12 พ.ย. 2019 เวลา 08:08 • บันเทิง
บทความตามใจฉัน “เล่า World war Z เทียบกับฉบับภาพยนตร์” Part 5
การศึกที่โฮป (Battle of Hope)
ศึกนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญใน wwz ที่ฝ่ายมนุษย์สามารถหาวิธีการต่อต้านกองทัพซอมบี้ได้สำเร็จ
แน่นอนว่าในฉบับภาพยนตร์ไม่ได้กล่าวถึงศึกนี้เลย มีเพียงบางฉากเท่านั้นที่อ้างอิงรายละเอียดจากศึกนี้ ซึ่งจะได้เล่าถึงต่อไป
กองทัพยุคใหม่ในสงครามซอมบี้นั้น ทอส เวเนีย ให้ข้อมูลว่า “เหมือนย้อนกลับไปในอดีต”
ไม่มีปืนใหญ่, ฮ. และยานเกราะต่าง ๆ อีกแล้ว
เวเนียเล่าว่าเหล่าทหารนั้นเดินทัพด้วยเท้าเป็นขบวน เหมือนในภาพเขียนสงครามกลางเมืองอเมริกา
รถยนต์จะเหลือเพียงฮัมวี่และ ASV (Armored Security Vehicle) เพียงไม่กี่คันเพื่อใช้ขนยุทธปัจจัย
ยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป
ไม่มีหมวกและเกราะกันกระสุนแล้วโดยเหล่าทหารจะใส่ชุดแบบใหม่ที่ใช้เนื้อผ้าแบบพิเศษซึ่งป้องกันการกัดได้
Land Warrior ก็หายไปด้วย อุปกรณ์สื่อสาร, กล้องส่องทางไกลและภาพจากโดรนหรือดาวเทียมจะสงวนไว้สำหรับผู้บัญชาการเท่านั้น
ปืนก็เปลี่ยนไปใช้ปืนรุ่นใหม่ Standard Infantry Rifle หรือเรียกกันว่า Sir(เซอร์)
มันเป็นปืนที่ทนทานมาก, แม่นยำสูง, แลกกับการที่ยิงได้แต่โหมดกึ่งอัตโนมัติ เวเนียอธิบายว่ามันอย่างกับปืนสมัย ww2 เพราะมีชิ้นส่วนที่ทำจากไม้และในการรบวันนั้นไม่มีปืนกระบอกไหนเกิดเสียหรือกระสุนขัดลำเลย
ทหารแต่ละคนจะพกชิ้นส่วนปรับแต่งและลำกล้องขนาดต่าง ๆ รวมถึงเหล็กแหลมติดปลายปืนของปืนนี้ไปด้วย ทำให้ไม่เปลื้องทรัพยากรผลิตปืนมากแบบ ทหารเองก็สามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะยิงไกล ยิงใกล้ หรือแม้แต่รบระยะประชิด
ส่วนกระสุนก็เป็นกระสุนแบบใหม่ ขนาด 5.56 NATO ชื่อ PIE ย่อจาก pyrotechnically initiated explosive หรือสรุปได้ว่าเป็นกระสุนหัวระเบิดเพลิงขนาดเล็ก เมื่อยิงกระสุนนี้เข้าหัวซอมบี้ กระสุนจะระเบิดและกระจายสะเก็ดระเบิดความร้อนสูงออกไปทำลายสมอง ทำให้โอกาสสังหารซอมบี้เมื่อยิงเข้าเป้าอยู่ที่ 100% กระสุนนี้มีชื่อเล่นว่า “Cherry PIE.” เพราะบางครั้งแรงระเบิดแรงจนทำให้ตาเป็นสีแดงเหมือนลูกเชอร์รี่
ในรูปคือปืน Sir ที่มีคนวาดตามจินตนาการออกมา ในเรื่องเล่าว่ามันเหมือนเอา AK กับ XM8 มายำรวมกัน
เหล่าทหารเองก็เปลี่ยนไป นอกจากทหารอาชีพที่ยังหลงเหลืออยู่แล้วทหารหน้าใหม่จะเป็นใครมาจากไหน อายุเท่าไหร่ก็ได้ อาจจะเป็นน้า, ป้า, เพื่อนบ้าน, อาจารย์, Nerd, Geek, คนขายประกัน, ดารา, นักแสดง ก็ได้
อย่างคู่หูของเวเนียในศึกนี้ก็เป็นแม่ชีที่อายุ 52 ปีเข้าไปแล้ว
ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เอาตัวรอดจากซอมบี้มาจนถึง Safe Zone หรือจนกองทัพไปพบได้ จึงแกร่งพอที่จะผ่านเกณฑ์การทดสอบเข้ากองทัพได้ง่าย ๆ
เมื่อเข้าพื้นที่การรบแล้ว กองทัพจะส่งทีมสุนัขดมกลิ่นออกไปเพื่อสำรวจและลาดตระเวน
ส่วนกองทัพจะเริ่มเตรียมตัวรบ ระหว่างนี้หากทีมสุนัขพบซอมบี้ก็จะสังหารด้วยอาวุธเก็บเสียงก่อน
ขั้นตอนแรกของการเตรียมพร้อมรบคือการโรยเทปและปักธงเป็นวงรอบจุดตั้งทัพ รัศมีแต่ละวงจะต่างกัน 10 เมตร เทปและธงนี้เพื่อเป็นจุดบอกระยะห่างระหว่างซอมบี้กับกองทัพ
จากนั้นก็เตรียมอาวุธและอุปกรณ์, จัดตำแหน่งทัพให้พร้อม
เมื่อพร้อมแล้ว ทีมสุนัขดมกลิ่นจะค้นหาซอมบี้แล้วให้สุนัขเห่าเพื่อล่อมา
ตรงนี้จะมีการเล่าว่าซอมบี้สื่อสารถึงกันได้ด้วยเสียงร้อง ดังนั้นเมื่อซอมบี้ตัวหนึ่งร้อง ตัวอื่น ๆ ที่ได้ยินจะเดินตามเสียงมาและร้องสื่อสารไปยังซอมบี้ตัวอื่น ๆ เป็นลูกโซ่ไปเรื่อย ๆ
เมื่อทีมสุนัขดมกลิ่นเห่าล่อแล้วกลับมาหลบในแนวหลังแล้ว ฝ่ายมนุษย์ก็จะทำเสียงดังเพื่อล่อซอมบี้เข้ามาอีก
วิธีนี้ส่วนใหญ่จะใช้ดนตรีหรือเพลงปลุกใจในการทำเสียงดังเพื่อผลสองทาง หนึ่งเพื่อล่อซอมบี้อีกหนึ่งคือเพื่อไล่ความกลัวและกระตุ้นขวัญทหารให้พร้อมรบ อังกฤษใช้ปี่สก๊อต, จีนใช้แตร, แอฟริกาใต้ใช้เพลงศึกของซูลู, อเมริกันใช้ Heavy Metal โดยเวเนียบอกว่าเพลงที่ใช้วันนั้นคือ Trooper ของวง Iron Maiden
การจัดทัพนั้นจะวางกำลังเป็นแถวหน้ากระดานแบบการรบสมัยสงครามประกาศเอกราชจากอังกฤษ
โดนตั้งเป็นสองแถว สีน้ำเงินและสีเขียว
เมื่อพลยิงในแถวน้ำเงินยิงต่อไม่ได้เพราะกระสุนหมดหรือด้วยสาเหตุอื่น ๆ คนที่อยู่แถวเขียวขึ้นมาสลับที่โดยคนเดิมจะถอยลงไปแถวเขียวเพื่อเปลี่ยน Mag ด้วยวิธีนี้ทำให้การยิงจะไม่ขาดตอน
จุดสีส้มคือทีมเติมกระสุน ชื่อเล่น Sandler มาจาก Adam Sandler ในหนัง water boy ทีมนี้จะคอยขนกระสุนจาก ASV มาบรรจุใส่ Mag เปล่าไว้เติมให้พลยิง ทำให้ปัญหากระสุนขาดช่วงหมดไป และเพราะกระสุนที่ใช้เหลือเพียงแบบเดียวคือ 5.56 ซึ่งกระสุนหนึ่งกล่องเหล็ก จำนวน 1000 นัด หนักเพียง 15.3 กิโล ทำให้กระสุนที่ขนมาเต็ม ASV รวมถึงที่มัดมากับเพดานรถด้วยนั้นมากเกินพอในการทำศึกจนจบ
เวลา 13.00 เมื่อซอมบี้ใกล้เข้าระยะยิงเพลงก็จะเริ่มลดเสียงลงและหยุดพร้อมกับคำสั่งเปิดฉากยิง
ส่วนการยิงนั้นไม่ได้ยิงแบบบู๊ล้างผลาญอีกแล้วแต่ยิงเป็นขั้นเป็นตอนตามจังหวะการยิงที่ฝึกมา
เล็งเป้าที่หัว 4 วินาทีต่อนัด ช้า ๆ อย่างมั่นคง เหมือนเครื่องจักร
นี่เป็นวิธีที่ทำให้ทหารมีสมาธิ ไม่ร่น ไม่แตกตื่นง่าย
“ถ้าพวกมันไม่รีบแล้วเราจะรีบทำไม” เวเนียเล่าถึงประโยคหนึ่งที่ครูฝึกสอน
ด้วยกระสุน PIE ทำให้สิ้นเปลื้องกระสุนสังหารซอมบี้เพียง 1 นัดต่อตัว
และการยิงนั้นจะยิงเฉพาะซอมบี้ที่ข้ามเส้นระยะยิงที่กำหนดไว้ตามคำสั่งเท่านั้น
การสังหารซอมบี้ในแนวเดิมซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ นั้นจะทำให้ซากศพทับถมกันและพูนสูงเกิดเป็นแนวป้องกันการบุกขึ้น ช่วยชะลอการบุกของซอมบี้ลงได้อีก
เพื่อไม่ให้กองซากศพบังสายตา นายทหารจึงเตรียมกล่องส่องทางไกลแบบที่คล้าย ๆ กับที่ใช้ในเรือดำน้ำมาใช้ด้วย
เนื่องจากซอมบี้ถูกเรียกได้ด้วยเสียง จึงไม่แปลกที่เสียงจากการรบและเสียงร้องของซอมบี้ตัวอื่น ๆ จะดึงดูดซอมบี้จากทิศอื่น ๆ ให้เข้ามาหาด้วย
เมื่อผู้บังคับบัญชาเห็นว่าซอมบี้กำลังเข้ามาจากทุกทิศทาง ก็สั่งให้ทหารจัดแถวใหม่ในฟอร์เมชั่น RS
ย่อมาจาก Reinforced Square เป็นการจัดแถวรับศึกในสมัยโบราณไว้ใช้สำหรับรับการบุกจากทหารม้าในทุกทิศทาง การจัดแถวแบบนี้เริ่มเสื่อมความนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จากการที่อาวุธปืนเริ่มพัฒนาจนสามารถยิงต่อเนื่องได้ ในรูปคือการจัดแถว RS ครั้งล่าสุดที่พบบน internet ถ่ายไว้เมื่อปี 1918
โดยอเมริกาได้ไอเดียนี้มากจาก Raj-Singh (ราก สิง) นายพลกองทัพอินเดียที่ด้นสดการจัดแถวนี้เพื่อรับมือซอมบี้ ด้วยฟอเมชั่นนี้ทำให้กองทัพสามารถรับมือซอมบี้ได้จากทุกทิศทาง
ในการรบกับซอมบี้ที่มีจำนวนมหาศาลนั้นการรบยืดเยื้อนเป็นเวลานานคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
และกองทัพรู้เรื่องนี้ดีจากการทบทวนผลการรบที่ยอนเกอร์ จึงเตรียมการเรื่องนี้มาพร้อม
Fiver (ไฟเวอร์) คือศัพท์เฉพาะหมายถึงพัก 5 นาที ทหารแต่ละนายสามารถขอ Fiver ได้ตามต้องการ
ระหว่างพักทหารก็จะกินน้ำหรืออาหาร, ปลดทุกข์, ยืดเส้นยืดสาย, นั่งพักเพื่อผ่อนคลาย เป็นต้น
ปัญหาคือ การฝึกที่ทำให้ทหารยิงเหมือนเครื่องจักรแบบนี้ทำให้ทหารจะจดจ่อแต่การยิงจนไม่รู้ตัวว่าตัวเองควรพักรึยัง
กองทัพจึงมีทีมที่ชื่อ KO9 (เค โอ นาย) โดยทีมนี้จะเข้าประจำในทุกกองทหาร จำชื่อและข้อมูลของทหารความรับผิดชอบและคอยสังเกตสัญญาณจากภาษาร่างกายของทหารแต่ละนายเวลาที่ความเหนื่อยล้าเริ่มทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เมื่อพบว่าทหารคนไหนมีสัญญาณให้เห็น เค้าจะเข้าไปแตะบ่าทหารคนนั้น เป็นสัญญาณว่าไป Fiver ส่วนตำแหน่งยิงที่ขาดไปนี้ทีมเติมกระสุนจะเข้ามาแทนให้ชั่วคราว
การรบนั้นกินเวลายาวนานมากจนกระทั้งฟ้ามืด
ในการรบเวลาคืนนั้น จะมีการฉายสปอต์ไลท์แสงโทนแดงเพื่อส่องสว่างให้พลยิงเห็นเป้าหมาย
โดยใช้แสงโทนแดงก็เพื่อให้ยังใช้งานกล้องมองกลางคืนได้
แล้วการรบจบหรือจะจบเหมือนไหร่ คำตอบจากเวเนียคือไม่รู้ นายทหารจะไม่บอกอะไรทหารเลย
ที่เค้ารู้สึกวันนั้น เวลาประมาณตี 4 ซอมบี้ที่ปีนพ้นแนวซากศพมานั้นเริ่มน้อยลง เสียงร้องของซอมบี้เริ่มเบาลง เค้าเหลือบเห็นนายทหารที่พูดวิทยุอยู่นั้นมีสีหน้าที่ผ่อนคลายขึ้น
เมื่อเสียงปืนนัดสุดท้ายดัง พลยิงยังคงประจำที่ แสงแรกของวันค่อย ๆ อาบกายเหล่าทหารและเผยให้เห็นกองซากศพขนาดมหึมาสูงราว ๆ 6 เมตรและลึก 30 เมตรที่ล้อมพวกเค้าไว้
เวเนียเล่าว่าต้องใช้ฮัมวี่ติดที่ไถดินแหวกทางออกมา
ในฉบับภาพยนตร์จะมีฉากนี้อยู่ในตอนใกล้จบเรื่อง เป็นจุดเดียวที่ฉบับภาพยนต์ทำตามนิยายแบบไม่ผิดเพี้ยน
หลังจากนั้นก็จะเป็นการเก็บกวาดโดยฝังศพเหล่านั้น ในนิยายไม่มีการเล่าว่ามีการเผาทำลายศพรึไม่แต่คาดว่าส่วนใหญ่จะฝังเพื่อประหยัดเชื้อเพลิง
1
ในช่วงนี้ทหารจะได้พบซอมบี้ที่ยังหลงเหลืออยู่ บ้างเพราะมาถึงช้า บ้างก็อยู่ระหว่างไต่ภูเขาศพ ในช่วงนี้เอง Lobo (โลโบ) มักจะถูกเอามาใช้
โลโบ ย่อมาจาก โลโบโตไมสเซอร์ มีรูปร่างคล้ายพลั่วสนามที่มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับขวานศึกสมัยโบราณ
เวเนียพูดติดตลกว่าอย่างกับใน Lord of the Ring
โลโบเป็นอาวุธแก้ขัด ถูกคิดและสร้างด้วยไอเดียของกองทัพนาวิกโยธินในช่วงหลังการศึกที่ยอนเกอร์ซึ่งต้องการสร้างอาวุธป้องกันตัวจากซอมบี้ที่สร้างได้ง่ายและวัสดุหาได้ทั่วไป โลโบเกือบทั้งหมดสร้างจากซากรถที่ถูกทิ้งเกลือนเต็มถนนและต่อมาถูกเลือกให้เป็นอาวุธสำรองไว้ใช้ยามจำเป็น
แต่ในสนามจริง เหล่าทหารมักอ้างความจำเป็นในการใช้โลโบบ่อย ๆ เวเนียเล่าว่าเพราะการเหวียงโลโบเฉาะกระโหลกซอมบี้ขยี้สมองนั้นให้ความสะใจแบบที่การเหนียวไกปืนให้ไม่ได้ มันทำให้รู้สึกว่าตนเองมีอำนาจเหนือพวกมัน
3
ผลการรบ ซอมบี้พินาศสิ้น ฝ่ายมนุษย์ไม่มีการสูญเสียเลย
ความสำเร็จในการศึกที่โฮปนี้โด่งดังไปทั่ว หลาย ๆ ประเทศเริ่มขอข้อมูลเพื่อนำไปปรับใช้ในการรบที่ประเทศตนเอง ประธานาธิบดีของอเมริกาเห็นว่าเป็นเวลาที่สมควรแล้วในการท้วงคืนอนาคตของมนุษย์คืนมา
โดยเริ่มจากการโต้กลับและเก็บกวาดบ้านของตัวเองก่อน
to be continued in Part 6 “Road to New York”
โฆษณา