17 พ.ย. 2019 เวลา 10:21 • สุขภาพ
อาหารคีโต หรือ "Ketogenic Diet"
ตอนที่ 2
เรามาทำความรู้จัก อาหาร Keto Diet
โดยการแบ่งประเภทจากการกินได้เป็น เป็น 4 ประเภทหลักๆ
ได้แก่
1.Standard Ketogenic Diet (SKD)
เน้นการบริโภคคาร์โบไฮเดรตให้น้อยที่สุด แล้วเพิ่มการบริโภคไขมันและโปรตีน
- โดยปกติให้บริโภคคาร์โบไฮเดรตเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณอาหารทั้งหมด
- เพิ่มการบริโภคโปรตีนเป็น 20 เปอร์เซ็นต์
- เพิ่มการบริโภคไขมันเป็น 75 เปอร์เซ็นต์
2.High-Protein Ketogenic Diet
เป็นรูปแบบที่คล้าย SKD แต่เพิ่มการบริโภคโปรตีนให้มากขึ้น
- บริโภคคาร์โบไฮเดรต 5 เปอร์เซ็นต์
- เพิ่มการบริโภคโปรตีนเป็น 35 เปอร์เซ็นต์
- ลดการบริโภคไขมันเหลือ 60 เปอร์เซ็นต์
3.Cyclical Ketogenic Diet (CKD)
เป็นรูปแบบที่เว้น ให้กินอาหารตามปกติเป็นช่วง ๆ
เช่น กินตามหลัก Keto Diet ติดกัน 5 วัน สลับกับกินอาหารแบบปกติ 2 วัน เป็นต้น
4.Targeted Ketogenic Diet (TKD)
เป็นรูปแบบที่ให้บริโภคคาร์โบไฮเดรตในช่วงที่ออกกำลังกาย
*** การกินแบบ CKD และ TKD เป็นรูปแบบที่มักถูกนำไปใช้กับนักกีฬาและนักเพาะกาย***
กินอะไรได้บ้างในคีโตเจนิค?
1.เนื้อสัตว์: ทุกชนิด ติดมันได้,เครื่องใน,
ไข่(กินเป็นหลักได้เลย),อาหารทะเล,เบคอน,เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก แฮม ซาลามี) ระวังบางยี่ห้อผสมแป้ง
- ตัวอย่าง ขาหมูติดหนัง (ไม่เอาข้าวและน้ำราด กินกับผัก), ไก่ย่าง, หมูปิ้ง, สเต็ก, ไข่เจียวหมูสับ
2.ผัก: ผักใบเขียวกินได้ทุกชนิด
(หลีกเลี่ยงผักหัวใต้ดินอย่างแครอทและมันทั้งหลาย, ถั่วฝักยาว ,ถั่วแขก,ฟักทอง)
มะเขือเทศ,มะเขือยาว,กะหล่ำดอก,บรอคโคลี,แอสพารากัส
3.ไขมัน: น้ำมันมะกอก, น้ำมันมะพร้าว, เนย, น้ำมันไฮโซ เช่น อะโวคาโด แมคคาเดเมีย, กะทิ! (น้ำมันพืชใช้ได้เล็กน้อย)
- ตัวอย่าง – แกงเขียวหวานไก่, สลัดราดน้ำมันมะกอกและบัลซามิค, ปลาทอดเนย
***หมายเหตุ: น้ำมันมะพร้าวและกะทิ มีไตรกลีเซอไรด์สายสั้นที่ร่างกายจะนำไปใช้ก่อน แทนที่จะมาเอาไขมันในร่างกายไปใช้ -อย่ากินเป็นหลัก กินไขมันจากที่อื่นด้วย
4.ผลิตภัณฑ์นม: ชีสทุกชนิด, เนย (ห้ามมาการีน), ครีมชีส, ครีม, วิปครีม -ทุกอย่าง full fat
5.ถั่ว: ถั่วที่อนุญาตให้ทานคือ ถั่วเมล็ดเดี่ยว(nuts) เช่น อัลมอนด์ พิชตาชิโอ มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท โดยเฉพาะแมคคาเดเมีย
- กินถั่วเป็นของว่าง แต่ในปริมาณไม่มาก
- พวกเมล็ดเจีย(chia seed), เมล็ดฟักทอง, เม็ดแมงลัก, งา ก็ทานได้
***ไม่ทานถั่วเป็นฝัก (legumes) เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เพราะคาร์โบไฮเดรตเยอะ และมีสารคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง ทำให้เก็บไขมันมากขึ้นค่ะ
- ตัวอย่าง – เม็ดแมงลักน้ำกะทิ (ใส่หญ้าหวาน), เจียพุดดิ้ง (เมล็ดเจียแช่นมอัลมอนด์)
6.เครื่องดื่ม: นมอัลมอนด์, ชา, กาแฟ (ใส่ครีมแทนนม), น้ำโซดา, น้ำมะนาว (ไม่ใส่น้ำตาล ใส่หญ้าหวานแทนถ้าอยากหวาน), น้ำแร่ -น้ำเปล่าดีที่สุด!!!
