19 พ.ย. 2019 เวลา 07:44 • ปรัชญา
“เพราะฉันคิดฉันจึงมีอยู่”
1
หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “I think therefore I am” หรือ “ฉันคิดฉันจึงมีอยู่” ซึ่งเป็นประโยคท้อปฟอร์มของ เรเนอร์ เดการ์ต นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสผู้มีชื่อเสียงในต้นยุคสมัยใหม่ของอารยธรรมตะวันตก
7
เดการ์ตมีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นผู้บุกเบิกวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ เขาเป็นผู้คิดค้นระบบผลคูณคาร์ทีเชียน ซึ่งเป็นที่มาของวิชาแคลคูลัสของเซอร์ ไอแซค นิวตัน ที่ทำให้เราปวดหัวกับการเรียนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ในทุกวันนี้ และแน่นอนว่าในบทความนี้จะไม่อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องคณิตศาสตร์แต่อย่างใด
2
แนวคิดที่น่าสนใจของเดการ์ตอีกอย่างหนึ่งคือ เขาได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับ “การมีอยู่” ของเราๆ คำถามหนึ่งที่เขาได้ตั้งไว้คือ “เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตื่นอยู่จริงๆ หรือการใช้ชีวิตของเราในตอนนี้ไม่ใช่ความฝัน” ซึ่งเราจะสามารถเห็นภาพคำถามนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นถ้าเคยฝันว่ากำลังทำข้อสอบ หรือฝันว่าตื่นมาใช้ชีวิตทั้งๆที่เรากำลังหลับอยู่ นั่นแหละคือข้อสงสัยของเดการ์ต
ที่มาของข้อสงสัยนี้คือ การตั้งคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระเจ้า ซึ่งข้อสรุปต่อไปนี้ที่กำลังจะกล่าวถึง คือข้อสรุปที่เดการ์ตใ้ช้อธิบายการมีอยู่ของพระเจ้าเช่นกัน
เดการ์ตได้กล่าวถึงการมีอยู่ของเราหรือของพระเจ้าไว้ด้วยการทดลองทางความคิด ซึ่งเดการ์ตนั้นไม่เชื่อการรับรู้ของประสาทสัมผัส เนื่องจากบางครั้งประสาทสัมผัสเองก็หลอกเรา เช่นการมองเห็นดินสอผ่านแก้วน้ำ เราจะเห็นว่าดินสอหักงอทั้งที่ในความจริงแล้วมันก็ยังเป็นดินสอแท่งตรงๆ ดังนั้นเขาจึงไม่คิดว่าการมีอยู่ของเรานั้นขึ้นกับการรับรู้
เขาได้กล่าวถึงปีศาจในความคิดของเรา ซึ่งกำลังหลอกเราอยู่ว่าเรามีตัวตน หรือทำให้เราเห็นภาพลวงตาว่าเรากำลังใช้ชีวิตทั้งที่เราอาจจะไม่ได้กำลังทำอะไรอยู่เลยก็ได้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าร่างกายของเรานั่นมีอยู่ หรือการกระทำของเรานั้นเป็นเรื่องจริง
แต่เดการ์ตได้กล่าวว่า การที่เรารับรู้ได้ว่าปีศาจตนนี้กำลังหลอกเราอยู่ แสดงว่าต้องมีบางสิ่งที่ปีศาจกำลังหลอก ซึ่งก็คือตัวเรา
เดการ์ตได้ข้อสรุปว่า การที่เรามีความคิดหรือความรู้สึก หมายความว่าเรานั้นมีอยู่จริงในฐานะความคิด ซึ่งเขาเชื่อในการมีอยู่ของความคิดเท่านั้น ส่วนเรื่องร่างกาย สิ่งรอบตัวหรือประสาทสัมผัสนั้นอาจจะมีอยู่หรือไม่ก็ได้
ข้อสรุปนี้สามารถนำมาอธิบายการมีอยู่ของพระเจ้า กล่าวคือ ถ้าเราพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีความคิด พระเจ้าก็จะมีอยู่จริง
(เรื่องพระเจ้าเป็นสิ่งหลักๆที่นักปรัชญาในสมัยนั้นต้องการหาคำตอบ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าทำไมเหมือนกัน อาจจะเป็นเพราะนักปรัชญาอยู่ในสังคมศาสนาคริสต์)
(เรื่องการมีอยู่ของพระเจ้านั้นจะสนุกมากถ้ามองในมุมของนีชเช่ ซึ่งเราจะนำมาคุยในบทความต่อๆไป)
2
แน่นอนว่ามีนักวิชาการหลายๆท่านที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของเดการ์ต อย่างกิลเบิร์ต ไรต์ เขาได้กล่าวว่าแนวคิดนี้เป็นมายาคติเรื่องผีในเครื่องจักร หรือการแยกส่วนระหว่างร่างกายกับจิตใจ ซึ่งถ้ามองในมุมนี้เราจะไม่มีคำตอบว่าจิตใจนั้นควาบคุมการทำงานของร่างกายได้อยางไร และแนวคิดของเดการ์ตยังขัดแย้งกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่มองว่าความคิดของเราเกิดจากการทำงานของระบบประสาทอีกด้วย
โดยส่วนตัวแล้วเราไม่เห็นด้วยกับประโยค “เพราะฉันคิด ฉันจึงมีอยู่” เท่าไหร่นัก เรามองว่า “เพราะเรามีอยู่ เราจึงมีความคิด” มากกว่า เนื่องจากเรามองว่าสิ่งที่ไม่สามารถคิดได้ หรือคนที่ตายไปแล้วก็ยังมีอยู่ และความคิดต่างๆของเราส่วนมากก็มาจากการมีอยู่ของสิ่งรอบตัวเช่นกัน
ก่อนจากกันขอฝากหนังสือปรัชญาน่ารักๆ ชื่อ A little History of Philosophy หรือชื่อภาษาไทยว่า ประวัติศาสตร์ปรัชญาฉบับกะทัดรัด กับโลกของโซฟี(เล่มนี้เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ทำตัวเหมือนกับหนังสือเรียน) ไว้ เราว่าเป็นหนังสือปรัชญาระดับBeginner ที่ดีมากๆ
Reference:
1. A Little History of Philosophy, Nigel Warbutron
2. Wikipedia (ไม่อยากเอามาเป็นเรฟเลยยย)
3.ขอบคุณมีมน่ารักๆจาก Thumblr ซึ่งจำไม่ได้เหมือนกันว่าเซฟมาจากใคร
โฆษณา