Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ประเสริฐ ยอดสง่า
•
ติดตาม
15 พ.ย. 2019 เวลา 21:19 • ไลฟ์สไตล์
ประวัติพระธาตุบ้านนาเต่าและพระธาตประสิทธิ์
ประวัติพระธาตุบ้านนาเต่า
ท่านพระครูปริยัติสิกขากิจ(หลวงพ่อแพง) อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ร่วมกับชาวบ้านนาเต่าวางแผนพัฒนาหมู่บ้านจนเจริญรุ่งเรือง สังเกตได้จากถนนในหมู่บ้านจะกว้าง 12 เมตร ทั้งหมู่บ้าน และท่านแบ่งที่ดินขอวัดส่วนหนึ่งให้สร้างโรงเรียนบ้านนาเต่า และประมาณ 9 ปี ต่อมา ได้เกิดเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
- ท่านได้มรณภาพด้วยความสงบ เมื่อวันอังคาร ที่ 8 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2518 ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ
- วันเคลื่อนศพไปยังเมรุ(ที่ประชุมเพลิง) เมื่อ วันอังคาร วันที่ 8 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง
- วันรวมงาน ทำบุญสามวันสามคืน เมื่อวันพุธ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ตรงกับวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 ปี มะโรง
- วันพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันศุกร์ วันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง
- วันเก็บอัฐิ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 ตรงกับวันแรม 9 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง
หลังจากนั้น บรรดาลูกศิษย์ และชาวบ้านนาเต่าจึงประชุมกัน เพื่อสร้างพระธาตุขึ้น 1 องค์ พระธาตุเริ่มสร้าง เมื่อ วันเสาร์ วันที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2521 ตรงกับวันแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย พระธาตุนาเต่า มีความสุง 15 เมตร มีความกว้างด้านละ 4.50 เมตร สร้างเสร็จแล้วก็บรรจุอัฐิของท่านพระครูปริยัติสิกขากิจและอัฐิหลวงปู่โท (ไม่ทราบฉายา) ที่ท่านพระครูปริยัติสิกขากิจ นำไว้ที่หิ้งพระกราบไหว้บูชาทุกวัน นำมาบรรจุไวในพระธาตุ สำหรับยอดของพระธาตุบรรจุสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ที่นำมาจากประเทศอินเดีย คือ ดินที่พระพุทธเจ้าประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่แสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ เรียกว่า ปฐมเทศนา ธัมจักรกัปปวัตตนสูตรและดินที่พระพทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ผู้ที่นำมาบรรจุ คือ ท่านพระครูอนุรักษ์อุเทนการ อดีดเจ้าคณะอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันท่านมรณะภาพแล้ว) เนื่องจากท่านพระครูอนุรักษ์อุเทนการ มีลูกศิษย์ไปศึกษาเล่าเรียนที่ประเทศอินเดีย ต่อมา พ.ศ. 2533 ได้อันเชิญอัฐิของพระมหากัสสปะเถระและก้อนอิฐเก่าจากพระธาตุพนมองค์เดิมที่ล้มพังทลายลงมาบรรจุไว้ที่นี้
พระธาตุนาเต่า บ้านนาเต่า ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
ผู้สร้างพระธาตุนาเต่า คือ พระครูฉันทกิจจานุยุต (หลวงพ่อดร ) พระอาจารย์บุญล้อม พรมวิชัย พระอาจารย์ยโซฟา พรมวิชัย พระอาจารย์จ่อย (ไม่ทราบฉาย) และพระอาจารย์วิเชียร ใบแสน (ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ)พระทั้งสี่รูปนี้ไม่รวมถึงหลวงพ่อดร ได้นิมนต์จากวัดปากห้วย อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 12 เดือน จึงแล้วเสร็จ และการสมโภชน์เป็นประจำทุกปี โดยเริ่มงานตั้งแต่วันแรม 5 ค่ำ เดือน 3 ซึ่งถือเป็นวันที่เคลื่อนศพของพระครูปริยัติสิกขากิจไปยังเมรุ และในวันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 เป็นวันรวมงานบุญหลังจากเคลื่อนศพ ต่อมาชาวบ้านได้ประชุมปรึกษาหารือกัน และมีมติให้ยึดถือ วันสมโภชน์ประจำปี หรืองานนมัสการพระธาตุนาเต่า คือ วันแรม 6 ค่ำ เดือน 3 (เป็นวันรวมงาน) สืบๆต่อๆ มา วันงานบุญจัดหลังวันงานนมัสการพระธาตุพนม 6 วัน
ด้วยความเคารพและศรัทธาพระธาตุนาเต่า มีผู้คนหลายท่านแวะเวียนมานมัสการกราบไหว้บูชา และทำบุญไม่ได้ขาดบางท่านมาบนบาน เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนาและสมหวังตามสิ่งที่ขอ และมีการแก้บน บางรายไม่มาแก้บนก็มีอันเป็นไป ชาวบ้านต่างก็ร่ำลือถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพระธาตุนาเต่า จึงทำให้เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
youtube.com
เลาะเที่ยว ep.7 น้องมิ่งพานมัสการพระธาตุนาเต่า พระธาตุประสิทธิ์
ประวัติพระธาตุบ้านนาเต่า ท่านพระครูปริยัติสิกขากิจ(หลวงพ่อแพง) อดีตเจ้าคณะอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ร่วมกับชาวบ้านนาเต่าวางแผนพัฒนาหมู่บ้านจนเจริญรุ่งเ...
พระธาตุประสิทธิ์ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม พระธาตุประจำวันพฤหัสบดี นับเป็นอีกหนึ่ง พระธาตุที่มีความสำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัดและผู้คนชาวนครพนมมาช้านาน พระธาตุประสิทธิ์นับเป็นอีกหนึ่ง พระธาตุที่มี ชื่อเสียงทั้งในด้านความงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์สิทธิ์อันเป็นที่เลื่องชื่อกล่าวขานกันไปทั่ว สำหรับพระธาตุ ประสิทธิ์ เป็นที่เลื่องลือกันว่าหากผู้ใดได้ไปกราบไว้นมัสการพระธาตุแห่งนี้แล้วนั้น ผู้นั้นก็จะได้รับอานิสงส์ให้ประสบผลสำเร็จในหน้าที่ การงาน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีผู้ไปกราบไหว้อธิษฐานขอพรเรื่องการงานกันเป็นอย่างมาก
สำหรับพระธาตุประสิทธิ์แห่งนี้นั้นแต่เดิมแล้วเป็นเจดีย์เก่าแก่ที่ชำรุดทรุดโทรมปกคลุมไปด้วยเถาวัลย์ โดยห้องภายในนั้นปรากฏว่ามี พระพุทธรูปเก่าแก่อยู่หลายองค์ซึ่งถูกค้นพบโดยชนเผ่าญ้อในขณะที่กำลังหนีภัยสงคราม ระหว่างอาณาจักรล้านช้าง เวียงจันทน์กับ พม่า และอาณาจักรเชียงใหม่ในสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาในปี พ.ศ.2112 จึงได้มีการบูรณะเป็นครั้งแรกและกลายมาเป็น พระธาตุประสิทธิ์ ซึ่งต่อมาก็ได้มีการบูรณะต่อเติมสืบเนื่องมา โดยพระธาตุประสิทธิ์แห่งนี้นั้นได้รับการบูรณะโดยเลียนแบบ พระธาตุพนม ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่แหลี่ยม มีความกว้างขนาด 7.52 เมตร มีประตูปิดเปิดทั้งสองด้าน 9 ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและอรหันต์ธาตุรวมทั้ง7 องค์(พระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าได้ถูกบรรจุไว้ในองค์พระธาตุแห่งนี้ )พระธาตุประสิทธิ์นั้นนับเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองประจำจังหวัดมาช้านาน ซึ่งในวันขึ้น10 ถึง วันขึ้น 15ค่ำเดือน 4 นั้นจะมีการจัดงานเทศกาลนมัสการพระธาตุประสิทธิ์เป็นประจำทุกปี
พระธาตุประสิทธิ์ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม
ภายในวัดมีศาลาการเปรียญหลังเก่ามีรูปทรงสวยงามแปลกตา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ เคยใช้เป็นที่ประทับของ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในคราวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้ากฐินส่วนพระองค์ (พระกฐินต้น) ณ วัดธาตุประสิทธิ์เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๕ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงพุทธประวัติที่เขียนด้วย สีฝุ่นที่เขียนโดยหม่อมหลวงมรกต บรรจงราชเสนา ณ อยุธยา
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย