9 พ.ย. 2019 เวลา 05:45
การทำงานสายการบิน หลายๆคนคิดว่า ดูสวยหรู แต่รู้หรือไม่ว่า งานสายการบินนี้ไม่ได้สวยหรูไปซะหมด มีรายละเอียดของงานยิบย่อยมากๆซึ่งสามารถแบ่งได้หลักๆ ดังนี้ค่ะ
ส่วนที่ 1 องค์กร แบ่งออกตามรูปแบบบริษัททั่วไป คือ มีManager // เลขาฯ//Sale Maketing // Accounting // HR // ฯลฯ ยิบย่อยออกไป —- ซึ่งถ้าหากเป็นสายการบินต่างชาติ ออฟฟิศที่เมืองไทยก็จะเป็นเหมือนสาขาย่อยๆนั่นเอง แต่รูปแบบก็จะประมาณนี้ ในส่วนนี้จะขอรวม Reservation หรือฝ่ายขายตั๋วเข้าไปด้วยนะคะ เพราะ ในส่วนนี้จะอยู่กับออฟฟิศค่ะ นี่เป็นช่องทางหนึ่งในการหารายได้เข้าบริษัท ยังมีอีกช่องทางในการหารายได้อีก จะอยู่ในส่วนอีกส่วน ที่จำเป็นเช่นกันค่ะ
หากเป็น Head Office จริงๆแล้วนั้น ยังมีแผนกงานส่วนอื่นๆ ที่แบ่งย่อยๆได้อีก เช่น แผนกดูแลลูกค้าหรือ Call Centre หรือ แผนกจัดการตารางการบิน หรือ แผนกแก้ไขปัญหาหากเกิดเหตุสุดวิสัยในเที่ยวบินต่างๆ หรือแผนกฝ่ายสัญญา หรือแผนกการจัดการดูแลลูกเรือ
บอกได้เลยว่า ยิบย่อยมากๆ นี่แค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นค่ะที่ได้อธิบายเอาไว้
แต่จะบอกว่าแต่ละสายการบินก็จะแบ่งแผนกต่างๆพวกนี้ไม่เหมือนกันอีกนั่นแหละ ก็องค์กรใครองค์กรมันค่ะ นโยบายไม่เหมือนกัน
เรามาต่อส่วนที่ 2 กันค่ะ คือ นักบิน และลูกเรือ (Cabin Crew) ในส่วนนี้คนหลายๆคนอยากเข้าไปทำงานในตำแหน่งนีมากที่สุด บนเครื่องบินนั้นจะประกอบไปด้วย กัปตัน ,ผู้ช่วยกัปตัน , Pirsir หรือหัวหน้าลูกเรือ, แอร์ฯและสจ๊วต(สจี ก็แล้วแต่ประเทศว่ามีมากน้อยแค่ไหน) , การ์ด ซิคิวริตี้ หรือ พนักงานรักษาความปลอดภัยบนเครื่องบินนั่นเอง ... จำนวนพนักงานบนเครื่องบินจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องบินที่ทำการบิน หรือนโยบายของแต่ละสายการบิน ไม่สามารถเจาะจงได้อย่างชัดเจนว่าจะใช้พนักงานกี่คนบนเที่ยวบินนั้นๆ ในส่วนนี้จะดูแลและให้บริการบนเครื่องบิน ต้องยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นบนเครื่องบิน ดังนั้นรายได้ของพนักงานส่วนนี้ จึงได้มากกว่า พนักงานส่วนอื่นๆอยู่อย่างที่เราก็รู้ๆกันค่ะ
แต่ใช่ว่าได้รายได้เยอะแล้วจะสบาย เพราะต้องยอมรับความเสี่ยง รวมถึงต้องใช้ทักษะด้านภาษาที่ร่ำเรียนมา และปฏิภาณไหวพริบในการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่พบเจอบนเครื่องบิน เพราะบนนั้น พนักงานจำนวนนึงเท่านั้น ต้องดูแลบริการผู้โดยสารนับร้อย เป็นอะไรที่ต้องอยู่ด้วยกันบนเครื่องอย่างต่ำที่สุดคือ 1 ชั่วโมง บางเส้นทางก็เป็นหลายๆชั่วโมง ต้องทนกับสภาวะกดอากาศแล้วยังต้องทนกับคนด้วยค่ะ ก่อนที่จะเป็นลูกเรือได้ก็ต้องมาเรียนรู้ภายในตัวเครื่องบินด้วย ว่าแต่ละอันใช้ยังไงเริ่มเรียนใหม่นั่นเอง นอกจากจะเคยเรียนพวกธุรกิจการบินมาแล้วอันนี้ก็พอทราบว่าอะไรเป็นอะไร หรือเรียกว่าอะไร แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเครื่องบินแต่ละสายการบินภายในนั้นก็แตกต่างกันออกไป ไม่ตายตัว แล้วแต่นโยบายของสายการบินเช่นเดิม ดังนั้นงานนี้ก็ไม่สบายอย่างที่เราๆคิดหรอกนะคะ ^^
ส่วนที่ 3 คือ ส่วนภาคพื้น เราจะแบ่งย่อยๆได้เป็น Engineering Maintenance และ Ground Service
เราขอเริ่มพูดที่ Engineer หรือวิศวกรเครื่องบินกันก่อนค่ะ ส่วนนี้จะดูแลตัวเครื่องบินโดยตรง หากเครื่องบินมีปัญหาส่วนไหน ก็จะเข้าไปแก้ไขซ่อมแซม และมีหน้าที่ที่ต้องเซ็นต์ปล่อยเครื่อง หมายถึงหากเครื่องบินมีสภาพพร้อมที่จะบินและปลอดภัยแล้ว จะมีการเซ็นต์รับรองนั่นเอง ดังนั้นฝ่ายนี้ต้องมีความละเอียดรอบคอบมากๆเช่นกัน ซึ่งช่างก็จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับกัปตัน หรือผู้ช่วยกัปตัน ในส่วนของเครื่องยนต์ ตัวเครื่องบินภายนอก รวมถึงพูดคุยหรือแก้ปัญหาภายในตัวเครื่องบิน กับลูกเรือ หัวหน้าแอร์สจ๊วต ซึ่งเป็นส่วนที่ให้บริการผู้โดยสารนั่นเอง เพื่อให้ตัวเครื่องนั้นปลอดภัยที่สุด
มาถึงตรงจุดนี้แล้ว ก็พอจะเข้าใจงานคร่าวๆของสายการบินแล้ว เหลืออีกหน่วยงานนึงที่เรายังไม่ได้อธิบาย เล่ารายละเอียด คือ Ground Service ซึ่งส่วนงานนี้จะขอเขียนเล่าใน Block ต่อไป จะเล่าให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ได้สัมผัสมา หวังว่า ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์ หรือช่วยในการตัดสินใจเลือกงานได้ไม่มากก็น้อย หวังว่าจะมีคนเข้ามาอ่านกันนะคะ
โฆษณา