น หรือสะสมในเลือดได้มากขึ้น (hypercalcemia) เช่น ยาขับปัสสาะกลุ่ม Thiazide
3. ยาที่เมื่อรับประทานคู่กับแคลเซียม จะทำให้แคลเซียมถูกขับออกจากร่างกายมากขึ้น เช่น ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของ aluminum และ magnesium
สุดท้ายนี้หวังอย่ายิ่งว่า ทุกคนที่อ่านจะสามารถรู้จักแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูงได้ รู้จักปริมาณแคลเซียมที่เหมาะสมที่ควรได้รับในแต่ละวัน และรู้ว่าควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลเซียมคู่กับยาอะไรบ้างจากบทความนี้นะครับ
...
👌หากไม่อยากพลาดทุกข่าวสารประจำวัน ฝากกดติดตามเพจ เภสัชกรป้อนข่าว-Pharm.news ไว้ด้วยนะครับ❤️....กดติดตามที่นี่👉
อ้างอิงข้อมูลจาก
อีกช่องทางรับข่าวสาร
Line.ID: @420vpjri
โฆษณา