Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ควายดำทำเกษตร
•
ติดตาม
13 ธ.ค. 2019 เวลา 14:58 • ประวัติศาสตร์
สูตรผสมสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร
โพสนี้จะมาแนะนำเกษตรกรมือใหม่ หรือ เกษตรกรมือเก่า ที่อาจจะยังไม่รู้เรื่อง สูตรผสมของสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ว่าแต่ละสูตรมันแตกต่างกันอย่างไร เพื่อจะได้เข้าใจการใช้งานสารกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น
สูตรผสม คืออะไร ?
อธิบายให้เกษตรกรเข้าใจง่ายๆเลย คือ ตัวบ่งชี้ถึงรูปแบบลักษณะของสารนั้นๆ ซึ่งจะมีชื่อบอกเป็นภาษาอังกฤษต่อท้ายในชื่อของสารบนฉลาก ให้อ่านตรงคำว่า "สารสำคัญ" ซึ่งบนฉลากจะมีบอกไว้ทุกขวด (ถ้าเป็นยาที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องนะ ไม่ใช่ยาหลังร้าน) เช่น สารอะบาเมคติน จะมีสารสำคัญ : abamectin..............1.8 % w/v EC
ซึ่งตรงชื่อย่อภาษาอังกฤษที่อยู่ท้ายสุด เช่น EC ,SC,ME จะเป็นตัวที่บอกเราว่าสารนี้จะอยู่ในรูปของสูตรผสมอะไร
มารู้จักอักษรย่อภาษาอังกฤษที่บอกชื่อรูปแบบสูตรผสมของสารเคมีกันว่าส่วนใหญ่ที่เราเห็นกันบ่อยๆมีอะไรบ้าง นิยมใช้ระบบอักษรย่อภาษาอังกฤษ 2 ตัว โดยโพสนี้จะขอเอาที่เราขายกันส่วนใหญ่ในประเทศเรานะ เพราะมันมีเยอะมาก บางรูปก็ไม่มีขายในบ้านเรา โดยรูปแบบผสมสูตรจะแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ.........
กลุ่มที่ 1 ชนิดเข้มข้นต้องผสมน้ำก่อนพ่น
1. EC เป็นรูปแบบลักษณะที่เป็น น้ำมัน หรือ ชาวบ้านเรียกกันง่ายๆว่ายาน้ำมัน สูตรนี้จะคุ้นเคยกันมากที่สุดในบรรดาสารรูปแบบผสมของสารเคมีที่เกษตรกรบ้านเราใช้กัน เพราะยาฆ่าแมลงหลายๆตัวจะเป็นสูตร EC เช่น อะบา , คลอไพริฟอส ,ไซเปอร์เมทริน ซึ่งสูตรนี้จะเป็นของเหลวที่ผสมเนื้อเดียวกัน เมื่อลงน้ำจะมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น
2. ME เป็นสารผสมเหลวใส่-ขาวขุ่น สูตรนี้เท่าที่เห็นในบ้านเราจะมีไม่กี่ตัว เช่น ตัว ไฮซีส อิมาเมกติน ของ ไอซีพี ลัดดา ที่เป็นสูตร ME
3.SG
จะเป็นสูตรที่เป็นรูปเม็ดขนาดเล็ก เมื่อละลายน้ำจะได้สารละลายของสารออกฤทธิ์ในน้ำ
4.SC
สูตรนี้จะเป็นสูตรที่ชาวบ้านจะเรียกว่าเป็นสูตรน้ำครีม จะมีลักษณะเป็นสีขาว ไม่ต้องตะกอนเมื่อนำไปเจือจางด้วยน้ำก่อน (แต่สูตรนี้มีข้อเสียตรงที่ถ้าปั่นมาไม่ดี เมือทิ้งไว้นานๆจะตกตะกอนจับตัวแข็งในขวดเลย คือขายมาเจอมาบ่อยมาก 555)
5.CS เป็นสูตรที่อยู่ในรูปของแคปซูลเป็นเม็ด
6.SL
เป็นสูตรที่เป็นของเหลวผสมในเนื้อเดียวกัน เมื่อนำไปเจือจางในน้ำสารออกฤทธิ์จะละลายน้ำโดยตรง สูตรนี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวก ยาฆ่าหญ้า เช่น ไกลโฟเซต พาราคอวต
7.SP เป็นสารผสมในรูปผง จะใช้ต้องผสมน้ำตัวสารออกฤทธิ์จะละลายน้ำได้ แต่มีบางส่วนของสารที่ไม่ออกฤทธิ์ในสูตรผสมที่ไม่ละลายน้ำ
8.TB เป็นสารผสมรูปแบบเม็ด ต้องละลายน้ำก่อนใช้
9.WG เป็นสารผสมชนิดเม็ดขนาดเล็ก ละลายน้ำได้ดี ส่วนใหญ่จะเป็นพวกสารกำจัดวัชพืช เช่น อาทราซีน ไดยูรอน อะมีทรีน ชาวบ้านจะนิยมใช้เพราะละลายง่าย ใช้ง่ายไม่ฟุ้งกระจาย
10. WP เป็นสารในรูปแบบผง ต้องเจือจางด้วยน้ำ ซึ่งสูตรนี้มักจะมีปัญหาเรื่องการแข็งตัว
กลุ่มที่ 2 ชนิดเข้มข้นซึ่งใช้สารอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย
จะมี 3 สูตร คือ OL - OF - OP สามสูตรนี้ขอไม่อธิบายนะเพราะไม่เคยเห็นสูตรนี้ขายในบ้านเรา ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้เนาะ (จริงๆคือขี้เกียจเขียน)
กลุ่มที่ 3 สูตรผสมที่นำไปใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องทำให้เจือจาง
สูตรนี้จะมีอยู่ 9 แบบ แต่ขออธิบายแค่รูปแบบที่เกษตรกรเจอบ่อยๆแล้วกันนะ
ที่เห็นกันบ่อยๆคือสูตร GR สูตรนี้จะเป็นเม็ดใช้หว่านหรือโรยที่ต้น เช่น สตาร์เกิลจี
ส่วนสูตรอื่นๆไม่ค่อยเห็นขายเท่าไหร่
กลุ่มที่ 4 สูตรสำหรับใช้คลุกเมล็ด
ในบ้านเราเท่าที่เห็นจะมีเป็นสูตร FS ที่เอามาคลุกเมล็ด รูปแบบสูตรจะเป็นสารละลายเข้มข้น ใช้คลุกเมล็ดก่อนนำมาลงปลูก
กลุ่มที่ 5 สูตรผสมที่ใช้เฉพาะ
ที่เห็นมีขายในบ้านเรา จะมีสูตร GB ที่เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปชนิดเม็ด สูตรอื่นๆไม่ค่อยเห็น
จากกลุ่มรูปแบบผสมสารที่ได้เขียนย่อมาให้อ่าน จะเห็นว่าส่วนใหญ่ในบ้านเราที่ขาย ที่เกษตรกรใช้กันจะเป็นกลุ่มที่ 1
จริงๆแนะนำให้จำไว้เพราะมันจะช่วยทำให้เราเลือกใช้สารให้ตรงกับความต้องการของเราได้ และยังช่วยทำให้เข้าใจลักษณะรูปแบบสารแต่ละประเภท
โพสนี้รู้เรื่องรูปแบบของสารเคมีก่อน ถึงจะจั่วหัวโพสไว้ว่าเป็นสูตรผสมสารกำจัดศัตรูพืช แต่ก็เป็นสูตรเดียวกับพวกสารกำจัดโรคพืชเหมือนกัน
สรุปง่ายๆปิดท้ายคือ จำตัวย่อภาษาอังกฤษ 2 ตัว จำรูปแบบของสารว่าเป็นยังไงแค่นั้น ฝากลูกหลานแชร์ไปอ่านให้พ่อแม่ ปู่ย่าตายายฟังด้วย เป็นความรู้ให้แกหน่อยเวลามาซื้อยาจะได้พอรู้บ้าง
เครนะ ด้วยรักจากควายดำทำเกษตร เพจเกษตรอันดับ 1 ในจักรวาล
ปล ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ รู้ลึกเรื่องสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงและไรศัตรูพืช จาก อ.สุเทพ สหายา
5 บันทึก
2
7
5
2
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย