6 พ.ย. 2019 เวลา 14:05
นะ โม พุท ธา ยะ และตำนานแม่กาเผือก
นะ โม พุท ธา ยะ เกี่ยวข้องอย่างไรกับแม่กาเผือก?
ตำนานนี้ก่อให้เกิดประเพณีอะไรในล้านนา??
ตอนที่ 1
เรื่องของแม่กาเผือกเป็นตำนานที่ชาวล้านนาเล่าขานกันต่อ ๆมาจากรุ่นสู่รุ่น และต่อมาได้มีการบันทึกด้วยการจารลงในใบลาน
เมื่อมีการทำกระดาษเกิดขึ้นจึงได้มีการเขียนลงในกระดาษสาหรือทางล้านนาเรียกว่า "ปั๊บสา"
พ่อกาเผือกและแม่กาเผือกได้ทำรังบนต้นมะเดื่อริมแม่น้ำ ต่อมาแม่กาเผือกไข่ออกมาห้าใบ พ่อกาเผือกและแม่กาเผือกผลัดกันฟักไข่อย่างทะนุถนอมด้วยความรักใคร่ห่วงใย
วันหนึ่ง สองกาเผือกสามีภริยาได้บินออกจากรังไปหาอาหารด้วยกัน ระหว่างนั้นได้เกิดพายุใหญ่พัดแรงจนไข่ทั้งห้าใบตกลงไปในแม่น้ำ ล่อยละล่องไปตามกระแสน้ำที่เชียวกราก
Cr.disthai.com
ไข่ทั้ง 5 ใบไปติดตามตลิ่งต่าง ๆ ...............
Cr.boradpostjung.com
เมื่อพายุสงบ พ่อกาเผือกและแม่กาเผือกได่้บินกลับมาที่รัง เมื่อไม่เห็นไข่ทั้งห้า จึงพากันบินตามหาไข่ทั้งห้าใบ
ต่างบินตามหาจนอ่อนล้า และเหน็ดเหนื่อย ด้วยความเสียใจและอาลัยอาวรณ์ พ่อแม่กาเผือกจึงตรอมใจตายทั้งคู่
เมื่อตายแล้วทั้งคู่ได้ไปเกิดบนชั้นพรหม แม่กาเผือกได้ไปเป็นท้าวพกาพรหม เพราะเป็นผู้ที่ให้กำเนิดไข่ทั้งห้าใบและผู้ที่มาเกิดเป็นผู้ที่บำเพ็ญบารมีมาสูง
ตอนที่ 2
ไข่ทั้งห้า ลอยล่องตามกระแสน้ำไปติดริมตลิ่งห่างกันไปแต่ละตลิ่งริมแม่น้ำ
ไข่ใบที่ 1 แม่ไก่เดินมาพบได้นำไปเลี้ยง
ไข่ใบที่ 2 แม่นาคได้มาพบและนำไปเลี้ยง
ไข่ใบที่ 3 แม่เต่าได้มาพบและนำไปเลี้ยง
ไข่ใบที่ 4 แม่โคได้มาพบและนำไปเลี้ยง
ไข่ใบที่ 5 แม่ราชสีห์ได้มาพบและนำไปเลี้ยง
Cr.Bkkseek.com
ไข่ทั้งหมดได้แตกออกมา เป็นเด็กผู้ชาย เมื่ออายุได้ 16 ปีได้มาเจอกันในป่า เมื่อไต่ถามจึงทราบว่าเป็นพี่น้องกันจึงได้ชวนกันบวชเป็นฤาษี
ตอนที่ 3
เมื่อบวชเป็นฤาษี ชายหนุ่มทั้ง 5 ได้รำลึกถึงผู้ที่เลี้ยงดูตนมา อันได้แก่ แม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่ราชสีห์ จึงได้สร้าง "ตุง" หรือ "ธง"
1
Cr.Arayadusit
โดยมีสัญลักษณ์ที่แสดงถึงผู้ที่มีพระคุณที่ได้เลี้ยงดูตนมาดังนี้
คันตุง หรือหัวตุง เป็นสัญลักษณ์แทนแม่ไก่
ลำตัวยาวของตุง เป็นสัญลักษณ์แทนแม่นาคราช
สี่เหลี่ยมของตุงเป็นสัญลักษณ์แทนแม่เต่า
รูปกลม ๆแทนตาของวัว เป็นสัญลักษณ์แทนแม่วัว
ด้ามตุงที่ยาวแทนหางของราชสีห์เป็นสัญลักษณ์ของแม่ราชสีห์
เมื่อสร้างเสร็จได้น้อมถวายตุงเป็นพุทธบูชาและอุทิศผลบุญให้กับผู้ที่เลี้ยงดูตนมา
แต่ฤาษีทั้ง 5 ยังไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ที่ให้กำเนิดตนมาจึงช่วยกันตั้งจิตอธิษฐาน ......เพื่อที่จะได้พบมารดาผู้ให้กำเนิด.....
