27 พ.ย. 2019 เวลา 10:57 • ไลฟ์สไตล์
คน GenY กำลังเจอกับดักของคำว่า “ของมันต้องมี”
คนเจน Y คือคนที่เกิดในปี ค.ศ. 1981 – 2000 หรือก็คือ หรือช่วงอายุประมาน 20 – 40 ปี เป็นกลุ่มคนที่โตมาในยุคคาบเกี่ยวของอนาลอคและดิจิตอล เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว จากที่ใช้ชีวิตทั่วๆไป ไปสู่การเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างง่ายดาย ซึ่งโดยมาแล้วจะโตมากับยุคที่เทคโนโลยีมีราคาแพง เข้าถึงยาก แต่เมื่อถึงอายุเริ่มวัยทำงาน เป็นยุคที่เทคโนโลยีราคาถูกลง ใครๆก็สามารถเข้าถึงได้ ประกอบกับเป็นวัยที่หาเงินได้เองทำให้หลายๆคนเลือกที่จะใช้เงินไปกับการซื้อของเหล่านั้นมาเติมเต็มชีวิต
การเข้ามาของเทคโนโลยีนั้นยังส่งผลอื่นๆตามมา เราเชื่อมต่อคนทั่วโลกได้ง่ายดาย เราสามารถเข้าถึงวิถีชีวิตของคนรวยผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิค ภาพการใช้ชีวิตอันหรูหรา สิ่งของราคาแพงที่เค้าซื้อไม่เว้นแต่ละวัน การท่องเที่ยวในต่างประเทศ ทำให้หลายคนมีความรู้สึกอยากจะมีชีวิตแบบพวกเค้า ประกอบกับ มีคนดัง เน็ตไอดอลหลายคนที่รับค่าโฆษณาจากแบรนด์สินค้าต่างๆ ถ่ายรูปลงโซเชียลให้เกิดกระแสอยากใช้ตามคนดัง
ของมันต้องมี
จริงๆแล้วเรื่องแบบนี้มีมานานแล้วครับผมได้อ่านหนังสือหลายเล่มของมหาเศรษฐีที่เล่าเรื่องราวชีวิตของเขาตั้งแต่ยุคก่อนการมี โซเชียลเน็ตเวิค คนรวยเหล่านั้นใช้ชีวิตของเค้ามานานแล้ว แต่วัฒนธรรมเหล่านั้นไม่ส่งผลต่อคนเจน X เป็นเพราะว่าเค้าไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าถึงไลฟ์สไตล์เหล่านั้น
แล้วเรื่องเหล่านี้มีผลเสียอย่างไรต่อคนเจน Y ?
จากการสำรวจของ TMB Analysis พบว่า คนเจน Y ตอนต้น (ช่วงอายุ 23 – 30 ปี) ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มทำงานมีประมาน 14.4 ล้านคน โดยครึ่งหนึ่งเป็นหนี้เฉลี่ยกว่า 4 แสนบาท โดยมีถึง 1.4 ล้านคน ที่มักผิดชำระหนี้ ทำให้เกิดหนี้เสีย
จากการสอบถามของการสำรวจพบว่า ของที่อยากมีก่อนอายุ 40 ปี บ้านและรถ แต่ในความเป็นจริงแล้วพวกเค้าส่วนใหญ่ไม่ได้มีครับ สิ่งที่มีของที่ “ของมันต้องมี” ซึ่งเป็นสินค้าเสื่อมราคา โดยมีโ?รศัพท์เป็นอันดับ 1 ที่ 22 % รองลงมาคือ เสื้อผ้า 11 % ซึ่งสิ่งเหล่านี้ซื้อมาแล้วหลายๆครั้งนั้นเป็นสินยค้าเสื่อมราคาและไม่สร้างรายได้ครับ
ส่วนตัวผมเองก็เป็นคนเจน Y ครับ ออกจะปลายๆเจน Y แล้ว ซึ่งก็ได้สังเกตพฤติกรรมของคนรอบตัว มักจะได้ยินคำว่า “ของมันต้องมี” “รูดไปก่อน เดี๋ยวผ่อนต่อ” “ชีวิตมันสั้น ต้องรีบใช้” “น่าเสียดายตายไปใช้เงินไม่หมด” แต่ไม่มีใครรู้ว่า “น่าสลดเงินหมดแต่ยังไม่ตาย” ซึ่งอิทธิพลเหล่านี้มาจากอยากมีชีวิตที่สวยหรูเหมือนอย่างคนดัง คิดว่าเรียนจบมาเป็นอิสระจะใช้เงินเพื่อประสบการณ์ชีวิต เช่น รองเท้า 30000 บาท ยี่ห้อหนึ่งใส่แล้วหนักแถมเจ็บ ต้องมาผ่อน 10 เดือนกัน หรือบางคนเก็บเงินมาทั้งปี ไปเที่ยวต่างประเทศวันหยุด เงินเก็บไม่พอ รูดไปก่อนเดี๋ยวผ่อนต่อ ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้เงินเกินตัว โดยมักอ้างว่าเพื่อประสบการณ์ชีวิต แต่ความจริงแล้วพวกเค้าเหล่านั้นล้วนมีชีวิตที่เหมาะสมกับรายได้ของเค้า การที่เรามีรายได้น้อย แต่อยากใช้ชีวิตเหมือนเค้าทำให้เกิดการสร้างหนี้นั่นเอง
ไม่ผิดหรอกครับที่คนเราจะอยากได้ประสบการณ์ชีวิต แต่การที่เราอยากมีชีวิตเหมือนคนดังคนรวยที่เราเห็นผ่าน โซเชียลเน็ตเวิคนั้นเป็นตัวเร่งอารมณ์ให้เราจ่ายครับ ซึ่งผมมองว่านี่เป็นกับดัก ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้คนเจน Y ที่พึ่งเริ่มทำงานจับจ่ายให้มากขึ้น มีโปร 0% 10 เดือนมาช่วย อนุมัติบัตรเครดิตแสนง่าย ทำให้คนที่ไม่เคยใช้มาก่อน ไม่เคยโดนฝึกใช้บัตรเครดิต จับจ่ายจนลืมคำนวณหนี้รวมทั้งหมด รู้ตัวอีกทียอดผ่อนต่อเดือนก็มากเกินค่าใช้จ่ายประจำวันไปเสียแล้ว แล้วคุณก็มาสร้างเป็นเรื่องตลก “สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ” “รอคอยเงินเดือน” จริงๆแล้วมันไม่ตลกเท่าไหร่เลยเพราะผมก็ผ่านช่วงเวลาแบบนี้มาแล้ว ทำให้รู้ว่าการไม่เป็นหนี้บริโภคเกินตัว ดีที่สุด
เราจะแก้ไขได้อย่างไร เราแก้ที่สังคม แก้ที่คนที่อวดชีวิตเค้าไม่ได้ครับ เราต้องกลับมาแก้ที่ตัวเราเอง ลองเริ่มศึกษาเรื่องการเงิน ปรับทัศนะคติด้านการเงินเป็นอันดับแรกครับ อาจจะหาอ่านจากหนังสือ ดูผ่านยูทูปก้ได้ครับ เพราะทัศนะคติ “ของมันต้องมี” “ซื้อประสบการณ์” มันฝังอยู่ในหัวคุณ คุณต้องปรับมันเสียก่อน
หากวันนี้คุณพบว่าคุณเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้บริโภคอยู่ ไม่สายครับที่จะแก้ไขมัน “ทัศนะคติเรื่องเงิน” ช่วยคุณได้ครับ
โพสต์หน้าผมจะมาแนะนำหนังสือที่จะเปลี่ยนทัศนคติเรื่องเงินของคุณไปเลยล่ะครับ
หากใครชอบบทความที่ผมเขียน กดไลค์ แชร์เพจเป็นกำลังใจให้ผมด้วยครับ
แล้วเราจะโตไปด้วยกัน
โฆษณา