8 พ.ย. 2019 เวลา 08:36 • สุขภาพ
เถาวัลย์เปรียง สามารถใช้แทนยาแก้ปวดแผนปัจจุบันได้จริงหรือ?
ถ้าได้...
แล้วมันดียังไง?
ใครชอบศึกษาเรื่องสมุนไพร ไปทำความรู้จักกับเจ้าสมุนไพรตัวนี้กันดูครับ
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก "ห น้ า ต า"🙃 ของมันก่อนว่าเป็นอย่างไร
เถาวัลย์เปรียงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Derris scandens (Roxb.) Benth. เป็นพืชในวงศ์ถั่ว Fabaceae (LEGUMINOSAE– PAPILIONOIDEAE)
ชื่อมันก็จะยาวๆ แปลกๆแบบนี้แหละครับ
ต่อไปเราไปดู "รู ป ร่ า ง"👯♂️ ของมันซักหน่อย
ลักษณะภายนอกของมันจะเป็น "เ ถ า" โดยเถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแกมสีเทา เปลือกเถาอาจมีร่องหรือคลื่นตามยาว มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เถาเหนียว เถาใหญ่มักจะบิด เนื้อไม้สีออกน้ำตาลอ่อนๆ เห็นรอยวงปีไม่ชัดเจน เนื้อไม้มีรูพรุนตรงกลาง รสเฝื่อน เอียน
ภาพบนจะเป็นลักษณะต้นของเถาวัลย์เปรียง https://bit.ly/2qxIsCj ภาพล่างจะเป็นลักษณะเนื้อไม้เถาตัดขวาง https://bit.ly/2K2MrxL
เถาของต้นเถาวัลย์เปรียงพบสารกลุ่ม isoflavones และ isoflavone glycosides ซึ่งออกฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ cyclooxgenase-1 ซึ่งคุณสมบัตินี้เองที่ทำให้เถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์เหมือนกับการใช้ยาแก้ปวดแผนปัจจุบันกลุ่มยา NSAIDs
มีรายงานการวิจัยถึงประสิทธิผลทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าอักเสบระยะเริ่มต้น (primary knee osteoarthritis) และมีอาการปวดในระดับปานกลางขึ้นไป(มากกว่าระดับ 5 จาก 10 ระดับ ) จำนวน 107 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มให้ได้รับยาแก้อักเสบนาพรอกเซน(naproxen) 500 มิลลิกรัม/วัน เปรียบเทียบกับการรับประทานแคปซูลจากเถาวัลย์เปรียงขนาด 800 มิลลิกรัม/วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อทำการประเมินระดับความรุนแรงของอาการข้อเข่าเสื่อม(Western Ontario and McMaster Universities Osteoarthritis: WOMAC) พบว่ายานาพรอกเซนและ
เถาวัลย์เปรียงให้ประสิทธิผลในการบรรเทาอาการปวดได้ไม่แตกต่างกัน หากต้องการอ่านเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่....
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเปรียบเทียบกับยาแก้อักเสบชนิดอื่นๆ เช่น ยา Ibuprofen ยา diclofenac ผลปรากฎว่าไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างการรักษาด้วยเมื่อเทียบกับเถาวัลย์เปรียง โดยสามารถดูบทความเต็มได้ที่ http://db.hitap.net/articles/1846
จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานถึงประสิทธิภาพในการลดอาการปวดของเถาวัลย์เปรียงของ วิระพล ภิมาลย์ และคณะ ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมไทย ปีที่ 7 เล่มที่ 1 มค.- มิย. 2558 สนับสนุนว่า เถาวัลย์เปรียงมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างจากยากลุ่ม NSAIDs ในการลดอาการปวด ซึ่งสามารถนำไปพิจารณาเป็นทางเลือกในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยได้ https://bit.ly/2K32lbh
และจากประสิทธิผลดังกล่าวข้างต้น ทำให้เถาวัลย์เปรียงถูกนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรแผนปัจจุบันมีข้อบ่งใช้และรูปแบบการใช้ตามบัญชียาหลักแห่งชาติดังนี้
🙋♂️บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 1 กรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารทันที
🙋♂️บรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง (low back pain) และอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อม (Knee osteoarthritis) รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารทันที
สำหรับคำเตือน และข้อควรระวังของการใช้ยา คือ
❗ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะ (peptic ulcer) เนื่องจากเถาวัลย์เปรียงออกฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวดกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-Inflammatory Drugs: NSAIDs)
❗อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
ข้อห้ามใช้ ⛔ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
ไม่ใช้เถาวัลเปรียงในขณะตั้งครรภ์นะ https://bit.ly/2qyiWge
อาการไม่พึงประสงค์❕
⌛ผงจากเถาของเถาวัลย์เปรียง อาจทำให้ปวดท้อง ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย คอแห้ง ใจสั่น
⌛สารสกัดจากเถาของเถาวัลย์เปรียงที่สกัดด้วย 50 เปอร์เซ็นต์ของเอทิลแอลกอฮอล์อาจทำให้เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ อุจจาระเหลวได้
เป็นยังไงกันบ้างครับ หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านนะครับ
.
ชอบกดไลค์👍
เห็นว่ามีประโยชน์ กดแชร์📤
และ กดติดตาม Health_goods เพื่อรับข่าวสารดีๆ ไว้ด้วยนะครับ🔎
อีกช่องทางรับข้อมูล
🔎 Line ID: @420vpjri
ลงวันที่ 08-11-2019
.
references:
เถาวัลย์เปรียง...สมุนไพรบรรเทาปวด[Cite 2019 Nov 08] Available at:
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี [Cite 2019 Nov 08] Available at: http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=63
อ่านบนความอื่นๆของ Health_goods คลิ๊กที่นี่...
โฆษณา