5 ธ.ค. 2019 เวลา 04:15 • ธุรกิจ
การวางแผนทางการกินจะทำให้ท่านบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ไวขึ้น!!!
วันนี้ผมจะมาทำให้ทุกท่านบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ไวขึ้น
ก่อนอื่นผมขอตั้งคำถามเล็กๆครับว่า
1
ทุกวันนี้ท่านจ่ายเงิน "ค่าอาหาร" วันละเท่าไหร่ ?
.
ผมจะทำให้ทุกท่านบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ไวขึ้นโดยการประหยัดค่าอาหารไปได้มากกว่า 30% ขึ้นไป
และผมขอตั้งบทความนี้ในชื่อว่า "การวางแผนการกิน" ครับ
.
ค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายหลักที่เราต้องพบเจอในแต่ละวัน
ผมจะลองสมมติตัวเลขค่าใช้จ่ายในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อให้ท่านดูกันครับ โดยปรกติแล้วเราก็จะทานอาหารมื้อละ 60 บาท 100 บาท 120 บาท หรือ เราอาจจะสั่ง lineman ในแต่ละครั้งก็นับเป็นเงินที่ค่อนข้างมากเลยทีเดียว
*สิ่งที่ทำให้ค่าอาหารผ่าน lineman แพงคือ เรากำลังจ่ายเงินเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย
จริงๆค่าใช้จ่ายเหล่านี้เราสามารถที่จะลดมันได้ในระดับที่ท่านนึกไม่ถึงเชียวล่ะครับ
เรามักจะได้ยินคำว่า การวางแผนการเงิน การวางแผนการใช้ชีวิต
ส่วน"การวางแผนทางการกิน" ที่ผมกำลังจะพูดให้ทุกท่านฟังนี้มันเชื่อมโยงกับทั้งสองหัวข้อข้างต้น
เมื่อท่านมี "การวางแผนทางการกิน" ที่ดีแล้ว ท่านจะสามารถเก็บออมเงินได้มากขึ้นแน่นอนครับ (เรื่องกินไว้ใจผม)
ผมก็เลยออกแบบโครงสร้าง การวางแผนทางการกิน ขึ้นมาเพื่อที่จะทำให้ผมสามารถนำเงินที่เหลือจากค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหาร ไปทำอย่างอื่นได้มากขึ้น
ขั้นตอนง่ายๆสำหรับ "นักวางแผนทางการกิน" มือใหม่
แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1. วางแผนการจ่ายตลาด
2. การเก็บรักษา
3. ทำอาหารด้วยตัวเอง
1
4. ยืดอก พกกล่อง
1. การวางแผนการจ่ายตลาด
บางท่านอาจจะรู้สึกว่าการจ่ายตลาดเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะต้องไปหลายครั้ง ไหนจะเดินทาง ไหนจะอะไรอื่น
จริงๆแล้วขั้นตอนนี้ หากเรามีการวางแผนดีๆ เดือน 1 อย่างมากเราสามารถออกไปจ่ายตลาด แค่ 2-3 ครั้งก็เพียงพอแล้วครับ
เทคนิคคือ เราต้องวางแผนซื้อวัตถุดิบทั้งหมด "ในครั้งเดียว"
"เนื้อสัตว์" เราสามารถซื้อมาครั้งเดียวสำหรับปริมาณ 1 อาทิตย์ หรือ 1 เดือน แล้วใส่ช่องฟรีสเพื่อแช่แข็งมันไว้ เมื่อเราจะใช้ค่อยนำมาละลาย
"ผัก" หากเก็บอย่างถูกวิธี ระยะเวลาในการเก็บจะมากกว่า 1 อาทิตย์
"เครื่องปรุง" ซื้อของที่ใช้บ่อยๆครั้งเดียว แล้วเก็บไว้ในที่แห้ง
2. การเก็บรักษาวัตถุดิบในการทำอาหาร
ในชีวิตที่ผ่านมาผมมักจะพบปัญหาว่าของกินที่ผมเก็บไว้ในตู้เย็น บางครั้งมันหมดอายุก่อนที่ผมจะทันได้กิน หรือบางครั้งก็ซื้อเพิ่มเข้ามาแล้วใส่ไว้ในตู้เย็นกะว่าจะเก็บไว้กินในภายหลัง
ไปๆมาๆก็ซื้อของใหม่เข้ามาเพิ่มจนผมลืมมันไปเลยครับ
ดังนั้นอยู่มาวันหนึ่งผมก็นึกขึ้นมาได้ว่า ถ้าเราใช้หลัก "ZERO WASTE"
(ลดการสูญเปล่าของวัตถุดิบ)ในการบริหารการกินมันน่าจะช่วยประหยัดเงินไปได้เยอะ
ผมเลยไปศึกษาเรื่องวิธีการถนอมอาหารให้ได้นานที่สุดและสามารถใช้ได้อย่างสะดวก เป็นปรกติในชีวิตประจำวัน
ที่ไปดูมาก็มีทั้งถุงสุญญากาศ ต่างๆมากมาย จนมาจบที่ กล่องถนอมอาหาร ซึ่งมันตอบโจทย์ในการใช้ระยะยาว
ส่วนใหญ่ของที่เราใส่ไว้ในตู้เย็นปัญหาอย่างหนึ่งเลยของมันก็คือ
ถ้าเราเก็บไว้ "ในรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง" อายุมันจะสั้น
เช่น ผมซื้อผักเข้ามาแต่ถ้าผมใช้ถุงพลาสติกมัดปากถุงแล้วใส่เข้าไปในตู้เย็นหลังจากล้างเสร็จทันที อายุในการเก็บรักษาผักเราก็จะเก็บได้ไม่กี่วัน
1
ดังนั้นการถนอมวัตถุดิบที่ดีคือ เมื่อเราล้างทำความสะอาด รวมถึงแช่ผักเพื่อกำจัดพวกพยาธิเสร็จแล้ว
เราต้องพักเอาไว้ให้แห้ง
"เนื้อสัตว์" จะไม่ซีเรียสเท่าไหร่ เพราะอย่างไรเสียเราก็นำมันไปแช่ในช่องฟรีซอยู่ดี ใส่กล่องให้เรียบร้อย แล้วแช่ในช่องฟรีซ เวลาจะนำมาใช้งาน ก็นำออกมาตั้งไว้ใน ชั้นธรรมดา ทิ้งไว้สัก 6- 10 ชั่วโมง (ตั้งไว้ตอนกลางคืน วันรุ่งขึ้นก็พร้อมใช้งาน)
"ผัก" เมื่อเราพักผักเอาไว้ให้แห้ง เราก็นำมาใส่กล่องที่มีตะแกรงรองไว้ เพื่อให้น้ำที่ยังค้างอยู่หลังจากเราแช่ผัก ไม่สัมผัสกับตัวผักโดยตรง
เท่านี้เราก็มีผักสดกิน โดยที่สามารถเก็บมันได้มากกว่า 1 อาทิตย์แล้วครับ
จากนั้นก็จัดระเบียบตู้เย็นใหม่ ตู้เย็นที่บ้าน ก็จะมีลักษณะประมาณนี้ครับ กล่องๆ จัดไว้ตามส่วน เวลาจะใช้ก็หยิบจับมาใช้ได้โดยง่าย
3. ทำอาหารด้วยตัวเอง
จุดนี้ลองหัดทำกันดูนะครับ อย่างน้อยการที่เราทำอาหารด้วยตัวเอง ก็จะทำให้เราทราบว่า เราทานอะไรเข้าไปบ้าง
ทุกวันนี้ผมใช้เวลาทำกับข้าว 3 อย่างพร้อมบรรจุกล่อง ในเวลาไม่เกิน 20 นาที
อันที่จริงแล้วเราสามารถทำอาหารแล้วนำไป frost ไว้ หลังจากนั้นค่อยนำมาอุ่นเพื่อความรวดเร็วได้ครับ หลักการเดียวกับอาหารกล่อง 7
ตอนเก็บก็แยกข้าวสวย 1 กล่อง
อาหารที่เป็นน้ำ 1 กล่อง
อาหารแห้ง 1 กล่อง
4. ยืดอก พกกล่อง
พกไปกินในที่ทำงานครับไม่ต้องเขิน สมัยนี้มีกล่องพับได้ อย่างพวกกล่องซิลิโคนนี่ยิ่งสะดวกเข้าไปใหญ่ ตอนเก็บก็ง่าย
https://images.app.goo.gl/DoBYDz2V2DMARcEMA
เงินที่เราสามารถลดค่าใช้จ่ายออกไปได้ สามารถนำมันไปลงทุนในส่วนอื่นต่อสบายๆครับ หากตู้เย็นไม่พอก็ซื้อมาเพิ่มซักตู้ ผมมั่นใจครับว่า ในระยะยาว ค่าตู้เย็นใหม่+ค่าไฟ ยังไงก็ถูกกว่าค่าอาหารรายปี
หากมองในระยะสั้น หลักเดือน เราอาจจะไม่เห็นเม็ดเงินที่เราประหยัดได้มากเท่าไหร่ แต่เมื่อวัดกันในหลักปีแล้ว ท่านจะต้องตกใจแน่นอนครับ
วันหยุดกับบทความสบายๆ หวังว่าจะทำให้ทุกท่านได้รับประโยชน์กันครับ
ขอบพระคุณที่คอยติดตามและสนับสนุนหมูน้อยเสมอมา
ฝากกด like กด share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
รัก
หมูน้อย
Reference การถนอมอาหาร

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา