8 พ.ย. 2019 เวลา 04:42 • ปรัชญา
(ปรัชญาสอนใจ)
"ขงเบ้งเคยสอนเอาไว้ว่าอย่าเป็นคนเย่อหยิ่งและตระหนี่ถี่เหนียว ไม่งั้นภัยจะมาถึงตัว"
วันนี้ผมได้ไปเจอเข้ากับบทความสั้นเรื่องนึงเกี่ยวกับเรื่องสามก๊ก จึงอยากจะนำมาเล่าให้เพื่อนๆทุกคนต่อเผื่อว่าจะเป็นความรู้และแนวทางให้กับทุกคนได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ในตำราพิชัยสงครามของขงเบ้งนั้น มีอยู่บทหนึ่งชื่อว่า "ขุนพลเย่อหยิ่ง ตระหนี่ถี่เหนียว" อันเป็นบทที่กล่าวถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของขุนพล มีใจความดังนี้
"ขุนพลเย่อหยิ่ง ตระหนี่ถี่เหนียว"
3
ขุนพลไม่อาจเย่อหยิ่งทะนงตน หากเย่อหยิ่งก็จะประพฤติ เสื่อมเสียธรรมเนียมคุณธรรมไป เมื่อธรรมเนียมคุณธรรมเสื่อมเสีย ผู้คนย่อมเอาใจออกห่าง เมื่อผู้คนเอาใจออกห่าง มวลชนย่อมแปรพักตร์
ขุนพลไม่อาจตระหนี่ถี่เหนียว หากตระหนี่ถี่เหนียวก็ตกบำเหน็จรางวัลไม่เต็มที่ ตามระบบแบบแผนที่ควรจะเป็น เมื่อปูนบำเหน็จรางวัลไม่เต็มที่ ไพร่พลก็จักขาดจิตใจลืมตายถวายชีวิต เมื่อไพร่พลขาดจิตใจลืมตายถวายชีวิตเสียแล้ว กองทัพย่อมไร้ซึ่งชัยชนะ
กองทัพ ไร้ซึ่งชัยชนะ ชาติบ้านเมืองย่อมเสื่อมทรุดอ่อนแอ เมื่อชาติบ้านเมืองอ่อนแอ ศัตรูก็จักกล้าแข็งเติบใหญ่ขึ้น
จึงมีคำพูดของท่านขงจื้อกล่าวไว้ว่า
"แม้ใครจะมีทั้งคุณธรรมแลปรัชาสามารถราวกับจิวกง (ในเรื่องฮ่องสิน) แต่ถ้ามีความเย่อหยิ่งทะนงตนและตระหนี่ถี่เหนียว ถึงด้านอื่น ๆ จะดี ก็ไม่สมควรเอาเป็นแบบอย่าง"
"ความตระหนี่ ๕ ประการ"
ตระหนี่ 5 อย่าง คือ
1. ตระหนี่ที่อยู่ = ไม่อยากให้คนอื่นมาอยู่บ้านเรา ฯลฯ
2. ตระหนี่คำชม = เห็นใครทำความดี แต่ไม่ชม
3. ตระหนี่ตระกูล = เช่น ไม่อยากให้เพื่อนสนิทของเรา หรือญาติเรา ไปสนิทกับคนอื่น
4. ตระหนี่ธรรมะ = เช่น มีความรู้ธรรมะ แต่ไม่สอนคนอื่นเพราะกลัวว่าเขาจะเก่งกว่าเรา
5. ตระหนี่ลาภ = ได้ลาภมาแล้วไม่แบ่งให้คนอื่น
ดังนั้น "คำสอนของขงเบ้งนี้ ยังคงใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย ไม่เสื่อมคลายไปเลยจริงๆ "
โดยบทความทั้งหมดนี้เป็นเพียงบทความสั้นๆที่สอนให้เราได้รู้เอาไว้ว่า ไม่ควรตระหนี่จนเกินไป มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาตามมาหาเราในภายหลังได้
ขอบคุณหนังสือจาก : The Three kingdom academy
เรียบเรียงเนื้อหา/นำเสนอบทความโดย :
"สาระหลากด้าน"
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่านนะครับขอบคุณสำหรับการติดตามอ่านนะครับ ขอบคุณครับ😊🙇"
โฆษณา