18 พ.ย. 2019 เวลา 09:31 • ความคิดเห็น
โรคกลัวที่แคบ ที่ไม่ได้กลัวแค่ที่แคบ
Phobia โรคที่เกี่ยวกับความกลัว ส่วนใหญ่เราจะรู้จักและได้ยินบ่อย คือ โรคกลัวความสูง แสดงอาการกลัวออกมาเมื่อขึ้นสู่ที่สูง หรือมองเห็นความลึก
แต่ โรคกลัวที่แคบ น้อยครั้งที่โรคนี้จะถูกกล่าวถึง และเป็นความเข้าใจที่ว่า คนเหล่านี้ แค่กังวลกับพื้นที่แคบ ซึ่งความจริงไม่ได้มีแค่นั้น
โรคกลัวที่แคบ (Claustrophobia) แปลตรง ๆ ด้วย Google translate ก็จะแปลว่า "ทึบ"
และ claustrophobic จะแปลว่า "อึดอัด"
ดังนั้น โดยรวมแล้ว คนที่เป็นโรคกลัวที่แคบ จะรู้สึกอึดอัด ตื่นกลัว ตระหนก กับพื้นที่แคบ การถูกจำกัดการมองเห็น จำกัดการเคลื่อนไหว
ยกตัวอย่างเช่น
1) ตามความเข้าใจของคนทั่วไป คือ กลัวพื้นที่แคบ การอยู่ในห้อง หรือสถานที่ที่ถูกจำกัด การถูกขัง
2) กลัวความทึบ หรือถูกจำกัดการมองเห็น คือ การถูกปิดกันทัศนวิสัย ไม่ว่าจะถูกปิดตา หรือเข้าไปอยู่ในสถานที่ทึบแสง เช่น ในลิฟต์ ในตู้ทึบ เป็นต้น
3) ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว คือ การถูกพันธนาการ ทำให้ไม่สามารถขยับร่างกายได้ดั่งใจนึก แม้จะอยู่ในพื้นที่โล่ง ก็จะเกิดอาการกลัวแบบเดียวกันกับ 2 ข้อแรก
เป็นต้น
เล่าให้ฟัง
ครั้งหนึ่ง เราไปพักที่โรงแรมหนึ่ง ซึ่งห้องอยู่ชั้น 4 และต้องขึ้นลิฟต์ ซึ่งปกติเราขึ้นลิฟต์ได้ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะลิฟต์ทั่วไป กว้างพอควร และเป็นกระจกที่ทำให้ดูกว้างขึ้น
แต่ ลิฟต์เจ้าปัญหานี้คือ ลิฟต์ทึบ ไม่เงา และ มีขนาดเล็กมาก เล็กแบบที่หากเรามีกระเป๋าลาก เราจะโดยสารขึ้นไปได้แค่ครั้งละ 1 คนเท่านั้น (แต่ครั้งนี้ไม่มีกระเป๋า) เราจึงเข้าไปกับพี่สาว พอลิฟต์ปิดปุ้บ เราเอ่ยทันที
"เจ้ หนูไม่ไหวว่ะ มันแคบมาก เครียด จะอ้วก"
อาการคือ เหงื่อออก เครียด ตระหนก อึดอัด กลัว เพราะมองไม่เห็น
ดีนะที่ขึ้นแค่ 4 ชั้น
เล่าอีกสักเรื่องหนึ่ง
เรื่องของการขับรถ
เราไม่มีปัญหา กับการนั่งภายในรถ เพราะมีกระจกใส มองเห็นภายนอกได้ แต่จะเกิดอาการกลัว อึดอัดทันที เมื่อ
มีรถสูง รถบัส รถบรรทุก ขับนำหน้า บดบังการมองเห็น ทุกครั้งที่ถูกบัง จะอึดอัด และพยายามแซง หรือ หลบออกให้พ้น เพื่อให้มองเห็นโดยรอบได้
แน่นอนว่า โรคเหล่านี้ผ่านการปรึกษาแพทย์ และดูแลตัวเองเรียบร้อย พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่กลัว
ลองเช็กสุขภาพจิตของเราดูเรื่อย ๆ ว่าเรามีอาการผิดแปลกจากปกติบ้างหรือไม่ การพบจิตแพทย์ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ยังดีกว่าปล่อยให้ทวีความรุนแรง จนมีผลเสียต่อการใช้ชีวิต
#ตั้งวงเล่า #โรคกลัวที่แคบ
เครดิตภาพ ทวิตเตอร์ @samrujlok
โฆษณา