13 พ.ย. 2019 เวลา 07:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โรเบิร์ต ฮุค อัจฉริยะที่โลก(เกือบ)ลืม
(เรียบเรียงโดย ชนกานต์ พันสา)
ทุกวันนี้ ทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์พบว่าโรเบิร์ต ฮุค นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษสร้างผลงานไว้มากมายทั้งทางฟิสิกส์ ชีววิทยาและสถาปัตยกรรม แต่ในสมัยก่อน ชื่อของเขาปรากฏผ่านทางกฎของฮุค (Hooke's law)ที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดของสปริง เท่านั้น
ทำไมผู้ที่เก่งกาจขนาดนี้กลับกลายเป็นอัจฉริยะที่โลก (เกือบ) ลืม ?
คำตอบ อยู่ที่ศัตรูคนสำคัญในชีวิตของเขา...ผู้มีนามว่าไอแซค นิวตัน
กฎของฮุคใช้บอกความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่ใช้ในการดึงสปริง(หรือกดสปริง)กับระยะยืดออก(หรือหด)ของสปริง
กฎดังกล่าวแปรผันตรงตามธรรมชาติของวัสถุที่ใช้สร้างเป็นสปริงนั้นๆ คือหากเราออกแรงดึงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า สปริงก็จะยืดออกเป็นสองเท่าด้วยเช่นกัน
จริงๆแล้วกฎของฮุคยังอธิบายการยืดหดของวัสดุอื่นๆที่มีสภาพยืดหยุ่นได้ด้วย กล่าวคือ เมื่อได้รับแรงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่เมื่อแรงดังกล่าวหายไป มันก็จะกลับสุ่รูปร่างเดิมของมัน แต่โดยทั่วไปเมื่อวัสดุเหล่านี้ได้รับแรงเกินกว่าจุดๆหนึ่งจะสูญเสียสภาพยืดหยุ่นจนเกิดการขาดฉีกหรือแตกหัก พูดง่ายๆว่าเปลี่ยนสภาพไปอย่างถาวร
จะเห็นได้ว่ากฎของฮุคมีประโยชน์มากทั้งทางวิทยาศาสตร์ของวัสดุ วิศวกรรม หรือกระทั่งกิจกรรมน่าตื่นเต้นอย่างบันจีจัมพ์ แต่ผลงานของโรเบิร์ต ฮุค ไม่ได้มีแค่นี้
ในช่วงเริ่มต้นของการทำงาน โรเบิร์ต ฮุคได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของ โรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) นักฟิสิกส์และนักเคมีผู้ร่วมก่อตั้งราชสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งลอนดอน (Royal Society of London) ซึ่งสมาคมวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ในปีค.ศ. 1660
ต่อมาฮุคได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สาธิตการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Curator of Experiments) ในการประชุมของราชสมาคม ต่อหน้านักวิทยาศาสตร์ชั้นนำมากมาย ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก
เขาประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์แล้วส่องไปยังเนื้อเยื่อของพืชจนค้นพบโครงสร้างลักษณะคล้ายห้องเล็กๆ ซึ่งเขา เรียก มันว่า เซลล์ (cell)
1
นอกจากนี้ใน ปี ค.ศ.1666 ฮุคช่วยบูรณะเมืองลอนดอนหลังจากเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ร่วมกับ คริสโตเฟอร์ เรน (Christopher Wren)โดยเป็นผู้ช่วยออกแบบการสร้างหอดูดาวหลวงกรีนิช (Royal Greenwich Observatory) โรงพยาบาลหลวงเบธเลม (Bethlem Royal Hospital)และวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) ขึ้นมาใหม่ รวมไปถึงออกแบบอนุสาวรีย์ ที่รำลึกถึงเหตุการณ์นี้ด้วย
แม้ว่าฮุคประสบความสำเร็จด้วยผลงานที่ยิ่งใหญ่และหลากหลาย ในสมัยก่อน ผลงานของเขากลับไม่ได้รับการจดจำมากนัก แม้กระทั่งรูปภาพของเขา ยังไม่มีชิ้นไหนที่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันเลย
เหตุที่ทำให้ผลงานจำนวนมากของฮุคไม่ได้รับการกล่าวถึงอยู่นาน เพราะชายผู้มีนามว่า ไอแซค นิวตัน
ฮุคอยู่ในยุคเดียวกับไอแซค นิวตัน ซึ่งทั้งสองไม่ถูกใจกันอย่างรุนแรง ด้วยการวิวาทะเกี่ยวกับทฤษฎีเรื่องแสง และแรงโน้มถ่วง ทำให้ไอแซค นิวตัน พยายามทุกวิถีทางเพื่อทำลายชื่อเสียงและผลงานของโรเบิร์ต ฮุค จนย่อยยับ และฮุคได้ใช่ชีวิตบั้นปลายอย่างยากลำบากไปจนเสียชีวิต
จะเห็นได้ว่า
นักวิทยาศาสตร์นั้น ไม่ว่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ยังเป็นมนุษย์ที่มีอารมณ์หลากหลายในตัวเอง
คนรุ่นหลังอย่างพวกเราคงได้แต่ศึกษา เรียนรู้ แล้วเลือกเก็บส่วนดีเอาไว้ ส่วนไม่ดีก็คงต้องเอาทิ้งไป เพื่อให้ความเป็นมนุษย์ในยุคต่อๆมานั้นสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ
อ้างอิง
[1] M. Williams, “What is Hooke’s Law?,” Universe Today, 2015. [Online]. Available: https://phys.org/news/2015-02-law.html.
[3] “THE 17TH CENTURY SOCIETY THAT TRANSFORMED SCIENCE,” 2019. [Online]. Available: https://www.sciencemuseum.org.uk/objects-and-stories/17th-century-society-transformed-science.
[4] D. Rhoads, “History of Cell Biology.” [Online]. Available: https://bitesizebio.com/166/history-of-cell-biology/#targetText=The cell was first discovered,it appeared under the microscope.
[5] “Dr Robert Hooke (1635 – 1703).” [Online]. Available: https://www.themonument.info/people/dr-robert-hooke-1635-1703.html.
1
โฆษณา