9 พ.ย. 2019 เวลา 09:28 • ธุรกิจ
Learning Visual Diary #34 : Google กับแนวคิดเชิงกลยุทธ์ (key takeaway from 'How Google Works')
สวัสดีครับทุกท่าน วิธีคิดหรือแนวคิดอะไรที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จเชิงกลยุทธ์ของ Google
วันนี้ผมยังอยากจะมาชวนคุยกันต่อกับหนังสือ 'How Google Works' ซึ่งเป็นตอนที่สามแล้วครับ ซึ่งตอนนี้เราจะเปลี่ยนหัวข้อคุยกันจาก 2 ตอนแรกที่เราจะเน้นที่ลักษณะความเป็น Googler ที่เรียกว่า Smart Creative สำหรับ 2 ตอนต่อไป ผมจะชวนคุยเรื่องวิธีคิดในการทำงานแบบ Google ครับ วันนี้เราจะเริ่มกันที่การคิดเชิงกลยุทธของ Google ก่อนครับ
คือมันอย่างนี้ครับ...
"Stubborn on vision and flixible on details" Jeff Bezos
ผมขอเริ่มต้นด้วย quote ของคุณ Jeff Bezos ที่พูดถึงเรื่องการทำงานว่า วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่เราต้องยึดมั่นเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่รายละเอียดการทำงานต่างหากที่ต้องยืดหยุ่น ซึ่งคำพูดประโยคนี้ค่อนข้างเหมาะกับวิธีคิดเรื่องกลยุทธ์ของ Google
วิธีคิดเริ่มต้นของ Google ในการวางกลยุทธ์ คือ ไม่เชื่อเรื่องการวางแผนระยะยาว เพราะในความเป็นจริงของโลกปัจจุบัน อะไรก็เปลี่ยนแปลงทั้งนั้น สำคัญคือต้องปรับตัว แผนระยะยาวจึงไม่สำคัญ สิ่งสำคัญ คือ แก่นของบริษัท จุดยืน วิสัยทัศน์อะไรพวกนี้ครับ เหมือนที่ Google พูดเสมอเรื่อง focus on the user ถ้าแก่นชัดและเป็นแก่นที่ดี ทุกอย่างจะตามมาเองครับ
5 แกนคิดการวางกลยุทธ์ของ Google
จากการอ่านของผม ผมสรุปวิธีคิดกลยุทธ์ของ Google จะผ่านแกนความคิดเหล่านี้ ซึ่งอาจจะไม่ครบตามหนังสือ แต่ก็ถือเป็น key takeaway ที่ผมเก็บได้ละกันครับ
1. Believe on Technical Insight not Consumer Research
โลกปัจจุบันนี้เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง จนแม้แต่ผู้บริโภคเองก็ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนไปในทางใหน Google ใช้วิธีคิดแบบผู้กำหนด trend ไม่ใช่ผู้รับหรือจับ trend ทำให้ต้องมาเชื่อข้อมูลมากกว่า เพราะข้อมูลและข้อมูลเชิงเทคนิคเป็นข้อเท็จจริงไม่ใช่ความเห็น เหมือนกับสมัยหนึ่งที่ Hery Ford ก็เคยพูดว่าอย่าไปถามผู้บริโภคอยากได้รถแบบใหน ไม่งั้นคุณจะได้คำตอบเป็นม้าที่เร็วแทน
2. Optimize for Growth
Google เชื่อว่าต้องให้ความสำคัญกับการเติบโตก่อนแล้วหลังจากนั้นเรื่องอื่นๆ (รายได้, กำไร)จะตามมาเอง ความเชื่อนี้ถือเป็นรากฐานของความเชื่อเริ่มต้นของ Startup ในปัจจุบันเลยครับ ปัจจุบันเราพูดเรื่อง Scalable และ Repeatable ก็มาจากวิธีคิดนี้ มันทำให้ Google เป็น Tech company ที่เป็นหัวหอกในการบุกเบิกธุรกิจ platform ที่มีขนาดใหญ่มากเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Youtube, AdSense
3. Focus on One Thing First
แม้ว่าปัจจุบัน Google จะมีธุรกิจที่หลากหลายมากๆ แต่ Google ก็มีความเชื่อว่าก่อนจะคิดเรื่อง diverify ต้องมีความเชี่ยวชาญสุดๆในเรื่องใดเรื่องหนึ่งก่อน เหมือนที่ Google เริ่มต้นจาก Search ที่เก่งที่สุด เร็วที่สุด จนเรียกว่าพิมพ์ยังไม่เสร็จผลการค้นหาก็ออกมาแล้ว ทุกวันนี้เราเขียน mail ผ่าน Gmail จะพบว่า Google แทบจะเดาประโยคที่จะพิมพ์ให้เราได้แล้ว จนไม่รู้ว่าเราจะเขียนประโยคนี้เพราะเราอยากเขียนหรือ Google อยากให้เราเขียน
สิ่งที่ Eric แนะนำคือควรจะใช้เวลา 80% ของเราในการดูแล 80% ของ Revenue แล้วใช้เวลาส่วนที่เหลือในการพัฒนา Feature หรือ Product ใหม่ เรื่องนี้เราอาจจะเอาไปคุยได้อีกในตอนต่อไปครับ
4. Default to Open
เพราะว่า Google มุ่งที่การเติบโต ทำให้พวกเขาเชื่อเรื่องระบบเปิด ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากคือ Android กับ iOS ที่มีความคิดคนละขั้วเลย ระบบหนึ่งเป็นแบบเปิดสุดๆ ขณะที่ Apple ก็ปิดมากๆ การทำ App บน Google Play Store แทบไม่ต้องขออนุมัติอะไร แต่ถ้าเป็น App Store ก็ต้องขออนุมัติจาก Apple ก่อน แต่สำหรับข้อนี้ Google เองก็ยอมรับว่าหลายเรื่องก็ไม่ใช่ว่าจะเปิดให้เข้ามาดูเข้ามาช่วยพัฒนาได้หมด เช่น Search Algorithm ของ Google ก็เป็นตัวที่ทำเองไม่เปิดให้ใครเข้าไปร่วมพัฒนา เพราะถ้าสิ่งนั้นมันคืออะไรที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญมากกว่าคนอื่นๆอย่่งมากๆๆ จริงๆ ก็อาจจะไม่ควรเปิดออกไป (ก็ปกติ
อะเนอะ)
5. Don't Follow Competition
การแข่งขันอาจจะช่วยให้เราสร้างความต่างหรือคุณค่าในตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิมได้เพียงเล็กน้อย ทำให้ Google เชื่อเรื่องการสร้างสิ่งใหม่ไปเลยดีกว่า อย่ายึดติดกับกรอบที่ตลาดวางไว้ให้ (แต่ก็ต้องอย่าลืมมองคู่แข่งว่าเขาทำอะไรอยู่ด้วยนะ) จงอย่าใช้ประเด็นการแข่งขันมาอยู่ในแผนกลยุทธ์ประมาณนั้นแหละครับ
ทำงานแบบ Googleต้องตัดสินใจยังไง
แค่มีการวางกลยุทธ์คงไม่พอจะทำให้ความคิดเป็นความจริงได้ การตัดสินใจและการสื่อสารก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน ผมลองสรุปแนวทางที่สำคัญมาเล่าให้ฟังนะครับ
1. ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูล เราอยู่ในยุคที่การจัดการข้อมูลดีขึ้นมาก ทั้งการเก็บและการประมวลผล ข้อมูลก็ช่วยลดความลำเอียงได้มาก
2. คนที่อยู่ใกล้ข้อมูลหรือปัญหาที่สุดควรเป็นคนตัดสินใจ ไม่ใช่คนที่ใหญ่ที่สุด เพราะการแก้ปัญกาต้องเกิดจากความเข้าใจในปัญหาและข้อมูล ผู้นำที่ดีก็ต้องไม่ยึดติดกับอำนาจการตัดสินใจ
3. การประชุมน่ะดี แต่ต้องมีประสิทธิภาพ คำว่าประชุมที่ดีของ Google คือ (1) มีเจ้าภาพทุกครั้ง (2) ประชุมแล้วก็ต้องมีรายงานประชุมออกทันที (3) ผู้เข้าร่วมประชุมจำกัด ไม่เกิน8คน (4) เวลาก็จำกัด เสร็จเร็วกว่ากำหนดยิ่งดีและรักษาเวลา
4. ตัดสินใจต้องมี deadline ถ้ายังไม่ได้ข้อสรุป ก็ต้องเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด มากกว่าที่จะรอการตัดสินใจที่ดีที่สุด (มันเหมือนไม่ทำมากกว่า)
5. การสื่อสารต้องตรงไปตรงมา ไม่มีความลับ Smart Creative ต้องเข้าถึงข้อมูลได้ทั้งหมด ทุกคนต้องสามารถถามคำถามยากกับทุกคนได้ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือ CEO ก็ตาม เมื่อไม่มีความลับ เปิดเผย กล้าถาม ทุกคนก็มี Emotional Safety ครับ
ทั้งหมดนี้ คือ แนวคิดกลยุทธ์และการตัดสินใจของ Google ผ่านเลนส์ของผม สรุปที่ผมได้คือ จุดยืนชัด ปฎิบัติยืดหยุ่น เชื่อใจคนทำงานจะทำให้คนเก่งทำงานได้ดีที่สุดแต่ก็ต้องมีข้อมูลรองรับ ข้อมูลจะบอกทุกอย้างไม่ต้องเถียงเรื่องความรู้สึก
ตอนหน้า จะเป็นตอนสุดท้ายและเราจะมาปิดท้ายกันด้วยเรื่องวิธีคิดเกี่ยวกับ innovation ของ Google ครับ โปรดติดตามครับ
Happy Learning
ขอบคุณครับ
ชัชฤทธิ์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา