28 พ.ย. 2019 เวลา 04:50 • สุขภาพ
การผ่าตัด ในเเต่ละครั้ง ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างมาดูกัน !!!!
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Operating_theater
ในสังคม ข่าวสารปัจจุบัน ผู้อ่านอาจจะเคยได้รับข้อมูลในเชิงต่อว่าถึง ราคาที่เเสนเเพงในการผ่าตัดเเต่ละครั้งใน โรงพยาบาลเอกชน หรือ อาจจะเคยได้ยินเรื่อง การรอคิวผ่าตัดที่นานมากๆใน โรงพยาบาล รัฐบาล ????
เเล้วทำไมการผ่าตัดเเต่ละครั้งถึงยุ่งยากเเละ
ราคาเเพงนัก !!!!!!
ผมเองก็พอมีประสบการณ์คลุกคลีใน ห้องผ่าตัดพอสมควร จึงจะมาขอเล่าในวันนี้ว่าการผ่าตัดเเต่ละครั้งต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
เเม้ว่า การผ่าตัดจะมีหลากหลาย ตั้งเเต่ ผ่าตัดเนื้อตาย ผ่าคลอด จนถึง ผ่าตัดส่องกล้องต่างๆ ซึ่ง จะมีรายละเอียดต่างกันออกไป เเต่ องค์ประกอบพื้นฐานที่จะทำให้การผ่าตัดผ่านไปได้ด้วยดีนั้น ล้วนเหมือนกัน คือ !!!!
1.ห้องผ่าตัด
https://www.hopkinsmedicine.org/health/treatment-tests-and-therapies/the-day-of-surgery-getting-ready-for-surgery-the-operating-room
อย่างเเรกในการจะผ่าตัดได้ เลยนั้นต้องมีห้องผ่าตัด ห้องผ่าตัด ต้องเป็นห้องที่มี ระบบระบายอากาศเเบบพิเศษ เเละมีการดูเเลรักษาความสะอาดอย่างยิ่งยวด รวมถึงมีเตียงผ่าตัดเเละอุปกรณ์ใน การผ่าตัด เเละดมยาสลบอย่างครบครัน
2.อุปกรณ์การผ่าตัดต่างๆ
https://www.youtube.com/watch?v=HVS6daE8dV8
การผ่าตัดเเต่ละครั้งต้องใช้อุปกรณ์ หลากหลาย ตั้งเเต่ มีดผ่าตัด ที่จับเนื้อเยื่อ ผ้าปูผ่าตัด รวมถึงอุปกรณ์เฉพาะอื่นๆ ในการผ่าตัดอาทิเช่น กล้องในการผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดต้องผ่านการฆ่าเชื้อ เเละ ดูเเลไม่ให้ปนเปื้อนเชื้อโรคโดยเด็ดขาด
3.พยาบาลห้องผ่าตัด
http://www.hospital.tu.ac.th/nursing/unit/SpacialDept/PrePostOp.html
พยาบาล ห้องผ่าตัด จะเป็นผู้ที่คอยจัดคิว ดูเเลลำดับในการผ่าตัด เเละเข้าช่วย หมอผ่าตัดในระหว่างที่ผ่าตัดในเเต่ละครั้ง
4. วิสัญญี เเพทย์
https://www.pscclinic.com/anestheologists
เรียกง่ายๆว่า หมอดมยา วิสัญญีเเพทย์จะเป็นเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำหน้าที่ วางยาสลบ บล็อคหลัง ลดความเจ็บปวด เเละดูเเลสภาพร่างกายผู้ได้รับการผ่าตัด ตลอดการผ่าตัดเเละหลังการผ่าตัดอีกด้วย
5. วิสัญญีพยาบาล
http://www.hospital.tu.ac.th/nursing/unit/SpacialDept/Anes.html
จะทำหน้าที่เป็น ผู้ช่วยวิสัญญีเเพทย์ในการวางยาสลบ บล็อคหลัง ลดความเจ็บปวด เเละดูเเลสภาพร่างกายผู้ได้รับการผ่าตัด ตลอดการผ่าตัดเเละหลังการผ่าตัดอีกด้วย
6.พนักงานในห้องผ่าตัด
https://www.hfocus.org/content/2013/10/5228
พนักงานในห้องผ่าตัดจะเป็น ผู้ที่คอยทำความสะอาดห้องผ่าตัด เคลื่อนย้ายคนไข้ เเละหน้าที่จิปาทะอื่นๆ
7. สุดท้าย คือ หมอผู้ทำผ่าตัด !!!!
https://www.plasticsurgery.org/news/blog/is-your-plastic-surgeon-board-certified
หมอผ่าตัด มีได้หลายสาขาทั้ง หมอ ศัลยกรรมทั่วไป หมอ สูติ หมอ กระดูก ซึ่งทั้งหมดจะทำหน้าที่ผ่าตัดในสาขาที่ตัวเองถนัดเเละเป็น เเพทย์เจ้าของไข้ ของผู้ที่ได้รับการผ่าตัดนั้นๆ
ซึ่งในการผ่าตัดเเต่ละครั้ง ต้องใช้ทั้งสถานที่
อุปกรณ์เเละบุคลากรทั้งหมดที่ผมได้กล่าวไป
เรียกได้ว่าการผ่าตัดเป็น ‘’การทำงานเป็นทีม’’ ไม่ใช่การฉายเดี่ยว ของคนใดคนหนึ่ง
ดังนั้นการผ่าตัดเเละครั้ง ต้องใช้ทรัพยากรอย่างมากในทุกด้าน เเละการที่จะสร้าง ห้องผ่าตัดให้ครบสมบูรณ์ขึ้นมาเเต่ละห้อง ก็ต้องใช้งบประมาณเเละการวางเเผนอย่างดี
ผม เคยเห็นอยู่บ่อยครั้งที่มีการสร้างห้องผ่าตัดมาเเต่ไม่ได้ฝึกทีมงานมา ก็ผ่าตัดไม่ได้
หรือ รับทีมผ่าตัดมาในโรงพยาบาลเเต่ไม่ได้สร้างห้อง ผ่าตัดให้ดี หรือไม่มีอุปกรณ์ที่ดีพอ ก็ผ่าตัดไม่ได้อีกเช่นกัน !!!
ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สถานการณ์ในโรงพยาบาล รัฐบาล เท่าที่ผมสัมผัส ก็ขาดเเคลนทั้ง ห้องผ่าตัดเเละบุคคลากรที่ทำงานห้องผ่าตัด นะครับ
บางที การผ่าตัด ในโรงพยาบาล รัฐบาลอาจจะต้องรอคิวนานหน่อย เเละยิ่งเป็นการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ห้องผ่าตัดก็จะน้อยลงไปอีกเเละทุกสาขาจะต้องใช้ห้องร่วมกันโดยจะเรียง ตามความเร่งด่วนของ เคสนั้นๆ
บางที อาจจะมีผู้ป่วยกระดูกหักนอกเวลา ราชการ เจ็บปวดมาก ก็ต้องรอผ่าตัด เพราะต้องให้ คุณเเม่ที่กำลังตกเลือดหลังคลอด ผ่าตัดก่อน เพราะ เป็นเรื่องเร่งด่วนกว่าเเละห้องผ่าตัดมีจำกัด เป็นต้น
ก็หวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจในสถานการณ์ ของโรงพยาบาลรัฐในปัจจุบัน บางอย่างอาจจะไม่ถูกใจไปบ้าง เเต่ผมก็เชื่อว่าทุกคนในโรงพยาบาลก็ทำเต็มความสามารถเพื่อ คนไข้ทุกคนนะครับ !!!!
หวังว่าผู้อ่านจะสนุกเเละได้ความรู้นะครับ
https://www.wallstreetenglish.in.th/เรียนภาษาอังกฤษ/อยากให้กำลังใจคนป่วย-นอ/
โฆษณา