7 ธ.ค. 2019 เวลา 12:25 • ธุรกิจ
วิเคราะห์กองทุนรวมแบบใหม่ SSF : Super Savings Fund
วิเคราะห์ถึงโครงสร้างกองทุน SSF แบบมองถึงความเป็นไปได้
ที่กองทุนนี้จะส่งผลต่อการลงทุนของเราอย่างไรได้บ้าง
สไตล์ หมูน้อยออมเงิน
.
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562
กระทรวงการคลัง ได้มีมติสำหรับหลักเกณฑ์ของ กองทุนในรูปแบบใหม่ ที่จะมาแทนกองทุน LTF ที่เราคุ้นเคยกันดี โดย กองทุนใหม่นี้เปิดตัวในชื่อ
"กองทุนรวมเพื่อการออม Super Savings Fund : SSF"
เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมี "การออมระยะยาวมากขึ้น"
เนื่องจากบทความค่อนข้างยาว ผมจึงแบ่งโครงสร้างบทความเป็น 5 ส่วนดังภาพด้านล่างครับ
1. Concept and Target
ก่อนอื่นผมข้อทบทวน หลักการของกองทุน LTF และ RMF ให้ทุกท่านได้ทำความคุ้นเคยกันอีกครั้ง
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ LTF : Long Term equity Fund เป็นกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เน้นการลงทุนในหุ้นโดยจัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ
"เพื่อสร้างเถียรภาพให้ตลาดทุน"
*โดยมีข้อบังคับหลักๆคือ กองทุน LTF จะต้องถือ หุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
โดยระยะเวลาในการถือ LTF ก็มีตั้งแต่ 5 ปี ปฎิทิน (ถือจริง 3 ปี)
7 ปี ปฎิทิน (ถือจริง 5 ปี)
.
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF : Retirement Mutual Fund
เป็นกองทุนรวม"ที่ส่งเสริมให้เกิดการออมเงินในระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายยามเกษียณอายุ"
ซึ่งกอง RMF มีระยะเวลาในการลงทุนที่ค่อนข้างยาวนาน(กว่าจะขายได้ก็ในยามที่เรามีอายุถึง 55 ปี ) ทำให้มีโอกาสที่จะโดนผลของภาวะเศรษฐกิจเล่นงานได้
1
ดังนั้นกองทุน RMF จึงต้องมีความยืดหยุ่นสูงกว่ากองทุน LTF สามารถลงทุนในสินทรัพย์ได้แทบจะทุกประเภท ไม่จำกัดว่าจะเป็นหุ้นเพียงอย่างเดียว สามารถลงใน
สินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ อย่างตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล
สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลางอย่าง ตราสารหนี้ภาคเอกชน
สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงอย่างพวก หุ้นกู้
1
ไม่จำกัดสัดส่วนว่าจะต้องมีสัดส่วนในการถือสินทรัพย์ประเภทใดเท่าไร
.
โดยทางรัฐบาลก็ได้ให้สิทธิ "ลดหย่อนภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจ" ให้ประชาชนทั่วไปได้หันมาลงทุนกันมากขึ้น
1
โดยมีข้อกำหนดหลักๆดังรูปด้านล่าง
.
หลังจากที่ได้อ่านกันแล้ว ทุกท่านคงได้ข้อสรุปเดียวกันกับผมว่า
กองทุน LTF มีข้อกำหนดในการถือน้อยกว่า ระยะเวลาถือว่าไม่นานมาก
1
ในขณะที่กองทุน RMF มีระยะเวลาในการถือที่ยาวนานทำให้ขาดความน่าสนใจไปบ้าง
2
*แต่สิทธิของ RMF ในบางส่วนมีความได้เปรียบมากกว่า LTF เยอะครับ
และมีความยืดหยุ่นในการลงทุนสูงมาก ทำให้สามารถสร้างกลยุทธ์ในการลงทุนได้หลากหลายกว่า
.
เมื่อเราใช้สิทธิลดหย่อนจาก LTF และ RMF อย่างเต็มที่วงเงินที่สามารถนำมาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้อยู่ในวงเงินที่สูงเชียวล่ะครับ
แต่ ตัวเลข 1 ล้านบาทที่ท่านเห็น
*มันไม่ได้หมายความว่า
ถ้าปี 62 เบ็ดเสร็จแล้วผมต้องเสียภาษีให้รัฐทั้งสิ้น 2 ล้านบาท ผมจะสามารถหักเหลือ 1 ล้านบาทได้นะครับ
มันจะเอาไปหักใน"รายได้สุทธิ" อีกที
ผมจะขอยกตัวอย่างการคำนวณภาษีอย่างง่ายให้ท่านได้ดูกันครับ
.
1
เจ้า 100,000 กับ 60,000 เราสามารถหักได้ทุกครั้งเป็นพื้นฐานไม่ว่าจะมีเงินเดือนเท่าใดก็ตาม
.
ดังนั้นเมื่อผมซื้อ LTF และ RMF เต็มวงเงินที่ 1 ล้านบาท ตอนที่คำนวณภาษีจะนำยอด 1 ล้านไปหักออกจากเงินได้สุทธิ
ทำให้ผมเสียภาษีน้อยลง 350,000 บาท
---- ทีนี้เรามาลองดูข้อกำหนดผลประโยชน์ทางภาษีหลังจากที่มี SSF และ RMF ตัวใหม่เข้ามากันครับ
.
หลังจากที่ได้อ่านแบบนี้ท่านน่าจะพอจะมองภาพออก ว่า
เจ้าตัว Super Savings Fund:SSF มันก็คือ RMF Version ย่อส่วน
แถมวงเงินที่นำมาใช้ในการหักลบดันน้อยกว่าเดิมครึ่งนึง!!!
เพราะมันนำ กองทุน SSF กับ RMF รวมถึงกองทุนอื่นๆ มารวมกันแล้วยอดต้องไม่เกิน 5 แสนบาท !!!!!
.
เรามาลองดูเมื่อมี SSF กับ RMF แบบใหม่เข้ามาการคิดภาษีจะเปลี่ยนไปอย่างไร โดยที่ผมจะใช้ข้อมูลชุดเดิมมาคำนวณ
.
.
สรุปคือถ้าผม เป็นคนที่มีรายได้สุทธิอยู่ในระดับสูง ผมต้องจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น
175,000 บาท !!!
สมดังเจตนาของผู้ออกแบบกองทุนนี้เลยครับว่า
“ออกมาเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางถึงรายได้น้อย และผู้ที่เริ่มต้นทำงานได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่”
(ในขณะเดียวกันก็ขอเก็บภาษีพวกรายได้สูงๆเพิ่มหน่อยเถอะ)
อันที่จริงนโยบายนี้ส่วนตัวแล้วก็คิดว่าค่อนข้างดีนะครับ สามารถลดทอนความได้เปรียบของผู้มีรายได้ในระดับสูงลงมาส่วนหนึ่ง แต่เมื่อรายได้ระดับสูงมากพอ ตัวเลขนี้จะไม่มีนัยยะเท่าไหร่ แต่คงจะรู้สึกปวดใจพอสมควร
สิ่งที่ทำให้ความดีทั้งหลายของนโยบายถูกบดบังไปเสียสิ้นสำหรับผมแล้วคือ "ระยะเวลาในการถือที่นานถึง 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ"
หากผู้ซื้อไม่สามารถใช้ประสิทธิภาพของกองนี้ได้อย่างเต็มที่โอกาสที่สูญเสียไปจะมีมูลค่าที่มากมายมหาศาลเลยทีเดียว
2. ข้อดีของ SSF
ข้อดีของกอง SSF ที่ผมเห็นแล้วชอบทันทีก็คือ มันสามารถลงทุนในทรัพย์สินได้ทุกประเภท (แน่นอนเลยครับ เพราะมันเป็น RMF ย่อส่วนถึงจะไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปีก็ตาม)
.
เราจะได้เห็นกองทุนที่มีความหลากหลายมากขึ้นแน่นอนครับ ในเมื่อไม่จำเป็นต้องถือหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
อีกต่อไปแล้ว
1
เราอาจจะได้เห็นกองทุนที่มีการลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีของอเมริกา(อาจจะเอาไปลงในบริษัทที่ผลิตยา อวัยวะเทียม หรือแม้กระทั่งเนื้อเทียมที่ทำจากพืช) หุ้นจีน ตราสารหนี้ความเสี่ยงสูง ค่าเงินในบางประเทศ หรือสินทรัพย์เฉพาะทางอื่นๆ
มาเป็นส่วนผสมของกองทุนที่จะเปิดขายกันมากขึ้น ซึ่งจุดนี้จะทำให้เราเข้าถึงโอกาสได้หลากหลายช่องทางกว่าเดิม
*ไม่ได้มีเพียงเฉพาะที่ปรากฏในภาพครับ
3.กลยุทธ์และการประยุกต์ใช้งาน
สำหรับท่านที่ติดตามผมมาตั้งแต่แรก ท่านยังจำเรื่องที่ผมเปรียบเทียบกองทุนแต่ละกอง เป็น กองทัพที่มีความเชี่ยวชาญในการรบ ที่แตกต่างกันได้หรือเปล่าครับ ผมจะยกตัวอย่างการใช้งานจริงที่เกิดขึ้นให้ทุกท่านได้เห็นภาพกันคร่าวๆ
สมมติว่ามีธนาคาร อยู่ 3 ธนาคารที่ออกกองทุนในรูปแบบต่างๆมาให้เราได้เลือกสรร
.
โดยที่
ธนาคาร A ถนัดในการ ลงทุนต่างประเทศ เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงมากตามไปด้วย เหมาะกับช่วงที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว แนวโน้มเป็นขาขึ้น
ออกกองทุน A1 A2 A3 (โดยที่ A3 เป็นกองทุนที่เน้นการรักษามูลค่าสินทรัพย์ในยามที่ ตลาดมีความผันผวนหรือแนวโน้มเป็นขาลง)
.
ธนาคาร B ถนัดในการ ลงทุนในทวีปเอเชีย เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปานกลางถึงต่ำ มีความสามารถในการปกป้องเงินต้นอยู่ในระดับสูง เหมาะกับช่วงที่เศรษฐกิจโลกหดตัว แนวโน้มเป็นขาลง
ออกกองทุน B1 B2 B3 (โดยที่ B3 เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง เหมาะกับช่วงที่แนวโน้มเป็นขาขึ้น หรือ ตลาดมีความผัดผวนต่ำ)
1
.
ธนาคาร C ถนัดในการ ลงทุนในสินทรัพย์ เฉพาะทาง เช่น ทองคำ เงิน ถั่วเหลือง
ออกกองทุน C1 C2 C3
สมมติว่า
ในปี 2563 ผมมีเงินที่จะนำมาลงในกองทุน SSF จำนวน 200,000 บาทเต็มวงเงิน
และมองว่าในปี 63-65 มองว่าภาวะเศรษฐกิจโลกอยู่ในช่วงชะลอตัว ผมอาจจะเลือกแบ่งการลงทุนไปที่ กอง B1 150,000 ( 75% ของวงเงิน)
เพื่อรักษาเงินต้นไว้และอาจจะได้กำไรเพิ่มเล็กน้อยในช่วง 2-3 ปีนี้
ในขณะเดียวกันก็นำเงินอีก 50,000 บาท (25%) ไปซื้อกอง A2 ของธนาคารที่มีความถนัดในการ ลงทุนต่างประเทศ เน้นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงปานกลาง เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น
ในปี 2564 ภาวะเศรษฐกิจโลก กลับมาขยายตัวอีกครั้ง และผมมีงบ 200,000 บาท ในการซื้อกอง SSF เท่าเดิม
ผมจึงเพิ่มเงินลงทุน ซื้อกอง A1 ไปที่ 100,000 บาท (50% ของวงเงิน) เพื่อใช้เวลา 1 ปีในการประเมินแนวโน้มว่าจะเป็นขาขึ้นจริงหรือไม่ และผมใช้การ "สลับกองทุน SSF ในธนาคารเดียวกัน เพื่อไม่ให้ผิดเงื่อนไขในการลงทุน" ดึงเอายอด 50,000 จากปี 63 มาเพิ่มด้วย
และเพิ่มเงินลงทุน ซื้อกอง B2 ไปที่ 100,000 บาท (50% ของวงเงิน) เพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้นในขณะเดียวกันก็ยังมีความปลอดภัยมากกว่ากอง A1
ในปี 2565
.
.
.
จนกระทั่งถึงวันตาย ก็ยังคงใช้หลักการกระจายความเสี่ยงในการบริหารกองทุน SSF ที่ถืออยู่
*สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้เพราะว่ากองทุนและทีมผู้จัดการกองทุนในแต่ละกองอาจจะมีความถนัด รวมถึงข้อกำหนดในการลงทุนที่ไม่เหมือนกันครับ
ยกตัวอย่างให้ท่านเห็นภาพได้ชัดเจนสักเล็กน้อยนะครับ กอง LTF ที่ท่านถือมาตั้งแต่ปี 2557-2561 ที่มีผลงานเป็น + มากๆ ผลการดำเนินงานในปี 2562 นี้เป็นอย่างไรกันบ้าง
ในขณะเดียวกันเราก็เห็นบางกองที่เป็นม้านอกสายตา โผล่มาจากไหนไม่ทราบ กลับทำผลงานได้ดีในช่วงที่เทรนตลาดหุ้นเป็นขาลงไปซะงั้น
ดังนั้นระหว่างการภาวนาให้ตลาดหุ้นมันขึ้นเพื่อที่เงินลงทุนเราจะได้กลับมาเป็น + เยอะๆ กับการเลือกที่จะสับเปลี่ยนไปกองที่ทำผลงานได้ดีในช่วงตลาดขาลง อย่างหลังน่าจะง่ายกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับ จริต และ ประสบการณ์ในการลงทุนของแต่ละท่าน
การอยู่เฉยๆในระยะยาวแล้วอาจจะดีกว่าก็เป็นได้ครับ
4. ข้อเสียของกองทุน SSF
คือระยะเวลาในการถือที่ยาวนานถึง 10 ปี แต่...ท่านลองคิดดูดีๆนะครับว่าถ้าท่านซื้อทุกปี กองสุดท้ายที่ท่านซื้อ เวลาที่ท่านจะขายได้คือปีอะไร?
1
ระยะเวลา 20 ปี นานแค่ไหน
20 มันนานมากพอที่ลูกของท่านที่เพิ่งคลอด จะเรียนอยู่ มหาลัย ปี 2
20 ปีนานพอ ที่จะทำให้คนที่เล่น Pirch, ICQ MSN มาเล่น Facebook Line และ Instragram
20 ปีนานพอที่จะทำให้ไทยกลายร่างจากเสือตัวที่ 5 กลายเป็น ...​ (พญาอินทรี)
มันนานถึงขนาดนั้นเชียวล่ะครับ
5. SSF เหมาะกับใคร
ผมขอสรุปง่ายๆว่า กองทุน Super Savings Fund : SSF
เหมาะกับ
" คนที่มีเป้าหมายในการลงทุนระยะยาว
มีทัศนคติที่ดีกับการลงทุน
ใฝ่หาความรู้อยู่เป็นนิจ
มีความเข้าใจในเรื่องภาษี "
*และไม่ต้องกลัวว่าเหล่าคนที่มีรายได้สูงจะไม่ซื้อ SSF ครับ
ถึงแม้ในช่วงอายุที่ใกล้ๆ 55 อาจจะย้ายไปลงกอง RMF มากกว่า
แต่ถ้า SSF มันทำผลงานได้ดีมากพอ ยังไงก็ซื้อครับ เพราะสิ่งที่เขากลัวไม่ใช่ระยะเวลาในการถือ แต่คือ กองที่ถือจะกำไรรึเปล่า
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบทความในตอนนี้ ต้องยอมรับว่าผมมีความเครียดพอสมควรสำหรับการคิดว่าจะสื่อสารกับทุกท่านอย่างไรจึงจะเหมาะสม
เพราะในช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมานี้เราต่างได้ยินแง่ลบ และ แง่บวกของเจ้ากองทุนตัวใหม่นี้กันมามากเหลือเกิน
ผมจึงพยายามอธิบายถึงสิ่งที่มันจะเกิดขึ้นจริงๆให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจ
เพราะสิ่งนี้จะเป็นการเปลี่ยนเเปลงเชิงโครงสร้างอีกครั้งครับ
*หากในบทความมีจุดผิดพลาดประการใด สามารถชี้แนะ กันได้ครับ
ผมยินดีเสมอ
ขอบพระคุณทุกท่านที่คอยติดตามและสนับสนุนหมูน้อยเสมอมา
ฝากกด Like และ กด Share เพื่อเป็นกำลังใจให้ผมด้วยนะครับ
ขอบพระคุณมากครับ
รัก
หมูน้อย
*ผมอยากให้ทุกท่านได้อ่านเอกสารตัวเต็มจากกระทรวงการคลังด้วยครับ
อยู่ที่ Reference อันที่ 1 เพื่อทำความเข้าใจอีกครั้ง
reference
1. ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องข้อกำหนดกองทุนแบบใหม่
2. เครื่องมือในการคำนวณภาษี
3. ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน ตราสารทั่วไป
4. LTF คืออะไร
5. RMF คืออะไร
โฆษณา