ร้อนถึงแม่กาเผือกที่ได้ไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหม จึงจำแลงกายลงมาเป็นแม่กาเผือกและได้ลงมาเล่าอดีตชาติให้ฤาษีทั้ง 5 และบอกให้ฤาษีทั้ง5 ฟั่นเชือกเป็นรูปตีนกา
1
นำไปวางในผางประทีปดินเผาที่หล่อน้ำมันจุดถวายเป็นพุทธบูชา และระลึกถึงผู้ที่ให้กำเนิดทุกวันพระ
Cr.Arayadusit
ฤาษีทั้ง 5 ได้บำเพ็ญเพียรภาวนารวมทั้งจุดประทีปทุกวันพระ ด้วยอานิสงส์ของการจุดประทีปนี้ จึงทำให้พระฤาษีทั้ง 5 ได้สัมโพธิญาณเมื่อดับขันธ์ได้ไปสู่ดุสิตเทวโลก เวียนว่ายในสังสารวัฏ จนบารมีครบ 30 ทัศบริบูรณ์ เป็นการบำเพ็ญบารมีที่ครบถ้วนในการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ในภัทรกัปนี้ได้เสด็จมาโปรดดังนี้
พระกกุสันโธพุทธเจ้า สัญลักษณ์ เป็นไก่ขาว
เป็นที่มาของคำว่า นะ
พระโกนาคมพุทธเจ้า สัญลักษณ์เป็นนาค
เป็นที่มาของคำว่า โม
พระกัสสปพุทธเจ้า สัญลักษณ์เป็นเต่า
เป็นที่มาของคำว่า พุท
พระสมณโคตมพุทธเจ้า สัญลักษณ์เป็นโค
เป็นที่มาของคำว่า ธา
พระศรีอริยเมตไตรย์พุทธเจ้า สัญลักษณ์เป็นราชสีห์
เป็นที่มาของคำว่า ยะ
เป็นที่มาของคำว่า นะ โม พุท ธา ยะ ซึ่งถือกันว่าเป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการรวมของพระพุทธเจ้าถึง 5 พระองค์
เมื่อพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะเสด็จออกบวช ท่านพกาพรหมจะเป็นผู้ที่นำอัฏฐบริขารมาถวายทุกพระองค์
Cr.palungjit.org
ตอนที่4 ตำนานที่ก่อให้เกิดประเพณี
ตุงเป็นเสมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้
การถวายตุงเป็นพุทธบูชา เป็นการเคารพในพระรัตนตรัยอันประกอบไปด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์รวมทั้ง
เป็นการแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้ที่เลี้ยงดูตนมา
ประเพณีการถวายตุงมักจะทำกันในช่วงสงกรานต์ถือกันว่าตุงช่วยให้ผู้ที่ล่วงลับที่ตกนรกได้เกาะชายตุงขึ้นสวรรค์
ทางล้านนาจึงมีการประดับตุงในช่วงประเพณีสงกรานต์ทั้งที่บ้านและที่วัดเพื่อแสดงถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัยและกตัญญูต่อบุพพการี
1
ประเพณีการถวายตุงมักจะทำกันในช่วงสงกรานต์ถือกันว่าตุงช่วยให้ผู้ที่ล่วงลับที่ตกนรกได้เกาะชายตุงขึ้นสวรรค์
ทางล้านนาจึงมีการประดับตุงในช่วงประเพณีสงกรานต์ทั้งที่บ้านและที่วัดเพื่อแสดงถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัยและกตัญญูต่อบรรพบุรุษบุพพการี เครือญาติที่ล่วงลับไปรวมทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่
การถวายตุงในบางพื้นที่ ชาวบ้านในชุมชนร่วมมือกันจัดทำตุงไชยที่ยาวเพื่อร่วมกันถวายเป็นพุทธบูชา
มีการรวมกลุ่มเชื่อมความสามัคคีกันที่วัดในแต่ละชุมชน
การปักตุงไชยเรียงรายตลอดเส้นทางเป็นการบ่งบอกว่าในบริเวณสถานที่แห่งนั้นจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
การจุดประทีปในผางประทีปเป็นพุทธบูชา แสดงถึงความเคารพต่อพระรัตนตรัย และแสดงถึงความกตัญญูต่อผู้ที่ให้กำเนิด
การจุดผางประทีป มักจะจุดในทุกวันพระ และที่จุดมากที่สุดในช่วงประเพณียี่เป็ง
การจุดประทีปจุดเท่าอายุสมาชิกในครอบครัว
ประเพณียี่เป็ง มีการเทศน์มหาชาติในวัดที่อยู่ในชุมชน สมาชิกชุมชนไปร่วมจุดผางประทีป จุดโคมสายและ โคมแขวนที่วัด
ประเพณีการถวายตุงและประเพณียี่เป็งหล่อหลอมให้เกิดความรักความสามัคคีในครอบครัว ในชุมชน และทำให้ผูกพันกับพระพุทธศาสนาทำให้จิตใจสงบ มีเมตตา ให้อภัยต่อกัน เกิดความสงบร่มเย็นในชุมชน
References :
คัมภีร์ใบลานมูลกาเผือก วัดป่าโพธิ์ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
คัมภีร์ใบลานมูลกาเผือก วัดนันทารามอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
คัมภีร์ใบลานแม่กาเผือก (มูลสักขีประทีษตีนกา) วัดดวงดี อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โฆษณา