16 พ.ย. 2019 เวลา 16:23 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Nokia ประสบความสำเร็จในการทดสอบโดรนเตือนภัยสึนามิที่เมืองเซนไดประเทศญี่ปุ่น
ด้วยโครงข่ายโดรนพร้อมลำโพงขยายเสียง กล้องวีดีโอ กล้องจับความร้อน ทำง่านร่วมกันผ่านเครือข่าย LTE จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบเตือนภัยสึนามิ รวมถึงการอพยพผู้คน 😉👍
สามารถบินไปตะโกนบอกผู้คนให้รีบหนีสึนามิได้อย่างทันท่วงที, เครดิตภาพ: Nokia Drone Networks
โนเกียกลับมาแล้ว!! ไม่ใช่มือถือแต่เป็นระบบโครงข่ายโดรนอัจฉริยะที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานแจ้งเตือนภัยธรรมชาติ รวมถึงภารกิจค้นหาและกู้ภัย หรือแม้แต่เป็นส่วนหนึ่งของ Smart City
เขียนเรื่องเกี่ยวกับศักยภาพของโดรนในมุมน่ากลัวมาเยอะละ คราวนี้มาดูศักยภาพการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ กันบ้าง
ในกรณีเกิดภัยพิบัตินั้น โดรนเป็นตัวเลือกที่ดีมาก:
-ออกปฎิบัติการได้เร็ว ทำให้เข้าถึงพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งการสำรวจ ค้นหา หรือจัดส่งความช่วยเหลือ
-ในการสำรวจความเสียหายทีมกู้ภัยไม่ต้องออกไปเสี่ยงภัย ในพื้นที่ภัยพิบัติ
-ด้วยเทคโนโลยีการทำแผนที่ 3 มิติด้วยโดรนที่รวดเร็วและความละเอียดสูง ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อทีมกู้ภัยในการดำเนินภารกิจ
ตัวโดรนติดตั้งอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาน Wi-Fi, เครดิตภาพ: Nokia Drone Networks
และเมื่อวันที่ 9 กับ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา การทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยสึนามิด้วยโดรน ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมืองเซนไดและโนเกีย ประสบผลสำเร็จอย่างงดงาม
ด้วยการสื่อผ่านผ่านโครงข่าย private LTE ของโนเกียเอง ทำให้โดรนในระบบทั้งหมดสามารถสื่อสาร รับ-ส่งข้อมูล และทำการควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงเวลาเกิดภัยพิบัติ
แน่นอนว่าระบบ Cloud ก็ต้องมา, เครดิตภาพ: Nokia Drone Networks
โดยตัวโดรนนั้นจะติดตั้งลำโพงขยายเสียง กล้องวีดีโอความละเอียดสูง กล้องจับความร้อน เพื่อทำให้สามารถติดตามสถานะการณ์พร้อมกับประกาศแจ้งเตือนภัยให้กับผู้คนในพื้นที่ได้
ตัวอย่างภาพจากกล้องจับความร้อน
ไม่เหมือนเสาสัญญานเตือนภัยที่ตั้งอยู่ตามแหล่งชุมชน โดรนจะบินไปหาฝูงชนเพื่อประกาศเตือนภัย พร้อมกับแจ้งเส้นทางอพยพที่เหมาะสมที่สุดให้กับฝูงชน
รวมถึงยังสามารถติดตามการอพยพได้ด้วยว่าเส้นทางไหนหนาแน่นหรือติดขัด เพื่อทำการปรับเปลี่ยนคำแนะนำให้เหมาะสมตามสถานการณ์
ทำงานร่วมกันเป็นโครงข่ายที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์, เครดิตภาพ: Nokia Drone Networks
ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนและ การจัดการเส้นทางอพยพผู้คนทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ลดความสูญเสียได้อย่างมาก
สามารถกำหนดเส้นทางบิน ควบคุบแบบทั้งระบบ ทำแผนที่อากาศของพื้นที่ประสบภัย, เครดิตภาพ: Nokia Drone Networks
ทั้งนี้เมืองเซนไดคือหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุสึนามิครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 อย่างหนัก
เมืองเซนไดและโนเกียได้ทำข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาโครงข่ายเตือนภัยสึนามีในปี 2017
จากความสำเร็จในครั้งนี้นายกเทศมนตรีเมืองเซนไดได้กล่าวว่า "การใช้โดรนช่วยเตือนภัยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเตือนภัยและอพยพผู้คน อันทำให้เมืองเซนไดและพื้นที่ใกล้เคียงมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น"
ก่อนหน้านี้กาชาดฟิลิปปินส์กับโนเกียก็ได้ทำข้อตกลงในการใช้ระบบ Nokia Drone Networks เพื่อบรรเทาภัยพิบัติในพื้นที่ประสบภัยที่ห่างไกลหรือการขนส่งถูกตัดขาด ไปเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมโดรนจะมีมูลค่ากว่า 43,000 ล้านดอลล่าสหรัฐฯ ในปี 2024 จาก 13,000 ล้านในปี 2018 คิดเป็นอัตราการเติบโตสูงถึง 20.5% ต่อปี
จะเห็นได้ว่าโดรนนั้นมีศักยภาพสูงในหลาย ๆ ด้าน เอามาใช้งานให้เกิดประโยชน์ก็จะมีคุณอนันต์อีกเช่นกัน 😉
เทคโนโลยีมีได้ทั้งคุณและโทษอยู่ที่คนจะใช้ 😔

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา