15 ธ.ค. 2019 เวลา 14:42 • ความคิดเห็น
ตอนที่ 3
“ยืดหยุ่น ไม่ย่อหย่อน เคร่งครัดไม่เคร่งเครียด”
เป็นโอวาทของหลวงพ่อปี 2553 ก่อนที่จะออกไปเป็นหัวหน้าศูนย์บวชพระเข้าพรรษาที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ฟังครั้งแรกได้แต่จำแต่ยังตรองไม่ออกว่าหมายถึงอะไร เพราะการออกไปรับบุญใหญ่ครั้งแรก แต่ตนเองถูกฝึกมาจากพระอาจารย์พระพี่เลี้ยงมาอย่างเคร่งครัดและก็เคร่งเครียดด้วย...จนกระทั่งจัดบวชและเริ่มฝึกอบรมพระธรรมทายาทในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์บรรยากาสการอบรมมันไม่เหมือนที่ตนเองเคยถูกฝึกมาเลยทั้บรรยากาสและพื้นที่ที่ใช้ฝึกพระมันต่างกันมาก ไม่มีความพร้อมเลย เริ่มตึงเครียด จึงนึกทบทวนโอวาทสุดท้ายก่อนออกมาว่า”ยืดหยุ่น ไม่ย่อหย่อน”มันคืออะไรหนอ และแว๊บหนึ่งก็นึกถึงคนตกปลา
คนตกปลาเขาสามารถนำปลาตัวใหญ่ๆ เป็นร้อยๆ กิโลกรัมที่ติดเบ็ดขึ้นมาบนเรือได้อย่างไร ทั้งๆ ที่สายเอ็นตกปลาเส้นเล็กมากเมื่อเทียบกับปลา ไม่น่าเชื่อว่าจะสามารถลากปลามาได้ จึงนึกออกทันทีว่านี่แหละคือ”ยืดหยุ่น” ถ้าเรายืดหยุ่นไม่เป็นปลาคงดึงเอ็นขาด ถ้าเราหย่อนเกินไปก็ไม่สมารถนำปลามาขึ้นเรือได้เช่นกัน
แบบนี้นี่เอง...ถ้าเราจะยึดระเบียบวินัยอย่างเคร่งเครียดพระใหม่ก็ไม่อยู่กับเรา และถ้าเราย่อหย่อนเกินไปเราก็จะไม่ได้พระดีเช่นกัน จึงยอมหย่อนบ้างในเวลาที่เคร่งเครียด และหาโอกาสเคร่งครัดบ้างในเวลาที่ไม่เคร่งเครียด และสามารถยืดหยุ่นจนสามารถอบรมพระจนตลอดพรรษาจนได้ และยังได้นำมาใช้เป็นหลักการในการอบรมพระในโครงการบวชพระทุกเดือนตลอดมาอีกแปดปี
“ยืดหยุ่น ไม่ย่อหย่อน เคร่งครัดไม่เคร่งเครียด”เป็นคำคล้องจองถ้าฟังเพลินๆ ไม่ได้นำมาตรองก็จะผ่านไป แต่ถ้านำมาตรองจนสามารถนำไปใช้ได้จะมีประโยชน์อย่างมหาศาล ใช้ได้ทั้งการครองเรือน ทั้งใช้ในการฝึกอบรมสั่งสอนลูกหลาน ตลอดจนการอยู่ร่วมกันในทุกๆ สังคม
ขอกราบขอบพระคุณหลวงพ่อเป็นอย่างสูงที่คอยสั่งสอนคอยแนะน
โฆษณา