** เครื่องดื่มไดเอททั้งหลายใช้สารให้ความหวานที่แม้ไม่ให้แคลอรี แต่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินเช่นกัน -หลีกเลี่ยงและ จำกัดปริมาณในการกิน
** แอลกอฮอล์: หลีกเลี่ยงเพราะทั้งแคลอรี่สูงและคาร์โบไฮเดรตสูง
** ที่ดื่มได้บางโอกาสคือพวกบรั่นดี, วอดก้า, จิน, ไวน์, รัม, วิสกี้, เตกีล่า
7.ผลไม้: อะโวคาโด (ไขมันสูง แม้มีคาร์โบไฮเดรตแต่ส่วนใหญ่คือไฟเบอร์), เนื้อมะพร้าว, มะนาว, เลมอน, มะกอก
เบอรี่ทั้งหลาย (จำกัดปริมาณ)
*** ตัวอย่าง: มะพร้าวอบแห้งแบบไม่ใส่น้ำตาล,
สลัดอะโวคาโด, ครีมชีสบีบมะนาวเหยาะหญ้าหวาน (เบสของชีสเค้ก), ราสเบอรี่กับวิปครีม
ต้องเลี่ยงกินอะไรบ้าง?
- อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงเป็นหลัก
อาทิ อาหารจำพวกข้าวและแป้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวบาร์เลย์, ข้าวสาลี, ข้าวไรย์, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต ฯลฯ รวมไปถึงข้าวเจ้าที่เรากินกันอยู่ทุกวันเช่นกัน
- ผลิตภัณฑ์จากข้าวต่างๆ ทั้งพาสต้า, เส้นราเมง เส้นอุด้ง ขนมปังพิซซ่า, คุกกี้, ขนมปัง, เค้ก ฯลฯ
- ควรเลี่ยงอาหารแปรรูปจำพวกไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้น เนื่องจากมีสารสังเคราะห์และแป้งที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของการผลิต
- ไขมันทรานส์ เพราะถึงแม้ว่าการกินแบบ Ketogenic
จะเน้นให้กินแต่ไขมัน แต่ควรเป็นไขมันที่มาจากไขมันสัตว์ หรือพืชอย่างอะโวคาโด
- ผลไม้ทั้งหลาย ยกเว้น อาโวคาโดและตระกูลเบอร์รี่
ผลไม้อบแห้ง แช่อิ่ม และดองต่างๆ ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะหรือในปริมาณน้อย
ผลข้างเคียงของการกินแบบ คีโตเจนิค
1.Keto Flu คือ ไข้คีโตฯ
เมื่อเริ่มกินคีโตฯ ใน 2-3 วันแรก ร่างกายจะโหยน้ำตาลอย่างหนัก จะรู้สึกเพลีย ๆ มึน ๆ หัวตื้อคิดอะไรไม่ค่อยออก
นอนไม่หลับ ท้องไส้ปั่นป่วน วิธีแก้ ให้กินอาหารมากขึ้นไปก่อน ดื่มน้ำเยอะ ๆ และการกินเค็มช่วยได้ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ เพลีย ท้องผูก
2.Ketosis คือ หลังกินคีโตฯ ได้ 1-2 อาทิตย์
เมื่อร่างกายไม่ได้รับน้ำตาลและแป้งเลย ก็จะเริ่มดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงาน แต่เรายังคงโหยน้ำตาลอยู่เป็นพัก ๆ บางทีก็ยังเป็นไข้คีโต น้ำหนัดลดลงเล็กน้อยหรือคงที่
ระหว่างนี้ก็อดทนอีกนิดนะ เป็นสัญญาณที่ดีแล้ว
ว่าร่างกายเริ่มปรับตัวได้
3.Keto Adapted คือ คีโตฯ เต็มตัว
หลังจากกินคีโตฯ ประมาณ 1 เดือนเป็นต้นไป
ร่างกายจะชิล ๆ ไม่อยากน้ำตาลแล้วและร่างกายจดจำว่า
ใช้ไขมันเป็นพลังงานหลัก เบิร์นไขมันเต็มที่ น้ำหนักที่เกิดจากไขมันสะสมมาเนิ่นนานก็จะเริ่มลดลง
หนทางผอมแม้จะกินขาหมูเริ่มมาถึงแล้ว
ทางที่ดี สาวกสายคีโตเจนิก ควรมีความมั่นใจเสียก่อนว่าร่างกายของคุณสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมกับการกินสายนี้
และควรไปตรวจสุขภาพ ตลอดจนปรึกษาแพทย์
หรือขอคำแนะนำจากนักโภชนาการเสียก่อนเพื่อความปลอดภัยก่อนที่จะเข้าคอร์สนี้นะคะ
บทความนี้นำเสนอการทำความเข้าใจการกินแบบคีโตเจนิก
ขั้นพื้นฐานเท่านั้น ควรศึกษาเพิ่มเติมหรืออ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
อ้างอิง กรมอนามัย, THE STANDARD
** ขอให้เพื่อนทุกท่านมีความสุขกับการกินคีโต เพื่อสุขภาพของเพื่อนทุกท่านนะคะ**
ขอบคุณข้อมูลจาก
Website : www.ocare.co.th
โฆษณา