13 ธ.ค. 2019 เวลา 15:23 • การศึกษา
"รู้หรือไม่ เวลาในเรือนจำกับข้างนอกอาจไม่เท่ากัน?"
พวกเราทุกคนต่างรู้ดีว่าระยะเวลา 1 ปี จะมีจำนวนเท่ากับ 365 (หรือ 366) วัน แต่สำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำแล้วอาจไม่ใช้
วิธีการนับเวลาอย่างนี้เสมอไป
pixabay
เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากกฎหมายอาญาได้กำหนดวิธีการนับเวลาจำคุกไว้อย่างนี้...
- การคำนวณเวลาที่เป็นปี ให้นับตามปีปฏิทินราชการ ( 365 หรือ 366 วัน)
- การคำนวณเวลาที่เป็นเดือนให้นับ 30 วันเป็น 1 เดือน (12 เดือน = 360 วัน)
แล้วหลักการนับระยะเวลาแบบนี้จะนำมาใช้กับกรณีใดบ้าง?
ตัวอย่างที่ 1 ในคดีอาญาเรื่องหนึ่ง ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 3 ปี อย่างนี้จะใช้วิธีการนับแบบปีปฏิทินราชการทั่วไป
ตัวอย่างที่ 2 ศาลพิพากษาจำคุกจำเลย 2 กระทง กระทงแรกจำคุก 3 ปี 6 เดือน กระทงที่ 2 ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน
รวมโทษจำคุกทั้งหมด 3 ปี 12 เดือน
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมศาลถึงไม่ลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปีไปเลย ซึ่งคำตอบ
ก็คือ...
กรณีนี้ ถ้าใช้วิธีคำนวณตามปฏิทินราชการ จำเลยจะต้องติดคุกนาน 4 ปี หรือ 1,460 วัน
แต่เมื่อคำนวณตามวิธีที่กฎหมายกำหนด จำเลยจะถูกจำคุก 3 ปี หรือ 1,095 วัน และอีก 12 เดือนหรือ 360 วันซึ่งรวมแล้วจำเลยจะถูกจำคุก 1,455 วัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำเลยจะติดคุกน้อยกว่าการลงโทษจำคุก 4 ปี ถึง 5 วัน
การลงโทษจำคุกจำเลย 4 ปีจึงมีผลทำให้จำเลยต้องติดคุกนานขึ้นและเกินกว่าที่ถูกพิพากษาลงโทษ ซึ่งจะเป็นผลร้ายแก่จำเลย
ดังนั้น ศาลจึงไม่สามารถเปลี่ยนจากการลงโทษจำคุก 12 เดือนมาเป็น 1 ปีได้ครับ
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา