1 ธ.ค. 2019 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
นี่คือประวัติศาสตร์ของโลกในการอพยพคนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่ปรากฏในโลกใบนี้
บริเวณทางเดินเรือของเขื่อนซานเสียนต้าป้าหรือเขื่อนสามผา
จากการที่ “ยุคใหม่การตลาดของไทย” ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมเมืองจีน ซึ่งในครั้งนี้นอกจากจะได้ไปเยี่ยมสถานที่เก่าแก่โบราณแล้ว ยังมีโอกาสได้ล่องเรือสำราญที่แม่น้ำแยงซีเกียง ที่เป็นแม่น้ำที่มีความยาวอันดับที่ 3 ของโลก รองลงมาจากแม่น้ำไนล์และแม่น้ำอเมซอน (ที่ไม่ใช่กาแฟเย็นและเว็บขายสินค้าออนไลน์)
พื้นที่ของของเขื่อน ที่มา: Google
จากที่ได้สัมผัสมาได้เห็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ที่ใหญ่โตมโหฬารของแม่น้ำแยงซีเกียง และยังได้เห็นวัฒนธรรมโบราณที่มีความเก่าแก่นับเป็นพันๆปี เพราะจีนเองเป็นหนึ่งในสถานที่ต้นกำเนิดวัฒนธรรมของโลกด้วย
และได้มีโอกาสได้สนทนากับคุณขวัญชัย จริยทวีสิน หรือที่เราเรียกกันว่าเฮียขวัญชัย ที่เป็นผู้บริหาร Seasons Holiday ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเมืองจีนมาก และรัฐบาลจีนก็ให้ความเชื่อถือท่านสูงมาก รวมถึงได้ร่ำเรียนในเมืองจีนมาด้วย และท่านก็ทำธุรกิจท่องเที่ยวเมืองจีนเท่านั้นไม่ทำประเทศอื่นเลย
คุณขวัญชัย จริยทวีสิน
ในวันนั้นเฮียขวัญชัยได้ให้ข้อมูล“ยุคใหม่การตลาดของไทย”ว่า สังเกตเห็นกระแสน้ำในแม่น้ำแยงซีเกียงไหมตอนที่ไป ว่าเป็นแม่น้ำที่ไหลแรงมาก ซึ่งจะเห็นว่าไหลแรงมากตอนที่ล่องเรือมาก็เป็นการล่องทวนกระแสน้ำเลยเห็นชัดเจนมาก ลองนึกดูว่าก่อนจะสร้างเขื่อนน้ำจะไหลแรงขนาดไหน ต้องแรงกว่านี้หลายเท่าตัวเลย
แม่น้ำแยงซีเกียงที่ไหลผ่านเมืองฉงชิ่ง
คนที่นี่ยังมีการทำมาค้าขายโดยใช้เส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำเป็นหลัก จากเมืองที่อยู่ต้นน้ำไปยังเมืองที่อยู่ปลายน้ำ แต่ขากลับจะกลับมายังไงในเมื่อกระแสน้ำแรงขนาดนี้ ดังนั้นจึงทำให้เกิดอาชีพคนลากเรือขึ้นมาพร้อมทั้งเกิดอาระยะธรรมริม 2 ฝั่งแม่น้ำ
อาชีพลากเรือริมฝั่งแม่น้ำแยงซีเกียง
แม่น้ำแยงซีเกียงไหลแรงมากเพราะน้ำไหลมาจากดินแดนที่เป็นหลังคาโลก ด้วยภูมิประเทศที่ชันมากจึงทำให้กระแสน้ำไหลแรง ในหน้าน้ำหลากก็สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่ง เพราะมีน้ำท่วมบ่อยๆและเป็นการท่วมที่รุนแรงมาก คร่าชีวิตคนจีนไปมากมาย ประมาณกันว่าผู้คนต้องล้มตายจากอุทกภัยจากน้ำแยงซีเกียงในช่วงระยะเวลา 100 ปีก่อนสร้างเขื่อนมากกว่า 100 ล้านคน
The Ultimate Flood 'Sacrifice' | The World of Chinese
การสร้างเขื่อนจึงเป็นทางออกของปัญหานี้ได้ อีกทั้งยังช่วยกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรด้วย เพราะหากไม่มีเชื่อนน้ำที่ไหลลงมาจะไหลออกสู่ทะเลทั้งหมด
1
พ.ศ. 2462 รัฐบาลจีนโดย ดร.ซุนยัดเซ็น ได้มีการวางแผนสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วมเป็นหลัก เริ่มศึกษาโครงการในปี พ.ศ. 2473 (Wikipedia)ในขณะนั้นคงจะไม่ได้คาดว่าจะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า เพราะในช่วงนั้นวิทยาการต่างๆยังไม่ได้เจริญมากนัก
อีกมุมของเขื่อนซานเสียนต้าป้า
ระยะเวลาผ่านไปหลายปีจึงได้เริ่มทำการก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2535 ในสมัยนายกรัฐมนตรีหลีเผิง ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 4 ของจีน แต่กว่าจะได้รับอนุมัติการก่อสร้างจริงๆก็ล่วงเลยมาจนถึงปี พ.ศ. 2547 จึงได้เริ่มทำการก่อสร้างจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554
ภาพพื้นที่รับน้ำของเขื่อนเปรียบเทียบก่อนและหลังการสร้างเขื่อน
แม่น้ำแยงซีเกียงเป็นแม่น้ำที่มีระยะทางยาวกว่า 6,000 กม. เพื่อให้สามารถลดความรุนแรงของกระแสน้ำและป้องกันน้ำท่วมได้ รัฐบาลจีนจึงได้ทำการสร้างเขื่อนเป็นช่วงๆมาตั้งแต่ทิเบตจนไปออกปากแม่น้ำที่เซี่ยงไฮ้ จำนวน 6 เขื่อนและแต่ละเขื่อนจะอยู่ห่างกันประมาณ 1,000 กม.
ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นมากกว่า 100 เมตรจากเดิม ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำต้องถูกน้ำท่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และโบราณสถานมากกว่า 1,300 แห่งต้องจมน้ำอย่างแน่นอน และตัวเลขจำนวนประชาชนที่ต้องย้ายถิ่นฐานมีจำนวนมากมายมหาศาลถึง 1.35 ล้านคน
วัดที่เคยอยู่บนเขาสูง ปัจจุบันกลายเป็นเกาะ
รัฐบาลจีนต้องใช้ระยะเวลาในการจัดการย้ายผู้คนออกจากพื้นที่นานกว่า 17 ปี (Reuters, AUGUST 23, 2012) เฮียขวัญชัยเล่าให้ฟังว่าแต่ละเมืองต้องรับผิดชอบในการหาสถานที่อยู่ใหม่พร้อมอาชีพรองรับคนที่ต้องย้ายถิ่นฐาน อย่างน้อยเมืองละ 100,000 คน
แบบจำลองเขื่อน
ด้วยงานอภิมหาโปรเจ็คตั้งแต่มีมนุษยชาติเกิดขึ้นมาในโลกใบนี้ของคนมากกว่า 1.35 ล้านคน ที่ต้องมีการจัดการทั้งสถานที่ทั้งอาชีพทั้งเงินชดเชย จึงทำให้เกิดช่องทางในการหลุดลอดของงบประมาณจำนวนมหาศาล และหลายคนที่ได้ค่าชดเชยแล้วยังได้ทำการขายบ้านมี่รัฐจัดให้ไปแล้วย้ายกลับมาอยู่ใกล้ถิ่นฐานเดิมที่ถูกน้ำท่วมไปแล้ว
รัฐบาลจีนสร้างเมืองใหญ่ให้ผู้อพยพ
ผลกระทบอีกอย่างที่เกิดขึ้นคือ ทำให้อาชีพคนลากเรือสำเภาต้องหายไปด้วย แม้ว่ารัฐบาลจีนจะเป็นคอมมิวนิสต์ แต่เขาก็ไม่ได้ทำการบังคับขับไล่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แต่ใช้วิธีเจรจาและให้ค่าชดเชยสร้างบ้านและสถานที่อยู่ให้ใหม่ รวมทั้งสร้างเมืองใหม่เกิดขึ้นมาด้วย
รัฐบาลจีนทำการอพยพผู้คนมากกว่า 1.35 ล้านคน ที่ไม่เคยมีที่ใดในโลกทำได้มาก่อนด้วยจำนวนผู้คนขนาดนี้ นอกจากจะทำการชดเชยสร้างที่อยู่ใหม่ให้ รัฐบาลจีนยังได้ทำการสร้างเมืองใหม่พร้อมสร้างอาชีพสร้างงานให้ด้วย
ในบรรดา 6 เขื่อนที่สร้างขึ้นเพื่อกั้นน้ำในแม่น้ำแยงซีเกียงไว้นั้น เขื่อนซานเสียนต้าป้าหรือเขื่อนสามผาเป็นเขื่อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังเป็นเขื่อนเอนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
อีกจุดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
สันเชื่อนกว้าง 115 เมตร มีความยาว 2,335 เมตร สูง 185 เมตร มีเครื่องสร้างกระแสไฟฟ้าจำนวน 32 ตัว ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 22,500 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็น 10%ของการผลิตไฟฟ้าของประเทศจีน มีพื้นที่รับน้ำ 1,000,000 ตร.กม. หรือประมาณ 2 เท่าของพื้นที่ประเทศไทย
เมืองที่สร้างขึ้นใหม่
ลองคิดดูว่าถ้าหากเป็นประเทศอื่นจะทำได้หรือไม่ หากจีนต้องกู้เงินมาสร้างเชื่อว่าคงไม่สามารถที่จะทำการย้ายคนได้มากมายขนาดนี้แน่นอนและขนาดของเขื่อนก็คงจะต้องเล็กลงกว่านี้ นี่จึงคือหน้าประวัติศาสตร์ของโลกกับการอพยพผู้คนที่มากที่สุดในโลกเท่าที่เคยปรากฏมา
ผลจากการสร้างเขื่อนคือการท่องเที่ยว
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการเดินทาง
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization Marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
หากชื่นชอบและถูกใจบทความนี้ ฝากกด Like กด Share และติดตามเป็นกำลังใจให้กันด้วยนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา