7 พ.ย. 2019 เวลา 05:08 • ประวัติศาสตร์
"แฝดสยาม อิน-จัน ผู้ไม่ยอมแพ้" ตอนที่ 1
ถ้าต้องให้ เขียนนอกกรอบ
ลองหลับตานึกภาพคนไทยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ ในเรื่องของการสร้างเนื้อสร้างตัว
ด้วยลำแข้งของตัวเอง โดยเริ่มต้นจากคำว่า ชีวิตติดลบในทุกๆด้าน
cr.khosod
ผู้ที่ซึ่งได้การยอมรับว่า มีความอดทน อดกลั้น
ต่ออุปสรรคนาๆนับประการ และได้ขึ้นชื่อว่า มีความขยันไม่เป็นสองรองใคร หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นชื่อ ของแฝดสยาม อิน - จัน
แน่นอนครับ !!
ดังคำเปรียบเปรยจากเนื้อความ
ที่ท่าน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก นายทหารนักค้นคว้าและนักเขียนเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
เขียนไว้ในคอลัมน์ ภาพเก่าเล่าตำนาน
: ญาติจากอเมริกา-ตามล่าหาปู่ทวดในแม่กลอง ท่านได้เปรียบเปรยไว้น่าฟังว่า...
อิน - จัน แฝดสยาม นักเดินทางผู้เกรียงไกร
กล้าหาญ ผู้ซึ่งเป็นมนุษย์มหัศจรรย์ผู้ไม่ยอม
ก้มหัวต่ออุปสรรคทั้งปวง
มาถึงตรงนี้หลายๆท่านคงสงสัยแล้วล่ะว่า
แฝดสยาม อิน-จัน ที่พวกเราเคยได้ยินเรื่องราวของท่านทั้งสองนั้น มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ?
และจะมีมุมไหนบ้างที่เราไม่เคยทราบมาก่อน ?
โปรดอย่ารอช้าตาม เขียนนอกกรอบ
มาเลยครับ
cr.ภาพเก่าเล่าอดีต
#ย้อนอดีตกลับไปในรัชสมัยรัชกาลที่ 2
เด็กน้อย “อิน-จัน” ได้ลืมตาดูโลกวันที่ 11 พ.ค.2354 ที่บ้านปากคลองแม่กลอง ตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง จ.สมุทรสงคราม
บิดาชื่อนายที เป็นชาวจีนอพยพ กับมารดาชาวไทยชื่อนางนาก เด็กชายทั้งสองได้สร้างความประหลาดใจแก่ผู้คนแถวนั้นมาก เนื่องจากเป็นฝาแฝดที่มีหน้าอกติดกัน ร่างกายช่างประหลาดแก่สายตาผู้พบเห็นยิ่งนัก
เด็กชายฝาแฝดตัวติดกันคู่นี้ ลืมตาดูโลกวันแรกประหนึ่งต้องคำสาปโดยที่ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องใดๆจากเบื้องบนทั้งสิ้น แต่ใครจะคิดว่า เด็กชายฝาแฝดที่ถูกมองเป็นตัวประหลาดในสายตาผู้อื่นในวันนั้น
cr.matichon online
สุดท้ายจะปีนป่าย ไต่ทะยานขึ้นไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ในขณะนั้น
ตามกฎหมายแล้ว ทั้งคู่ต้องถูกประหารชีวิต เนื่องจากความเชื่อว่าเป็นตัวกาลกิณี แต่เวลาผ่านไปไม่มีเหตุการณ์ใดๆตามความเชื่อเกิดขึ้น โทษนั้นจึงได้รับการละเว้น และยกเลิกไปในที่สุด
cr.เฟสบุ๊ค ชมรมประวัติศาสตร์สยาม ,ย้อนรอยประวัติศาสตร์ยุคใหม่ในสยาม
และในเวลาต่อมาไม่นาน บิดาก็ได้เสียชีวิตลง
ภาระหนักจึงตกเป็นของมารดา
มารดาจึงยึดอาชีพค้าขายเลี้ยงดูบุตรฝาแฝด จนในปี 2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงทราบถึงความเป็นเด็กพิเศษของทั้งคู่
cr.silpa-mag.com
จึงทรงโปรดเกล้าฯให้ นางนาก ผู้เป็นมารดา
นำ “อิน-จัน” เข้าเฝ้าฯ และในปี 2370 มีพระบรมราชานุญาตให้ อิน-จัน เดินทางร่วมไปกับคณะทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศโคชินไชน่า หรือที่เรารู้จักในนาม
(เวียดนามในปัจจุบัน)
ต่อมาปี 2367 นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ หรือ
“นายหันแตร” พ่อค้าชาวอังกฤษ มาเห็น
“อิน-จัน” ตัวติดกันว่ายน้ำเล่นจึงประหลาดใจและสนใจ จึงตีสนิทกับครอบครัว เพราะมองเห็นเป็น " มนุษย์ทองคำ" ทำเงิน
จนต้องขอเช่าตัวเด็กชายฝาแฝด จากผู้เป็นแม่เพื่อนำไปแสดงตัวอวดโฉม ตระเวนหาเงินในอเมริกาและยุโรป ทั้งๆที่ชาวสยามในขณะนั้น
ยังไม่เคยทราบว่าอเมริกาคืออะไร และอยู่ที่ไหน หนทางข้างหน้าต้องเจออะไร ยังไม่มีผู้ใดพอจะนึกภาพออก
cr.pixabay.com
แต่สุดท้าย “อิน-จัน” ก็ตัดสินใจเดินทางไปแสดงโชว์ตัวที่สหรัฐฯ จากนั้นวันที่ 1 เม.ย.2372
นายอาเบล คอฟฟิน กัปตันเรือสินค้า “เดอะ ชาเคม” เป็นผู้นำแฝด “อิน-จัน” ลงเรือ
ขณะอายุได้ 18 ปี ไปยังนครบอสตัน รัฐแมสซาชูเสตต์ สหรัฐฯ ใช้เวลาเดินทาง 138 วัน
หลังจากถึงที่หมายแล้ว แฝดสยาม อิน - จัน
จะต้องพบเจอกับอะไรบ้าง?
บทต่อไปของ แฝดสยาม อิน-จัน จะเป็นอย่างไร โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปนะครับ
Ref.
The Two: The Story of the Original Siamese Twins, Amy and Irving Wallace, Simon & Schuster, 1978,
ประวัติแฝดสยามคู่แรกของโลกเกิดที่ประเทศไทย
เขียนนอก กรอบ
7-11-2019

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา