16 พ.ย. 2019 เวลา 09:29 • ธุรกิจ
Google จะทำ “ธนาคาร”
เอาละสิพวกเธอ เมื่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Google หรือ “อากู๋” ชื่อน่ารักๆแบบที่พวกเธอชอบเรียกกัน กำลังเตรียมกระโดดลงมาเล่นในธุรกิจการเงิน...
Credit: BBC News
จะมาสร้างความสั่นสะเทือนให้วงการการเงินอย่างไร แล้วธนาคารไทยๆจะมีผลกระทบหรือไม่ เด๋วเราจะเล่าให้ฟัง
2 วันที่แล้วเราอ่านเจอข่าวในช่องเล็กๆ แต่สะท้านใจมาก คือ ข่าวที่ว่า Google เตรียมขยายธุรกิจมาด้านการธนาคาร
โดย Google เป็น Tech Company รายล่าสุดของโลกที่กระโดดเข้ามาสังคายนาโลกการเงิน ตามเพื่อนคนอื่นอย่าง Facebook, Apple, Amazon, และ Uber
จะทำธนาคารกันทุกคนเลยเหรอ Credit: Eurobits Technology
ข่าวระบุว่า Google จะให้บริการบัญชีกระแสรายวัน (ที่บริษัทห้างร้านเค้าไว้ใช้เดินบัญชี ซื้อขายสินค้าน่ะ ไม่ได้ดอกเบี้ยเงินฝาก แต่สามารถขอวงเงินกู้ O/D มาใช้ร่วมในบัญชีกระแสรายวันได้ด้วย) โดยจะให้บริการผ่าน Google Pay หรือ กระเป๋าเงินดิจิทัล (digital wallet) ซึ่งเอาไว้ชำระเงิน โดยมีจุดเด่นคือการใช้ความสามารถของ Google Analytics เพื่อเพิ่มศักยภาพการวิเคราะห์การเดินบัญชีให้ผู้ใช้งานด้วย
Google Pay Application / Credit: Tech Circle
เช่น อนาคต Google Analytics คงบอกเราได้ว่า บัญชีกระแสรายวันนี้ ควรมีเงินเอาไว้ประมาณกี่บาทต่อวัน ที่เหลือเอาไปฝากบัญชีออมทรัพย์เถอะ หรือเอาเงินจำนวนเท่านี้ ประมาณวันนั้นของเดือนพอ เพราะนอกเวลานั้นเงินไม่ได้เข้าออกมากนัก หรืออาจจะเอาผูกกับบัญชีเพื่อการลงทุนได้อีก เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้เงินของบริษัท เป็นต้น
ซึ่งปัจจุบัน แบงค์ธรรมดาๆใช้คนช่วยวิเคราะห์ให้...และดูแลเฉพาะแค่ลูกค้า “รายใหญ่” เท่านั้น
Google Analytics
คาดว่า Google มีจุดประสงค์เพื่อ “ดึงความสนใจผู้บริโภค” ให้มาอยู่กับตัวเอง หรืออีกนัยหนึ่งคือ “เข้าไปมีบทบาทในชีวิต” ผู้บริโภคมากขึ้น เพราะถ้าไม่ทำ คนอาจจะหันไปอยู่ใน Facebook หรือ Platform คู่แข่งนานขึ้น
รู้หรือไม่ว่าปัจจุบัน Google มีผลิตภัณฑ์ให้บุคคลทั่วไปอย่างเราใช้กันทั้งหมดถึง 65 applications และจากผลสำรวจที่ออกมาพบว่า ในหมู่คนไทยเรานั้นใช้เว็บไซต์ Google.com มากที่สุด (และคนทั่วโลกเช่นกัน) ตามมาด้วย Facebook และ YouTube เป็นอันดับ 3 (ซึ่ง YouTube ก็เป็นของ Google เช่นกัน)
Google Ecosystem / Credit: Google.com
ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นอีกว่า คนไทยนิยมค้นว่าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ “บอล” และ “หวย”
Credit: MarketingOops
แล้วธนาคารไทยล่ะ จะได้รับผลกระทบหรือไม่...
เราคาดการณ์ว่าช่วงแรกๆยังไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะเชื่อว่า Google คงไม่คิดจะลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในทุกๆประเทศที่ไป แต่คงจะใช้การจับมือเป็นพันธมิตรกับธนาคารไทยก่อน แล้วเอา Technology ของตัวเองเข้าไปเสริมเพื่อให้ลูกค้าทั้งหมดในไทย มีความคุ้นชินกับ Google มากขึ้น
ลองนึกย้อนไปตอนสมัย Line Pay, Grab Pay หรืออะไร เปย์ๆ ทั้งหลายที่ออกมา ก็ยังต้องใช้วิธีการเข้าไปผูกกับบัญชีธนาคารของลูกค้าที่มีอยู่ปัจจุบัน จนตอนนี้เราผูกบัญชีเงินฝากเรากับหลายๆ Digital Wallet ทั้ง True Money, Rabbit Line Pay, Grab Pay, Air Pay, และอื่นๆอีกมากมาย
ขนาดมาตรการ “ชิม ช้อป ใช้” ยังมี “กระเป๋าเงินดิจิทัล” ของตัวเองเลย !!!
เป๋าตังจากธนาคารกรุงไทย / Credit: KTB
อนาคตเราก็ผูกเพิ่มกับ Google Pay อีก 1 กระเป๋า แล้วค่อยเลือกว่าจะจ่ายด้วยอะไร ขึ้นอยู่กับใครมี “โปรเด็ด” ณ จุดขายตอนนั้นๆ
แต่...ถ้าลูกค้าติดการใช้งานกระเป๋าเงินนั้นไปแล้วล่ะ...แถม Google Pay สามารถผูกเข้าได้กับทุกบัญชีธนาคารในไทย ทีนี้ผู้บริโภคอย่างเราและเจ้า จะทิ้งเงินไว้ที่ธนาคารไหนก็ได้ แล้วก็รวบเข้ามาอยู่ใน Google Pay ซะเพื่อรอจ่ายเงิน เพื่อรับส่วนลดร้านค้าหรือโปรเสริมเด็ดๆ
ก็ในเมื่อเงินฝากออมทรัพย์มันอยู่ที่ 0.125% - 0.700% ต่อปี (ฝาก 10,000 นึงได้ดอกเบี้ย 10.63 - 59.5 บาทต่อปีหลังหักภาษี 15%) สู้เอาส่วนลดค่ากาแฟทีละ 5 บาท 10 บาทดีกว่ามั้ย กินทุกวันนี่นา ดีกว่ารอรับดอกเบี้ยเตี้ยตะแมะแคะ
(หรือเอาไปฝากแม่มณีดี...)
ทีนี้แหละ แบงค์อาจจะกระเสือกกระสน ดิ้นรนกันน่าดู จู่ๆลูกค้าที่เคยใช้ mobile application เดินบัญชีจ่ายค่าสินค้า ธุรกรรมหายไปอยู่ใน platform คนอื่นหมด
ที่ดิ้นรนไม่ใช่เพราะ “เงิน” มันหายไปไหนหรอกนะ มันก็วนๆอยู่ในระบบนั่นแหละ แค่จาก A ไป B ไป C แค่นั้น และ บริษัทแบบ Google เนี่ยนะ “เงินน่ะมีเยอะแล้ว”
แต่ที่หายไปคือ “ข้อมูล”​ต่างหาก
นี่แหละที่น่ากลัว...ไร้ซึ่งข้อมูลแล้ว แบงค์จะเอาอะไรไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอดธุรกิจธนาคารล่ะ...?
สินเชื่อออนไลน์จะแข่งกันอย่างไร ถ้าไม่มีข้อมูล / Credit: ฐานเศรษฐกิจ
แบงค์ปรับตัวรักษาลูกค้าให้อยู่ใน Platform ตัวเองไม่ได้ ก็ต้องทำธุรกิจวนอยู่ในอ่าง วันๆถามหาแต่
“หลักประกันน่ะมีมั้ย...?”
ฝากไว้เป็นการบ้านให้นายและนางแบงค์ทั้งหลายขบคิดกันต่อนะ
#สุลต่านตกอับ
Source:
โฆษณา