12 พ.ย. 2019 เวลา 15:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมอีก 60 ดวงเพื่อเสริมโครงข่าย Starlink 😉📡⚡
โดยในครั้งนี้ยังมีการใช้ชิ้นส่วนของ Nose Cone ที่ใช้ในการปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศซ้ำ เพื่อลดต้นทุนในการปล่อยดาวเทียมให้ต่ำลงไปอีก 😯👍
Falcon launch /SpaceX
เมื่อวานนี้ (11 พ.ย. 62) SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียมอีก 60 ดวงซึ่งจะเข้าไปเสริมโครงข่าย Starlink ทำให้ใกล้ความจริงในการสร้างโครงข่าย Internet ดาวเทียมที่ครอบคลุมทั้งโลกเข้าไปอีกก้าว
ซึ่ง SpaceX เคลมว่าหลังจากการปล่อยดาวเทียมอีก 6-8 ชุด โครงข่ายของ Starlink จะครอบคลุมทั่วทั้งอเมริกา ซึ่งคาดว่าจะทำสำเร็จได้ภายในกลางปีหน้า
โดยเมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Elon Musk ก็ได้ทำการทวีตข้อความผ่านโครงข่ายของ Starlink เป็นครั้งแรก เพื่อแสดงให้เห็นว่าโครงข่าย Starlink ใช้งานได้แล้วจริง ๆ
สำหรับการปล่อยจรวด Falcaon9 ครั้งนี้ ถือเป็นการใช้จรวดท่อน Booster ซ้ำเป็นรอบที่ 4 แล้ว 😯
ภาพส่วนประกอบของจรวด Falcon9 และเปรียบเทียบขนาดกับกระสวยอวกาศและพี่ใหญ่ Falcon Heavy, เครดิตภาพ SpaceX
โดย SpaceX ออกแบบให้จรวดท่อนบูสเตอร์นี้สามารถนำกลับมาใช้งานซ้ำใหม่ได้ถึง 10 ครั้ง ทำให้ SpaceX สามารถประหยัดต้นทุนในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้เป็นอย่างมาก
ยิงขึ้นฟ้าแล้วกลับมาลงจอดใหม่ในแนวดิ่ง เจ้าเดียวในโลกที่เอามาใช้ทำมาหากินได้จริง ณ เวลานี้, เครดิตภาพ SpaceX
ซึ่ง Elon Musk ได้พูดในงาน Pitch day ที่จัดโดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ เพื่อสรรหาบริษัทเอกชน และ Start up ที่มีศักยภาพเข้าร่วมงานกับกองทัพเมื่อสองวันก่อนว่า SpaceX นั้นมีต้นทุนเพียง 2 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ ในการส่งจรวดขึ้นสู่อวกาศต่อเที่ยว
เครดิตภาพ: MIke Wall/Space.com
ซึ่งถูกกว่าของ NASA ที่มีต้นทุนต่อเที่ยวสูงถึง 152 ล้านดอลล่าฯ แบบคนละเรื่องเลยทีเดียว
โม้ไปนั่น เอาจริงดิเฮีย แต่ต่อให้โม้เป็น 10 เท่าก็ยังถูกว่า NASA อยู่อย่างเยอะ 😁
แต่ก็อาจเป็นไปได้ เพราะในการส่งดาวเทียวรอบนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือการใช้ Nose Cone ที่ใช้การปล่อยดาวเทียมครั้งก่อนนำมาใช้ซ้ำในครั้งนี้ด้วย (อื้อฮือ!! จะประหยัดไปไหน ไม่คิดจะสร้างใหม่บ้างเลยเรอะ 😅)
Nose Cone ที่อยู่ส่วนปลายของจรวดทำหน้าที่ปกป้องอุปกรณ์หรือดาวเดียวที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรก่อนจะทำการปล่อยดาวเทียมเหล่านั้นเข้าสู่วงโคจรในอวกาศ, เครดิตภาพ SpaceX/ ESA
แล้วเขาเก็บกลับมาใช้ยังได้ไง?
นี่ไง ใช้ไอ้นี่เก็บเอากลางทะเลเลย, เครดิตภาพ SpaceX
ผ่าม!!! เอาเรือติดตาข่ายยักษ์ไปกางรับครับ 😁
ตัวชิ้นส่วนตกลงมาพร้อมร่มชูชีพเพื่อลดความเร็วและให้เรือไปรอรับได้ทัน, เครดิตภาพ SpaceX
แต่ก็มีรับพลาดบ้างนะ ลอยตุ๊บป่องกลางทะเลเลย 😆
เครดิตภาพ SpaceX
ก็เอาเป็นว่ายังเหลือจรวดท่อน 2 (Second stage) ที่ยังเอากลับมาใช้ใหม่ไม่ได้ ไม่งั้นเราจะมีจรวด Re-use ทั้งลูกให้ได้ใช้กัน 😁
ดาวเทียมทั้ง 60 ดวงแพคอัดอยู่ใน Nose cone รอส่งขึ้นสู่อวกาศ, เครดิตภาพ SpaceX
แหม่ ลดปัญหาขยะอวกาศได้อีกด้วย ของเขาดีจริง ๆ 😉👍
หวังว่าอีกหน่อย Smartphone เราจะสามารถต่อตรงสัญญาณ Internet กับ Starlink ได้ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านะ จะได้ลอง 5G กลางทะเลกับเขาบ้าง 😆 📡📲

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา