8 ธ.ค. 2019 เวลา 03:59 • การศึกษา
"8 นิสัย ที่ทำให้แต่ละชนชาติมีความแตกต่างกัน" ตอนที่ 3 (ตอนจบ) ...
นักดนตรีที่ Prague, Czech-- เด็กๆ ใน Lalibella, Ethiopia--ถนนค้าขายใน Fez, Morocco-- คนเรียกรถใน Lapaz, Bolivia
ครั้งหนึ่งผมต้องบินด่วนไปประชุมด่วนที่บอสตัน ประเทศอเมริกา โดยผมใช้เวลาที่รวมทั้งเวลาบินและต่อเครื่องประมาณ 20 ชั่วโมงนิดๆ จากเมืองไทย
คือไปถึงตอนเช้าจากนั้นก็ได้แค่หวีผมและแปรงฟันที่ห้องน้ำในสนามบิน และก็นั่งแท็กซี่ไปที่ประชุมทันที โดยใช้เวลาประชุม 2 ชั่วโมงกว่าๆ และก็ต้องยอมรับนะครับว่าเป็นการประชุมที่จริงจังและมีประสิทธิภาพมาก.. ผลของการประชุมก็เป็นไปได้ด้วยดี...
เมื่อประชุมเสร็จตอนประมาณเที่ยงครึ่ง ทุกคนลุกขึ้นยืนจับมือแล้วก็บอกลา " Good bye" อย่างชื่นมื่น...
1
แต่....แวบนึงที่เข้ามาในหัวผม......
"กรูบินมา 20 กว่าชั่วโมงเพื่อเจอพวกมรึง ....พวกมรึงจะไม่ชวนกรูแดรกข้าวเลยหรา..." ผมคิดในใจด้วยความสุภาพครับ🤣🤣🤣
Boston, USA
และในเวลาห่างกันไม่ถึงเดือนผมก็ต้องเดินทางอีกเพื่อไปประชุมอีกที่เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) ประเทศจีน
ซึ่งเป็นการประชุมที่อาจใช้เวลายืดเยื้อไปสักหน่อยแต่ผลลัพท์ออกมาก็ดีและมีประสิทธิภาพเช่นกัน...
และเมื่อเลิกประชุม ก็มีการนัดแนะทานอาหารเย็นกัน
.......ครั้นเมื่อถึงเวลาอาหารเย็น.......
มหกรรม "รู้จักสหายด้วยสุรา" ก็บังเกิดขึ้น เหล่านักธุรกิจต้องสวม "วิญญาณจอมยุทธและวิญญูชน" เพื่อประลองยุทธด้วยไหเหล้า พร้อมเล่าเรื่องยุทธภพที่พบพานรวมถึงร่ายกวีที่ชื่นชอบ.....
ซึ่งก็ทำให้เหนื่อยมาก แต่ก็ได้อะไรเยอะจากการ "รู้จักสหายด้วยสุรา"....😁😁😁
เพราะการได้พูดคุยนอกเวลางาน การได้แสดงความคิดเห็นและเรื่องเล่าส่วนตัว ก็จะทำให้รู้จักกันมากขึ้น เนื่องจากการทำธุรกิจของชาวจีน และชาวเอเซียอื่นๆ ความเชื่อใจด้วยการรู้จักกันจริงๆ นั้นมีความสำคัญมากกว่าเอกสารหรือสัญญาที่เซ็นกันครับ...
ภาพแรกจาก Google ที่เหลือ คือภาพจอมยุทธ worn ท่องโลกสุรา🤣🤣🤣🤣
ดังนั้นวัฒนธรรมการรู้จักกัน...นอกจากการพบปะเเบบพิธีการ (official meeting) ก็เป็นเรื่องสำคัญของชาวเอเซีย ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ไทย และอื่นๆ และยังรวมถึงชาวยุโรปใต้และประเทศในละตินอเมริกาอีกด้วย
Rio, Brazil -- Lucca, Italy-- ร้าน Kaiseki ใน Tokyo, Japan ที่คู่ค้าเลี้ยง...
นั่นก็คือนิสัยที่ 7 การเชื่อใจ (Trusting)...
Trusting from Erin Meyer s Book
เมื่อมาดู Scale ก็จะเห็นว่าความเชื่อใจของคนเอเซียส่วนใหญ่ รวมถึงชาวยุโรปใต้และชาวละตินอเมริกาจะมีความโน้มเอียงแบบความสัมพันธ์ (Relationship Base) คือต้องรู้จักกันจริงๆๆ
ในส่วนของชาวยุโรปเหนือและกลาง รวมถึง อเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย นั้นความเชื่อใจเกิดจากแบบตัวเนื้องานจริงๆ (Task Base) คือจะเห็นตัวเนื้องาน ข้อตกลง และสัญญาที่เป็นรูปธรรม
Copenhagen, Denmark-- Stockholm, Sweden--- Budapest, Hungary
คนสังคม Task base เขาไม่ได้หมายถึงไม่มีความสัมพันธ์เลยนะครับ แต่แค่สำคัญไม่เท่ากันครับ
..ที่สำคัญเราต้องหาสมดุลครับ..
เพราะในสังคม Relationship base ก็มักเกิดปัญหาเล่นพรรคเล่นพวก จนถึงคอรัปชั่น ได้ง่าย.... และนี่ก็เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมในฝั่ง Relationship base
และนี่ก็เป็นปัญหามากจริงๆๆ
Sofia, Bulgaria and St Petersburg, Russia
ในทางกลับกันสังคมแบบ Task base ก็เกิดปัญหาฟ้องร้องมากมาย งานไม่เดินหรือสะดุดและล่มบ่อยครั้ง...คนพยายามมองแต่ข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม และมองตัวเองเป็นหลักเพราะไม่รู้จักกันจริงๆ
ดังนั้นปัจจุบันประเทศที่เป็นสังคมแบบ Task Base ก็พยายามสอนให้คนเข้าใจเรื่องความเชื่อใจ (Trust) โดยมีสมการของการสร้าง Trust ขึ้นมาสอนกันเลยทีเดียว
Trust equation from Trusted Advisor
จะเห็นว่า "สมการของความเชื่อใจ (Trust): = ความน่าเชื่อถือ (Creditability) + การยอมรับ (Reliability) + มิตรภาพ (Intimacy) มารวมกัน แล้วมาหารด้วย ความเห็นแก่ตัว (Self Orientation)...
และการยอมรับและมิตรภาพซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมการของความเชื่อใจ (Trust) ก็จะเกิดได้จากการรู้จักกัน ไม่ใช่แค่เอกสารครับ....
นอกจากนี้การที่ไม่รู้จักกันหรือเป็นมิตรกันจริงๆ ก็ทำให้คนมีความเห็นแก่ตัวสูง ซึ่งทำให้มีปัญหามากกว่าในสังคมแบบ Task base....
Toronto, Canada and Ho Chi Minh, Veitnam
มาถึงนิสัยสุดท้ายครับ...
8. การจูงใจ หรือ การนำเสนอ (Persuading)
จะเห็นว่าการจูงใจจะแแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. แบบ Concept- first ซึ่งก็คือกลุ่มที่จะทำอะไรต้องเข้าใจหลักการและทฤษฎีก่อน ถึงจะลงมือทำหรือนำเสนอข้อเท็จจริง
เช่นถ้าคุณทำงานกับพวกเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี หรือ รัสเซีย.. คุณอาจต้องเล่าทฤษฎีและที่มารวมถึงความน่าจะเป็นก่อน ที่จะนำเสนองานหรือโปรเจ็คนั้นๆ
Persuading from Erin Meyer s Book
2. แบบ Application-first ซึ่งก็คือกลุ่มที่จะทำอะไรก็จะนำเสนอข้อเท็จจริงและมาถกเถียงอธิบายกันก่อน แล้วค่อยหาทฤษฎีมาประกอบเหตุผล..
อย่างเช่นถ้าเราทำงานกับ ชาวอังกฤษ อเมริกา ออสเตรเลีย และ แคนาดา เราอาจจะต้องเสนอข้อมูลเป็นบทสรุปข้อเท็จจริง และมีวิธีปฏิบัติ..
ส่วนทฤษฎีอาจใช้เป็นเพียงข้อมูลเสริมเท่านั้น
จิงโจ้ในสวนสัตว์ที่ Australia กับหมีขาวในสวนสัตว์ที่ เยอรมัน
คือสมมติว่าคุณทำงานบริษัทฝรั่งแล้วคุณจะต้องเสนอเรื่องการมา "เปิดสำนักงานในไทย"....
ถ้าเป็นแบบ Concept- base อย่างเยอรมัน ฝรั่งเศสและอิตาลี: คุณอาจต้องเล่าประวัติเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงของไทย ก่อนว่ามีความเสี่ยงแค่ไหน
แล้วค่อยพูดถึงกระบวนการว่าจะทำอย่างไรถึงจะมาเปิดสำนักงาน ข้อดีข้อเสียการมาตั้งสำนักงาน รวมถึงข้อกฎหมายต่างๆ ของไทย
แต่ถ้าเป็นแบบ Application- base อย่างอังกฤษ ออสเตรเลีย อเมริกา: คุณต้องเล่าว่าข้อดีข้อเสียการมาตั้งสำนักงาน รวมถึงข้อกฎหมายต่างๆ และกระบวนการเปิดสำนักงานเป็นอย่างไร
ส่วนประวัติเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงของไทยนั้นมีไว้ใช้ประเมิณความเสี่ยง แล้วดูว่ามีแผนสำรองได้หรือไม่...
ขับสามล้อในสะหวันเขต, ประเทศ Lao กับเล่นเครื่องดนตรีพื้นเมืองใน ประเทศ Tajikistan
อ้าว!!! คนเอเซียเราเป็นแบบไหน?? ทำไมบน Scale ไม่มีประเทศในเอเซียเลยหล่ะ???
ใช่ครับ ไม่มีใน Scale.....ครับ.
เพราะจากการศึกษาพบว่าชาวเอเซียมีวิธีการจูงใจ หรือนำเสนอจะเป็นแบบองค์รวม "Holistic Thinking" ซึ่งไม่เหมือนกับชาวตะวันตก
ฝั่งซ้ายแบบ Linear Thinkink ที่ชาวฝรั่งคิด ฝั่งขวาคือแบบ Holistic Thinking ที่ชาวเอเซียมักเป็น
เนื่องจากมุมมองของชาวเอเซียจะผสมผสานระหว่างผลประโยชน์ในระยะสั้นและยาว ส่วนตัวและความสัมพันธ์ส่วนรวม ข้อมูลและความเชื่อมโยงอื่นๆ...
ทำให้วิธีการนำเสนอและวิธีคิดของคนเอเซียจะเป็นแบบภาพผสมไปหมด หรือ อีรุงตุงนัง เลยครับ ซึ่งหลายครั้งชาวยุโรปจะไม่เข้าใจชาวเอเซียเช่นกัน ใน เวลาที่ชาวเอเซียจะอธิบายอะไรบางอย่าง..
วิธีคิดชาเอเซีย vs ยุโรป จาก กูเกิล
Linear and Holistic Thinking จาก กูเกิล
ถ้าจะยกตัวอย่างก็จะยากนิดนึงครับ.... ผมเลยอยากให้ผู้อ่านให้ดูภาพด้านล่างนี้ ว่าคุณเห็นอะไร?? ใช้เวลาคิดนิดนึงนะครับ..
ภาพจาก Erin Meyer
....
ถ้าเป็นชาวยุโรปก็มักจะบอกว่าเห็นปลา... ปลาตัวใหญ่ ... ปลาตัวใหญ่ ..... ปลาว่ายน้ำเร็ว
....
ถ้าเป็นชาวเอเซียก็มักจะสงสัยว่า ทำไมมี "กบ" อยู่ในนั้นด้วย?? มีหอยด้วย?? แล้วอาหารที่กินเหมือนกันมั๊ย??
นั่นคือความแตกต่างกันของ Holistic Thinking กับ Linear Thinking...
ถ้าดูตัวอย่างใกล้ตัวเรา เราก็จะเห็นว่าถ้าเราถามหรือชวนใครไปไหน... แล้วคำตอบถ้าไม่ค่อยอยากไปจะ ออกมาเป็น "ไม่แน่" ....
เพราะว่าคนที่ตอบจริงๆแล้วไม่อยากไป.... แต่การตอบ "ไม่แน่" เนื่องจากเป็นการตอบที่เผื่อการเปลี่ยนแปลงไว้ก่อน...
ไปไม่ไป เก็บผัก🤣🤣🤣
เนื่องจากไว้ดูท่าทีของผู้ถามว่ามีท่าทีอย่างไร และคำตอบอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับท่าทีของผู้ถาม..
บางครั้งการตัดสินใจอาจไม่เป็นไปตามใจที่อยากทำ แต่เพราะต้องการรักษาน้ำใจไว้เลยต้องทำ.... และ
"ความเกรงใจ" ก็เกิดขึ้น.
"ความเกรงใจ" แบบคนเอเซียนี้เองก็เป็นแบบเฉพาะที่ชาวยุโรปไม่มีและไม่เข้าใจ เพราะความเกรงใจแบบเอเซียเป็นผลพวงของ Holistic thinking แบบชาวเอเซียที่ชาวตะวันตกไม่มีนั่นเอง...
เพราะถ้าเป็นชาวยุโรป ..ถ้าไม่อยากไปก็ตอบ "ไม่" อยากไปก็ "โอเค".... และไม่มีเกรงใจ เพราะไม่ได้มี ระบบคิดแบบผลพวงต่อเนื่อง หรือผลกระทบในความสัมพันธ์ในภายหลังครับ...
Tirana, Albania--Muscat, Oman--Kigali, Rwanda--Mae Hong Son, Thailand
ทั้งหมดก็จะเห็นว่านิสัยและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศก็จะแตกต่างกันออกไป
ดังนั้นการที่เราเข้าใจความแตกต่างก็จะทำให้เข้าใจ ทำงาน ติดต่อสื่อสาร หรือไปเที่ยว ได้ง่ายขึ้น ได้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการงานหรือติดต่อสื่อสารมากขึ้น และไม่ต้องหงุดหงิดครับ
Erin Meyer s Book
ที่สำคัญไม่มีวัฒนธรรมแบบไหนดีกว่ากัน เพราะทุกอย่างมีดีมีเสีย เราเรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจและปรับตัวครับผม...
และสิ่งที่ควรระวังคือบางคนคิดว่า นิสัยแบบยุโรปดีกว่าเลยทำให้ประเทศเจริญกว่า..."มันไม่จริงนะครับ:..
บริบทของความเจริญมันขึ้นอยู่กับที่มาทาง ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ สังคม การเมือง และอื่นๆ
เอาไว้ผมจะมาเล่าให้ฟังนะครับว่า "ทำไมวันนี้ยุโรปเจริญ??" ในมุมมองของ Tim Marshall นักสื่อสารมวลชนชาวอังกฤษที่เขียนหนังสือ "Prisoners of Geograhy" นะครับ
หวังว่าบทความซีรีย์นี้จะเป็นประโยชน์นะครับผม
#wornstory
โฆษณา