27 พ.ย. 2019 เวลา 00:19 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Starlink ดาวรุ่ง หรือดาวร่วง ตอน1 (Disruptive Technology EP6)
Starlink Project
นักวิเคราะห์ มักพูดถูกเสมอ เพราะพวกเขานำเหตุผลและทฤษฎีต่างๆนาๆ มาอธิบายถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นไปแล้ว อย่างมีความสัมพันธ์ และน่าเชื่อถือ
ตัวผมเอง ไม่ใช่นักวิเคราะห์ และยังมีไบแอส Bias จากการที่ปี 1997 เคยทำงานที่ Iridium โทรศัพท์ดาวเทียมวงโคจรต่ำ LEO เริ่มงานตั้งแต่ติดตั้งสถานีฐาน เปิดบริการ และแล้วทุกคนในบริษัท ต้องถูกเลิกจ้างพร้อมกัน เพราะบริษัทไปไม่รอด (ถูกโทรศัพท์มือ 2G Disrupt)
ย้ำเข้าไปอีก ยังไม่เข็ด ผมยังมีโอกาสทำงานที่ ACeS โทรศัพท์ดาวเทียมวงโคจรค้างฟ้า GEO และแล้วสุดท้าย ธุรกิจก็ไปไม่รอดเช่นกัน
ซึ่งผมไม่ได้รอจนถูกเลิกจ้าง เหมือน Iridium จึงเปลี่ยนงานออกมาก่อน
วันนี้ขอเขียนบทความนี้ไว้ แล้วมาคอยดูผลงานของ Starlink จะเป็นอย่างไร
ก่อนผมจะพูดถึงเหตุผลในรายละเอียด ข้อดีและข้อเสีย (Pros&Cons) ของ Starlink ว่ามีอะไรบ้าง รวมทั้งคู่แข่ง และลูกค้าของ Starlink คือใคร?
ผมขออธิบายเบื้องต้นว่า โครงการ Starlink คืออะไร
คุณสมชาย เลิศสุทธิวงศ์ CEO ของ AIS กล่าวว่า:
ต่อไปผู้ให้บริการโครงข่ายมือถือภาคพื้นดิน Terrestrial Mobile Network จะมีคู่แข่งใหม่ เป็นอินเตอร์เน็ตผ่านดาวเทียม
ดังนั้น AIS ต้องปรับตัว หารายได้แหล่งใหม่ เช่น Digital Platform
ไม่ใช่แค่ Starlink ของ Elon Musk ที่ออกแบบใช้ดาวเทียมจำนวนถึง 12,000 ดวง Starlink กำลังขอใบอนุญาตจาก ITU เพื่อใช้ดาวเทียมเพิ่มอีก 30,000 ดวง รวมเป็น 42,000 จำนวน (คนรวยจะทำอะไรเวอร์วัง... เสมอ)
ยังมีโครงการไคเปอร์ (Kuiper Project) ของเจฟฟ์ เบซอส ผู้ก่อตั้ง Amazon คนที่รวยที่สุดในโลก ออกแบบใช้ดาวเทียมจำนวน 3,236 ดวง
และโครงการวันเว็บ (OneWeb Project) ของกลุ่ม SoftBank ออกแบบใช้ดาวเทียมจำนวน 900 ดวง หรือมากกว่านั้น
โครงการบริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมในปัจจุบัน ของคนที่รวยที่สุดในโลก รวยจาก Disruptive Technology หรือรวยจากธุรกิจ Mobile Internet
ทุกโครงการออกแบบใช้ดาวเทียมจำนวนมาก
เมื่อเทียบกับ Iridium เมื่อ 20 ปีก่อน ตอนเริ่มโครงการออกแบบไว้ว่า จะใช้ดาวเทียม 77 ดวง ตามจำนวน เลขอะตอมของธาตุ Iridium จึงเป็นที่มาของชื่อโครงการ แต่สุดท้ายใช้จริงเพียง 66 ดวง ก็สามารถครอบคุมได้ทั่วโลก
Iridium 66 ดวง ให้บริการครอบคุมได้ทั่วโลก
จะเห็นว่า โครงการต่างๆ เพิ่มจำนวนดาวเทียมประมาณ 200 เท่า (เทียบกับ Iridium) ก็เพื่อเพิ่มความเร็วบริการอินเทอร์เน็ต ตามความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน นั้นเป็นเหตุผลสำคัญ
ก่อนหน้านั้น เคยมีโครงการ Internet.org ของ Mark Zuckerberg เจ้าของ Facebook ก็คิดจะทำอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เช่นกัน แต่พับโครงการไป เพราะไม่ถนัด เรื่องจรวดส่งดาวเทียม เหมือนกับ Elon Musk
อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมมีอยู่หลายโครงการ ทำไมผมจึงมุ่งไปที่ Starlink
ก็เพราะว่า Starlink มีความคืบหน้ามากที่สุด และใช้ดาวเทียมมากที่สุด
ในขั้นตอนแรก (First Stage)
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Starlink ได้ส่งดาวเทียมจำนวน 60 ดวงขึ้นไป บนวงโคจรแล้ว ที่ระดับความสูง 550km จากพื้นโลก และมีทดสอบใช้งาน
ในขั้นตอนที่ 2 (Second Stage)
มีแผนใช้จรวด Falcon 9 ส่งดาวเทียม Starlink เพิ่มอีก ด้วยการยิงจรวด ขึ้นไปครั้งเดียว ส่งได้ถึง 60 ดวง
แผงดาวเทียม Starlink 60 ดวงเรียงกัน
จากภาพข้างบน จะเห็นแผงดาวเทียมจำนวน 60 ดวง เรียงต่อกัน เป็นชั้นๆ ซึ่งจะติดตั้งไว้ที่หัว ของจรวด Falcon 9 เพื่อเตรียมจัดส่งขึ้นวงโคจร Starlink ก็จะมีดาวเทียมเพิ่มเป็น 120 ดวง ในขั้นตอนนี้
Falcon 9 By SpaceX เป็นสุดยอดเทคโนโลยีขนส่งอวกาศ ในขณะนี้
ไม่ใช่แค่ส่งดาวเทียม ครั้งละจำนวนหลายดวง ยังสามารถนำจรวดขับดันกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วย ทำให้ต้นทุนในการส่งสิ่งต่างๆขึ้นบนอวกาศถูกลง
เทียบกับจรวด Long March ของจีน ยังส่งดาวเทียมได้ครั้งละ 5 ดวง เท่านั้น
สนใจการเปรียบเทียบวงโครจรของ Starlink เทียบกับ Iridium
โปรดติดตาม Disruptive Technology ** ทุกวันพุธ **
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา