16 พ.ย. 2019 เวลา 14:35 • สุขภาพ
อาหารคีโต หรือ "Ketogenic Diet"
เป็นเทรนการลดน้ำหนัก โดยการกิน
** กินไขมันเพื่อสลายไขมัน**
เครดิตภาพจาก Ocare.co.th
ซึ่งสารตัวหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากการสลายไขมัน เรียกว่า คีโตน (Ketone) เขาก็เลยเรียกอาหารพวกนี้ว่า Ketogenic Diet
อาหารคีโตนั้น ไม่สามารถกินได้ทุกคนและ
การกินคีโตนั้นควรจะกินแค่ระยะสั้นๆๆ เท่านั้น ไม่ควรกินในระยะยาว เพราะมันอาจจะมีผลเสียมากกว่าผลดีก็เป็นได้
อาหารคีโต หรือ "Ketogenic Diet"
ตอนที่ 1
เครดิตภาพจาก fitalika.com
การกินคีโต หลัก ๆ คือการกินไขมันคุณภาพดีสูง โปรตีน ส่วนของคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลจะกินแค่เล็กน้อยหรือจำกัดเพียง 15-20 กรัมต่อวัน
เพื่อต้องการกดการหลั่งสารอินซูลินให้ต่ำที่สุดเพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะคีโตสิส (Ketosis) ที่ใช้ไขมันเป็นพลังงาน
เป็นการหลอกร่างกายเรา ให้รู้สึกเหมือนกับว่าเราอดอาหาร
ตับก็จะไปสลายไขมันในร่างกาย เพื่อให้พลังงานแทน
คาร์โบไฮเดรต สารที่เกิดการสลายไขมัน เรียกว่า
"คีโตน (Ketone)"
และร่างกายก็จะมีการเสียน้ำไปด้วย ขณะที่มีการสลายไขมัน เพราะฉะนั้น ช่วงแรกน้ำหนักจะลดลงมากเนื่องจากการเสียน้ำและมันมีผลทำให้เราเบื่ออาหาร ทำให้ไม่ต้องนับแคลอรี แต่จะกินน้อยลงไปเอง
ข้อดี
- ทำให้น้ำหนักและไขมันส่วนเกินลดลง เพราะไขมันที่สะสมไว้ถูกนำไปเผาผลาญ ขณะเดียวกันร่างกายก็รับพลังงาน
เข้ามาน้อยลงด้วย สามารถรักษาระดับมวลกล้ามเนื้อไว้ได้ หรือสูญเสียมวลกล้ามเนื้อในระดับที่น้อย
1
ข้อเสีย
- พฤติกรรมการรับประทานแบบคีโต อาจทำให้ร่างกายเสียสมดุลและมีปัญหาในภายหลัง เพราะเราไม่สามารถรับประทานแบบนี้ได้ตลอดชีวิต
- ในระยะแรกระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย
อาจผิดปกติเพราะร่างกายได้รับกากใยอาหารน้อยเกินไป
- ในระยะยาวอาจเป็นโรคขาดสารอาหาร รวมถึงอาจทำให้อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่ครบหมู่ตามหลักโภชนาการ
ผู้ที่ไม่ควรกิน"อาหารคีโต"
- ผู้ที่เป็นโรคตับ ตับทำหน้าที่เปลี่ยนไขมันให้เป็นพลังงาน
ถ้าตับไม่ดี อันนี้เดือดร้อนแน่นอน
- โรคไต ถ้าใครที่ไตเสื่อม การกินคีโตจะกินโปรตีนค่อนข้างเยอะ ก็อาจจะมีปัญหาได้เหมือนกัน
- คนที่มีปัญหาในเรื่องของการเผาผลาญไขมัน ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
- คนที่มีปัญหาเรื่องการบีบตัวของลำไส้ ท้องอืดง่าย ๆ มีกรดไหลย้อน อันนี้ต้องระวัง เพราะว่าอาจจะทำให้อาการกำเริบได้
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจจะต้องไปปรับเรื่องของยา เพราะฉะนั้นแนะนำให้ไปคุยกับคุณหมอที่รักษาอยู่
- ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ
- ผู้ที่ต้องทำงานหนักและออกแรงเป็นประจำ
ที่มาของข้อมูล
ผศ. พญ.ดรุณีวัลย์ วโรดมวิจิตร
สาขาวิชาโภชนวิทยาและชีวเคมีทางการแพทย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ชมวิดีโอรายการได้ที่ www.youtube.com/watch?v=Q824nfVnqXk
โฆษณา