16 ธ.ค. 2019 เวลา 04:12 • ธุรกิจ
Florence Graham จากเด็กบ้านยากจนสู่เจ้าของ "Elizabeth Arden" หนึ่งในแบรนด์เครื่องสำอางชื่อดังและเก่าแก่ของโลก
Florence Graham เกิดในปี ค.ศ. 1878 พ่อแม่เป็นผู้อพยพชาวอังกฤษ / สก็อต แม่ของเธอเสียชีวิตด้วยวัณโรค เมื่อเธออายุเพียง 6 ขวบและเธอเติบโตขึ้นในฟาร์มใน Woodbridge Ontario โดยมีพี่น้อง 8 คนและอยู่ในครอบครัวที่ยากจนและเธอก็เรียนไม่จบมัธยมปลาย
ในวัยเด็กเธอชอบอ่านหนังสือนิยายโรแมนติก และหลงใหลในความงามและชีวิตของบุคคลชั้นสูงซึ่งมันต่างกับชีวิตของเธอโดยสิ้นเชิง
Florence ไปโรงเรียนเพื่อฝึกเป็นนางพยาบาล แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาเพราะเธอไม่สามารถมองเห็นเลือดได้ และต้องเห็นคนเจ็บตายทุกวัน เธอจึงลาออกจากโรงเรียนพยาบาล
ในปี 1908 เธอย้ายไปนิวยอร์คซึ่งพี่ชายของเธออาศัยอยู่ที่นั่น เธอได้เข้าทำงานตำแหน่งเสมียนที่ บริษัท E.R. Squibb Pharmaceuticals ในช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลผิว และวิธีทำครีม น้ำมันหอมระเหยต่างๆ
เธอทำงานในร้านที่มีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลผิวหน้าและเธอก็ค้นพบว่าตัวเองมีความสามารถในผลิตเครื่องสำอางดูแลผิว
ต่อมาเธอได้ลาออกจาก Eleanor เพื่อเปิดร้านของตัวเองร่วมกับเพื่อนชื่อ Elizabeth Hubbard ที่ Fifth Avenue ซึ่งเป็นพื้นที่ของร้านค้าชั้นนำและห้างสรรพสินค้า เพื่อให้ร้านเสริมสวยโดดเด่นพวกเธอทาสีประตูสีแดงสด ซึ่งต่อมาก็้คือสัญลักษณ์ประจำแบรนด์นั่นเอง
แต่ไม่นานประมาณ 6 เดือน ฟลอเรนซ์และเอลิซาเบธ ก็แยกทางกัน ตอนที่เพื่อนถอนหุ้นไปนั้น เธอไม่มีเงินจะเปลี่ยนป้ายชื่อร้าน จึงใช้ป้ายเดิมแต่ตัดคำว่า Hubbard ออกแล้วเพิ่มคำว่า "Arden" เข้าไปแทนชื่อแบรนด์ "Elizabeth Arden" จึงเกิดขึ้นมาตั้งแต่นั้น
ในปี 1912 ฟลอเรนซ์ ได้เดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความงามและเทคนิคการนวดหน้าในสถานเสริมความงามระดับสูงในปารีส
นอกจากนี้เธอยังรณรงค์และสนับสนุนให้ผู้หญิงใช้เครื่องสำอางในการแต่งหน้า สำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน เธอเป็นคนแรกที่ทำตลาดเครื่องสำอางแต่งหน้าตาให้กับผู้หญิง พร้อมกับการใช้ "Total Look" ด้วยการทาปากสีแดงและ เธอยังเป็นคนแรกที่ทำโฆษณาเกี่ยวกับเครื่องสำอางในโรงภาพยนตร์อีกด้วย
"Every woman has a right to be beautiful" ผู้หญิงทุกคนมีสิทธิ์ที่จะสวยงาม” เป็นคำพูดของเธอที่เรารู้จักกันดีจนถึงทุกวันนี้
ในปี ค.ศ. 1920 เธอใช้ภาพของ
เซซิลเบย์ลิส โมเดลชาวฝรั่งเศสสวมชุดคลุมสีขาวเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ และก็มันกลายเป็นเครื่องหมายการค้าของ Ardenในเวลาต่อมา
ในปี 1915 เธอเริ่มเปิดร้านเสริมสวยมากขึ้นในหลาย ๆ เมืองในสหรัฐอเมริกาเช่น นิวยอร์ก วอชิงตันบอสตัน ชิคาโกและเบเวอร์ลีย์ฮิลส์ และได้เปิดตัวในต่างประเทศเช่น
โฮโนลูลู เมลเบิร์น ฮ่องกง ลอนดอนปารีส มิลานและโรมเป็นต้น
นิตยสารไทม์ได้ทำบทความเกี่ยวกับเธอในปี ค.ศ.1936โดยระบุว่าแม้จะมีภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ แต่ธุรกิจของเธอก็รุ่งเรืองมาโดยตลอดร้านเสริมสวย "Red Door" (ประตูสีแดง) ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของ Arden กลายเป็นสวรรค์สำหรับผู้หญิงและเป็นแรงบันดาลใจให้กับร้านทำผมทั่วโลก
ในยุคนั้นมีการกล่าวว่า "มีเพียงสามชื่อของแบรนด์ชาวอเมริกันที่เป็นที่รู้จักในทุกมุมของโลกคือ จักรเย็บผ้าซิงเกอร์, Coca Cola และ Elizabeth Arden"
ปี 1930 ถึง 1960 Elizabeth Arden ได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในแบรนด์เครื่องสำอางที่หรูหราที่สุด ผู้หญิงที่มีชื่อเสียงหลายคนใช้สินค้าของเธอเช่น Queen Elizabeth II, Queen Mother, Marilyn Monroe, Jacqueline Kennedy, Marlene Dietrich, Joan Crawford และ Wallis Simpson ฯลฯ
Florence Graham เสียชีวิตในปี 1966 ในนครนิวยอร์คด้วยอายุ 88 ปี
กรณีนี้น่าสนใจตรงที่ถึงแม้สินค้าของเธอจะราคาสูงมากแต่ลูกค้าของเธอส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเพื่อให้ได้มันมา ถึงแม้จะมีวิกฤติทางเศรษฐกิจ สินค้าของเธอก็ยังขายดี ทำให้เรานึกถึงแบรนด์ดังๆ ที่สินค้าแพงมากๆ แต่ทำไมเขายังขายได้ ลูกค้าต้องไปยืนรอต่อคิวตั้งแต่ร้านยังไม่เปิด
โฆษณา