15 พ.ย. 2019 เวลา 01:30 • การศึกษา
เคยสงสัยไหมครับว่า บ่อยครั้งทำไมเด็ก ๆ
ถึงคิดว่าตัวเองเป็นนักมวยที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับครู
ไม่สิ เขาคิดว่า ครูอยู่ฝั่งตรงข้ามกับเขา
จะยังไงก็ตามแต่คือ
เด็กรู้สึกว่าครูไม่ได้อยู่ข้างเดียวกันกับเขา... T_T
ถ้าใช้ภาษามวย เขาเรียกว่า เปรียบมวย
และเด็ก ๆ รู้ว่า ชกยังไงก็แพ้ครูอยู่วันยังค่ำ
เพราะทั้งรูปร่าง สรีระ ความคิด ความอ่าน
ความกร้านโลกของครูมันช่ำชอง
ส่วนเด็ก ๆ ไร้เดียงสา
ด้วยเหตุนี้เอง เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ ถึงหาทางหลบหลีกหรือใช้สารกระตุ้น ที่ถือว่าเป็นการทำผิดกฏ ทั้งตั้งใจ และสิ่งแวดล้อมพาไป
ในส่วนนี้เราจะโทษเด็ก ๆ เองไม่ได้
คนเป็นครู ต้อง ปฏิ ภาษาพระ เรียกว่า ย้อนดูตัวเอง
ซึ่งบางครั้งทำยาก เพราะเราหลงในอัตตา
แล้วแบบนี้...ครูจะทำอย่างไร?
ครูต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเอง
จากผู้สอน มาเป็น ผู้อำนวยความสะดวก หรือโค้ช
ในการส่งเสริมเด็ก ๆ ส่งเสริมอะไร
เพื่อทำให้พวกเขาคิดว่า ครูอยู่ฝั่งเดียวกันกับเขา
หนึ่ง...ให้ความรักก่อนให้ความรู้
อันนี้อ่านมาจากหนังสือ เห็นว่ามันดี
จึงอยากแชร์ต่อ ทัศนคติของเด็ก ๆ ต่อครูสำคัญ
ถ้าเด็กคิดลบ Negative กับครู
เด็กก็จะไม่ชอบรายวิชาที่ครูสอนทันที
สอง...ให้กำลังใจ
เห็นเขาทำอะไรไม่ได้อย่างพึ่งไปซ้ำเดิม
ดูเขาก่อน เพราะเขาอาจจะยังไม่พร้อม
หลายคนอาจยังทำไม่ได้
แต่เมื่อถึงเวลาเขาพร้อม
พลังเขามาแล้ว
ต้องให้เขาไปให้ถูกทาง
สาม...สอนเขา
สอนในที่นี้ หมายถึง สอนความคิด สอนใจ สอนสิ่งดีงาม
และอย่าให้เขาหลง เด็กส่วนใหญ่ชอบหลง
หลงในความคิด หลงในสิ่งที่ทำได้ดี
บางครั้งอาจยังไม่ดีด้วยซ้ำ (บ่อยครั้งครูก็เป็น)
สี่...ทำให้เด็ก ๆ ภูมิใจในตัวเอง
ทำให้พวกเขาคิดว่า ตัวเองมีคุณค่า พัฒนาได้
ถ้าครูสามารถเปลี่ยนบทบาท
จากนักชกคู่ตรงข้าม
มาเป็นโค้ชอยู่ฝั่งเดียวกันกับนักเรียนได้ล่ะก็
วันนั้น..อะไร ๆ ที่เคยรุนแรง
ก็คงเบาลง เบาใจ ไปบ้างไม่มากก็น้อย
โฆษณา