16 ธ.ค. 2019 เวลา 12:39 • ปรัชญา
การพูดให้คนอื่นดูเลวร้าย
คนเลวร้าย.......ไม่ใช่คนอื่น
สำเนียง ส่อภาษา
กิริยา ส่อสกุล
ยังใช้ได้ทุกยุค ทุกสมัย
Cr.unsplash
การพูดจาเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรตระหนักให้ดี ยิ่งการพูดถึงคนอื่น
ยิ่งสำคัญยิ่งขึ้นไปกว่าการพูดถึง
ตัวเองหลายเท่าตัว
คนบางคนชอบพูดเอาดีใส่ตัว แล้วเอาความชั่วใส่คนอื่น คนแบบนี้ หากใครได้พูดจาด้วยก็มักเบื่อหน่าย อยากจะหนีไปให้ไกล ไม่อยากสนทนาด้วย
เหมือนคำพระท่านกล่าว ...
"เวลาเราชี้นิ้วกล่าวโทษใคร นิ้วที่หันไปทางคน ๆ นั้น มีแค่นิ้วชี้นิ้วเดียว
นิ้วโป้งชี้ขึ้นฟ้าแต่อีกสามนิ้วที่เหลือ เราชี้มาที่ตัวเอง"
ก็เหมือนกับว่า ความจริงแล้วสิ่งที่เรากำลังกล่าวโทษอยู่นั้น เรากำลังกล่าวโทษตัวเองต่างหาก หาใช่กล่าวโทษ
คนที่เราชี้นิ้วอยู่เสียเมื่อไหร่
Cr.unsplash
ยังมีคำกลอนสอนใจเรื่องการกล่าวโทษผู้อื่นในทางลับหลัง ที่ท่านกวีเอก
สุทรภู่ พระสุนทรโวหาร เคยแต่งไว้สอนใจว่า...
เกิดเป็นคน ก็ต้องทน ให้เขาด่า
จะทำดี ทำบ้า เขาด่าหมด
ถ้าทำดี เขาก็ด่า ว่าไม่คด
ถ้าเลี้ยวลด เขาก็ด่า ว่าไม่ตรง
อันนินทา กาเล เหมือนเทน้ำ
ไม่ชอกช้ำ เหมือนเอามีด มากรีดหิน
แม้องค์พระ ปฏิมา ยังราคิน
มนุษย์เดินดิน หรือจะสิ้น คนนินทา
Cr.unsplash
อยากจะขอยกเรื่องจากพุทธประวัติ
อันเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเล่าแบบย่อ ๆ
ในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์คู่ผัว เมีย คู่หนึ่ง ทั้งสองมีธิดารูปร่างสวยงามยิ่งนัก มีกษัตริย์จากเมืองต่าง ๆ พากันมา
สู่ขอ แต่ก็พราหมณ์ทั้งสองก็ยังเห็นว่า
ไม่เหมาะสม คู่ควรกับธิดาของตน
อยู่มาวันหนึ่ง พราหมณ์ผู้พ่อ ได้มาพบพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าก็ถูกใจเป็นอย่างมาก ดูช่างสง่างาม
เหมาะสมกับธิดาของตนยิ่งนัก แต่เมื่อพราหมณ์เดินทางกลับมาจากไปตามธิดาเพื่อมาพบพระพุทธเจ้า กลับพบเพียงรอยพระพุทธบาทเท่านั้น
พราหมณ์ผู้พ่อ ไม่ละความพยายาม
ตามสืบเสาะจนพบกับพระพุทธเจ้า
จึงกราบทูลขอยกธิดาของตนให้กับพระองค์ทันที
พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสว่า
"พราหมณ์เอย เรานั้นเคยพบอิสตรีที่มี ความงามยิ่งกว่าธิดาของท่านมามากมายแล้ว เราไม่พึงใจในผู้ใด เรา
ไม่พึงใจในสรีระ ร่างกายอันเต็มไปด้วย ปัสวาวะแลอุจจาระของธิดาของท่าน เราไม่ปรารถนาที่จะสัมผัสธิดาของท่านแม้เพียงปลายเท้า"
เมื่อธิดาของพราหมณ์ได้ยินดังนั้น ก็เกิดความโกรธ จนกล่าววาจาอาฆาตมาดร้ายพระพุทธองค์ ว่า ในกาลอนาคต จะหาทางแก้แค้นให้สาสมกับที่มาดูถูกนางเช่นนี้
หลังจากนั้น นางได้แต่งงานกับกษัตริย์แห่งกรุงโกสัมพี ชื่อพระเจ้าอุเทน
วันหนึ่งนางได้ทราบว่า พระพุทธเจ้าจะทรงเสด็จมาแสดงธรรม ณ เมืองโกสัมพี จึงได้ให้มหาดเล็กไปจ้างชาวบ้านถึงห้าร้อยคน มาคอยบริภาษ ก่น
ด่า พระพุทธเจ้าให้สมกับความแค้นใน
อดีต
ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จไปที่แห่งไหน กลุ่มชาวบ้านที่รับจ้างจากมหาดเล็ก ก็ตามไปก่นด่าทุกที่ไป
แต่ก็หาทำให้พระพุทธเจ้าเดือดร้อนไม่
พระพุทธเจ้ายังทรงแสดงธรรม ตามปกติ ไม่ทรงตอบโต้ใด ๆ จนกลุ่มคน
ที่ตามด่า ต่างเหนื่อยอ่อน และค่อยๆลดจำนวนลงเรื่อยๆ
Cr.unsplash
พระพุทธเจ้าไม่ทรงเดือดร้อนอันใด
แต่พระอานนท์ พระอนุชากลับทนไม่ได้ ที่มีคนตามไปก่นด่าพระศาสดาทุกหน ทุกแห่ง จึงทูลขอให้ทรงหนีไปจากเมืองโกสัมพี นี้
พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามพระอานนท์ว่า
"จะหนีไปไหนล่ะ อานนท์"
พระอานนท์ตอบว่า
"หนีไปเมืองอื่น พระพุทธเจ้าข้า"
พระพุทธเจ้า จึงถามต่อว่า
"หากไปทีเมืองอื่น แล้วมีคนตามไปด่า เราอีกจะทำอย่างไร"
พระอานนท์ ตอบว่า
"ก็หนีไปเมืองอื่น ต่อไปอีก พระพุทธเจ้าข้า"
พระพุทธเจ้าจึงบอกพระอานนท์ว่า..
"การหนีแบบนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง
ปัญหาอยู่ที่ไหน เราก็ต้องแก้ตรงนั้น"
"การทนต่อการถูกก่นด่า ว่ากล่าวจากคนไม่มีศีล ก็เป็นส่วนหนึ่งของการพิสูจน์ความเป็นยอดคน"
"คนที่มาก่นด่าเรานี้ หากเราทนเขาได้ โดยไม่ตอบโต้ เขาก็จะด่าเราได้เพียง
7 วัน ก็คงหมดแรง วันที่ 8 เขาก็จะเลิกก่นด่าเราไปเอง"
จากพุทธประวัตินี้ ทำให้เรารู้ว่า หากเราต้องการแก้ต้นเหตุแห่งความวุ่นวายใจเมื่อถูกใคร นินทาว่าร้าย ให้แก้ที่ใจเรา อย่าไปแก้ที่สิ่งร้ายภายนอก
สุดท้าย เราคงต้องคอยย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอๆ ว่า...
"การพูดให้คนอื่นดูเลวร้าย
คนเลวร้าย ไม่ใช่คนอื่น..."
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
#ขอบคุณนักอ่านที่รักทุกท่าน
ติดตามอ่านบทความดี ๆ ได้ที่
โฆษณา