8 ธ.ค. 2019 เวลา 09:56 • ประวัติศาสตร์
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
"ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ"
The Time x Biography
ผม The Time ขอเล่า
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
ท่านเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของประเทศไทย ที่เป็นหัวหน้านำคณะนายทหารข้าราชการ พลเรือน ที่รวมตัวกันในนาม "กลุ่มคณะราษฎร์" ที่เข้ายึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ
จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
และยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
ในเช้าวันทำการปฏิวัติ ท่านพระยาพหลบอกกับภรรยาของตนว่า
"การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินครั้งนี้ มิได้หมายจะช่วงชิงเอาราชบัลลังก์ หรือคิดจะล้มราชบัลลังก์แต่อย่างใดเลย
เพียงแต่ต้องการให้องค์กษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
และให้มีสภาการปกครองแผ่นดิน เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนคนธรรมดาได้แสดงความคิดเห็นในราชการบ้านเมืองได้บ้าง"
ชีวประวัติของท่านพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
ชื่อเดิมมีชื่อว่า "พจน์ พหลโยธิน"
เกิดวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2430 ที่จังหวัดพระนคร
1
บิดาชื่อ กิ่ม พหลโยธิน
มารดาชื่อ จับ พหลโยธิน
ภรรยาคือ คุณหญิงหลง พลพยุหเสนา
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์ เฟล เด ประเทศเยอรมันนี ด้วยทุนรัฐบาล
หลังจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัดกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2455
1
พันเอกพระยาพหลฯ ในกองทัพเยอรมัน
-หลังจากนั้นไม่นานก็กลับเข้ามารับราชการครั้งแรกประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 จังหวัดราชบุรี
-อีกสามปีย้ายไปประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร
-และย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2460
-ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2471
จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ท่านตัดสินใจเข้ารวมกับคณะราษฎร์เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง
วางแผนทำการในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่บ้านของร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี
1
คณะราษฎร์
เหตุที่ลงมือในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือ ร.7 เสด็จไปประทับที่วังไกลกังวล ณ หัวหิน ทำให้พระนครเหลือข้าราชการเหลือเพียงไม่กี่คนในกรุงเทพฯ
หลังจากยึดอำนาจเสร็จ คณะราษฎร์ก็ได้แต่งตั้ง "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา" เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารประเทศตามรัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. 2475
แต่ไม่นาน 3 เดือน เกิดความขัดแย้งกันในหมู่คณะรัฐมนตรีและคณะราษฎร์ ทำให้พันเอกพระยาพหลฯ ต้องกลับมาเป็นหัวหน้าคณะทหารเข้ายึดอำนาจรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
หลังจากนั้นท่านก็จัดตั้งรัฐบาลใหม่ และตั้งตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อคานอำนาจทางการเมืองและการทหาร
1
การบริหารประเทศภายใต้การนำของพันเอกพระยาพหลฯ ไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มนายทหารรุ่นเก่า กลุ่มขุนนางและกลุ่มเชื้อพระวงศ์บางท่าน ซึ่งสูญเสียอำนาจจากการปฏิวัติ พ.ศ. 2475
ทำให้พันเอกพระยาพหลฯ และดร.ปรีดี โดนกล่าวหาว่าเป็นพวกลัทธิสังคมนิยมหรือคอมมิวนิส ซึ่งเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์เป็นอย่างยิ่ง
จึงรวมกำลังทหารในต่างจังหวัด ก่อการกบฏขึ้น เรียกว่า "กบฏบวรเดช" หัวหน้ากบฏคือ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดชฯ
แต่ก็สู้ได้เพียง 3 วัน กลุ่มกบฏก็แตกพ่าย และพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดชฯ ต้องเสด็จหนีลี้ภัยไปอยู่ที่ อินโดจัน
กบฏบวรเดช
ตลอดการบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลพันเอกพระยาพหลฯ นั้นไม่ค่อยราบรื่นนัก เนื่องจากถูกสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรโจมตีในเรื่องความไม่สุจริต และถูกกล่าวหาว่ารัฐบาลบริหารแบบรวบอำนาจ ปราบปรามผู้ที่คัดค้าน
อีกทั้งยังเกิดความขัดแย้งในคณะรัฐมนตรี
1
ในที่สุดพันเอกพระยาพหลฯ ได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
คนที่มารับตำแหน่งต่อคือ "พันเอกหลวงพิบูลสงคราม เมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2481
พันเอกพระยาพหลฯ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นเลือดในสมองแตก เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2490 รวมอายุ 60 ปี
ท่านถูกจารึกชื่อว่าเป็นผู็กล้าของแผ่นดิน ในการยึดอำนาจและเป็นต้นแบบของการปฏิวัติ อีทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญของบรรดานายทหารที่มีความคิดเป็นประชาธิปไตย และไม่ยอมให้ชีวิตของตนนั้นอยู่ใต้อาณัติของผู้ใดนอกจากประโยชน์ของแผ่นดินเป็นที่ตั้ง
คำคมที่ท่านว่าไว้ก่อนตายคือ "ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ"
อ้างอิงจาก "หนังสือ 100 ตนผู้ทรงอิทธิพลแห่งสยามประเทศ"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา