9 พ.ย. 2019 เวลา 12:33 • การศึกษา
เมื่อความรู้มีวันหมดอายุ ep.2
ความรู้ที่คุณมีอยู่ทุกวันนี้จะใช้ได้อีกนานแค่ไหน?
ผลสำรวจ TDRI ในอาเซียน พบว่าคนไทย30%เชื่อว่าความรู้นั้นใช้ได้ตลอดชีวิต
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์กล่าวว่า เป็นที่น่าเป็นห่วงที่คนไทย 1 ใน 3 คิดว่าความรู้นั้นใช้ได้ตลอดชีวิต ถือเป็นน้ำเต็มแก้วที่ไม่ต้องเติมอะไรอีกแล้ว ซึ่งต่างจากเวียดนามและสิงคโปร์ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารที่ดีกว่า เพราะอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่า จึงรู้สึกว่าเมื่อโลกเปลี่ยนแปลงเร็วก็ต้องตามโลกให้ทัน
หากจะเปรียบเทียบความรู้ ฝรั่งมักเปรียบความรู้เหมือนกับสัตว์อยู่สองแบบ คือจิ้งจอกและเม่นที่เห็นโลกต่างกัน “เม่น” ที่มันมักจุดหลุมลึกๆอยู่ลำพัง เปรียบเสมือนรู้ลึกอย่างเดียวและมักอธิบายโลกด้วยมุมมองแนวคิดเดียว
และแบบที่สองคือ “จิ้งจอก” ที่มันมักมองดูสังเกตไปทั่วเพื่อหาเหยื่อ และหาวิธีไล่ล่า เปรียบเสมือนรู้กว้างอธิบายโลกได้หลายแนวคิด
โดยผู้ริเริ่มการตั้งชื่อนี้คือ อาจารย์ไอเซยาห์ เบอร์ลิน นักปรัชญาชาวอังกฤษ-รัสเซีย เขาบอกว่าในโลกเรามีนักคิดอยู่สองแบบ มีทั้งที่เป็นเม่นและจิ้งจอก
ยกตัวอย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอสไตน์ หลายคนคิดว่าไอสไตน์เป็นเหมือนจิ้งจอกที่มีจินตนาการกว้างไกล หากมองดีๆ ในเชิงวิชาการ จะพบว่าความคิดของไอสไตน์นั้นมีลักษณะเหมือนเม่น
หากใครศึกษาทฤษฎีของอัลเบิร์ตไอสไตน์ จะร้ดีว่าไอสไตน์จะมีความเชื่อหนึ่งอย่างลึกซึ้งแบบฝังใจนั้นคือเขาเชื่อว่าแสงมีความเร็วคงที่ แสงเป็นสิ่งที่เร็วที่สุดในจักรวาล
ซ้าย นีลส์ โบร์, ขวา อัลเบิร์ต ไอสไตน์
ไอสไตน์ไม่เชื่อเรื่องทฤษฎีควอนตัมเลยเพราะคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ในสมัยนั้นมีนักวิทยาศาสตร์สองคนที่ถกเถียงประเด็นเรื่องนี้กันนั่นก็คือ ไอสไตน์และนีลส์ โบร์ ทั้งสองเป็นเพื่อนกัน
โดยนีลส์ โบร์ จะคิดทฤษฎีต่างๆเกี่ยวกับควอนตัม โบร์เรียนรู้ความเป็นไปได้ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เป็นนักฟิสิกส์ที่เปิดโลกใหม่ของโครงสร้างอะตอมจนนำไปสู่การวางรากฐานของทฤษฎีควอนตัม เช่น โลกมีหลายแบบ,จักรวาลคู่ขนานและหลุมดำ
ซึ่งไอสไตน์รับไม่ได้เลย เขาไม่เคยทำความเข้าใจทฤษฎีควอนตัม เพราะเขาปักใจเชื่อว่า ทฤษฎีสัมพัธภาพของเขาเท่านั้นที่สามารถอธิบายธรรมชาติได้ทุกปรากฎการณ์
แต่หากเกิดโลกที่มันอธิบายได้ยากโลกที่มันซับซ้อนต่อให้เก่งแบบไอสไตน์ก็ไม่สามารถอธิบายโลกที่แตกต่างและซับซ้อนได้
เพราะฉะนั้นต้องมีคนที่มีทักษะหลายแบบ พอทักษะหลายเเบบเกิดขึ้น ก็สามารถปรับได้ตามโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ส่วนใหญ่คนที่เป็นจิ้งจอกมักจะเป็นคนนอกที่เข้าไปสู่วงการ นักวิทยาศาสตร์ดังๆหลายคนมีที่มาไม่เหมือนกัน บ้างก็ทำงานอื่นก่อนจับพลัดจับผลูมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงทำให้บางครั้งคนนอกอาจทะลายกำแพงที่คนในไม่เคยมองเห็น
บ้างเป็นคนในวงการที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมนั้นมักจะหมกมุ่นและคิดซ้ำๆ จนบางทีติดในกรอบของความคิดจนหาวิธีการไม่เจอ
นักคิดเก่งๆบางคนจะอธิบายจากหลากหลายมุมได้แม้ความคิดจะขัดแย้งกันแต่พอเจอเหตุการณ์ใหม่ๆเขาจะทำความเข้าใจได้เพราะเขามีเครื่องมือให้หยิบใช้
เรารู้ดีว่าการศึกษาเปลี่ยนชีวิตเราได้ แต่การศึกษาในปัจจุบันไม่เหมือนรุ่นพ่อแม่เรา
การศึกษาในปัจจุบันคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกอย่างคือการเรียนรู้ทั้งหมด
....หากไอสไตน์เปิดใจให้กับทฤษฎีควอนตัมสักนิดเราอาจได้คำตอบที่นักวิทยาศาตร์ปัจจุบันกำลังตามหาอยู่ หากเป็นเช่นนั้นปัจจุบันเราอาจล้ำกว่ายุคเทคโนโลยีตอนนี้มาก
ขอบคุณที่สละเวลาอ่านค่ะ
9 พฤศจิกายน 2562
ท่านเด็ก

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา