19 ธ.ค. 2019 เวลา 00:59 • การศึกษา
Series สรุปหนังสือ Homo Deus แบบยาว
บทที่ 2 : The Anthropocene
อิงตามการแบ่งยุคของโลก โดยหลักธรณีวิทยา ปัจจุบันนี้เราอยู่ในยุค Holocene
ยุค Holocene เริ่มขึ้นตั้งแต่ 11,500 ปีก่อน หลังจากที่ยุคน้ำแข็งยุติลง
1
แต่เราอาจจะเรียก 70,000 ปีที่ผ่านมาว่ายุค Anthropocene
Anthropocene หมายถึงยุคที่ Homo sapiens ขึ้นมามีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทั่วทั้งโลก
ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลก
สิ่งมีชีวิตต่างๆถือกำหนดบนโลกมาหลายล้านปีก่อนหน้า Sapiens
แต่ยังไม่มียุคใด ที่จะมีสิ่งมีชีวิตแค่ Species เดียว ที่สามารถกำหนดความเป็นไปของระบบนิเวศวิทยาทั้งหมดของโลกใบนี้ได้
มนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และระบบนิเวศวิทยาในโลกเปลี่ยนไป แบบที่ปรากฏการณ์ธรรมชาติไหนๆ ก็ยังทำไม่ได้
เพราะมนุษย์ได้เปลี่ยนโลกนี้เป็น Single Ecosystem
มนุษย์ ทำได้อย่างไร?
Serpent children
หลักฐานทางมานุษวิทยาต่างๆ ชี้ว่า ในอดีต เหล่า Sapiens ที่ใช้ชีวิตแบบ Hunter-Gatherer นั้นน่าจะเป็น Animism คือกลุ่มที่เชื่อในเรื่องภูติผีปีศาจ เชื่อว่ามีวิญญาณในต้นไม้ ก้อนหิน ในสัตว์ป่าต่างๆ พวกเขาเชื่อว่าคนและสัตว์อื่นๆ เท่าเทียมกัน ไม่มีช่องว่างใดแยก
โลกนี้เป็นของทุกสิ่งมีชิวิต ไม่ว่าจะสัตว์ พืช หรือก้อนหิน
ที่น่าสนใจคือ ในตำนานของ Animism หลายๆแห่ง จะมีความเชื่อว่าคนพัฒนามาจากงู หรือสัตว์เลื่อยคลานต่างๆ
กล่าวได้ว่า Sapiens เริ่มมีตัวตน ในฐานะที่เท่าเทียมกันกับสรรพสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ตามธรรมชาติ
แล้วอะไรที่ทำให้มนุษย์เริ่มแยกตัวของจากธรรมชาติ?
มีข้อสังเกตคือ แนวคิดของหลายๆศาสนา เช่น ผู้แต่งคัมภีร์ไบเบิล ซึ่งมาทีหลัง ปฏิเสธความเชื่อของ Animism
ปฏิเสธความเชื่อที่ว่าคนพัฒนามาจากงู
เพราะคนนั้นถูกสร้างโดยพระเจ้า
ส่วนงูคือสิ่งที่จะนำมาพาซึ่งหายนะ นำมาซึ่งความเสียหายระหว่างมนุษย์ กับพระเจ้า
เรื่องตลกคือ เมื่อวิทยาศาสตร์พบว่าสมองของเราก็พัฒนามาจากสมองสัตว์เลื้อยคลานอีกที (limbic system) การค้นพบนี้ก็ทำให้ความเชื่อในการมีอยู่ของพระเจ้า เสียหายไปจริงๆ
Ancestral need
Harari เสนอว่า ที่มาของคัมภีร์ศาสนา เช่น คัมภีร์ Bible และความเชื่อต่างๆที่บอกว่ามนุษย์แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่นนั้น เป็น ผลพลอยได้ (By product) ของการปฏิวัติทางเกษตรกรรม (Agricultural Revolution) อีกที
ในแง่หนึ่ง ศาสนาช่วยให้มนุษย์รู้สึกว่าตัวเองแตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น และจะทำอะไรกับพวกมันก็ได้
Agricultural revolution ทำให้เกิดการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งในปัจจุบัน จำนวนสัตว์ใหญ่บนโลกกว่า 90% ก็คือพวกสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้ทำประโยชน์นี้เอง (เช่น หมู ไก่ และวัว)
แม้สัตว์เลี้ยงต่างๆเหล่านี้ จะสามารถรอดชีวิตได้ มีคนคอยดูแล แต่มนุษย์ทำให้มันทรมานเป็นอย่างมาก
ที่ว่าทรมาน มิใช่ว่าสุดท้ายมันต้องตาย เพราะอยู่ในป่ามันก็โดนสิงโตจับกินเมื่อไหร่ก็ได้อยู่แล้ว
แต่ความทรมานของสัตว์เลี้ยงต่างๆนี้ เกิดจากที่มนุษย์เลิกมองว่าสัตว์เหล่านี้มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน
มนุษย์มองว่าสัตว์เหล่านี้ด้อยกว่า มันจึงถูกจับ หรือเพาะเลี้ยงให้อยู่แต่ในกรงแคบๆ แม้จะมีคนคอยเอาอาหารมาให้ แต่มันไม่ได้ใช้ชีวิต ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสัตว์อื่นๆ สัตว์ตัวเมียที่มีลูก ก็ไม่ได้โอกาสสร้าง bond กับลูกๆของมันแต่อย่างใด
พวกมันไม่ได้แม้แต่จะเดินเล่น ซึ่งน่าจะทำให้มันเกิดความทรมานอย่างมาก
3
เนื่องจาก Gene ที่ต้องการทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็ยังอยู่กับมัน ไม่ได้หายไปไหน (ตัวมันยังมี Ancestral need)
พอมันไม่ได้รับการตอบสนอง Need มันก็น่าจะทุกทรมาน
แม้จริงๆแล้วมันอยู่รอดได้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย
1
Organism and Algorhithm
Harari คิดไปเองหรือปล่าว ว่าสัตว์พวกนั้นมันจะมีความทุกข์หรือทรมานจริงๆ?
เรารู้ได้ยังไงว่าพวกหมู หรือวัว ที่เราเลี้ยงไว้ในกรงแคบๆ เพื่อรอโดนกินนั้น มีความต้องการ มีอารมณ์ มีความรู้สึก (Emotion) เหมือนที่มนุษย์มี?
Harari เสนอว่า Emotion ต่างๆนั้นไม่ได้เป็นสิ่งลี้ลับอะไร
1
แท้จริงแล้ว Emotion ก็คือ Biological Algorithm ชนิดหนึ่ง
Algorithm คือสิ่งจำเป็นสำหรับการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต และอย่างน้อย มันก็มีอยู่ใน mammal ทุกชนิด
Algorithm คืออะไร ?
Algorithm คือ Set ของขั้นตอน กระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการคำนวณ ใช้ในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
Harari เสนอว่า Algorithm จะกลายเป็น concept ที่สำคัญอย่างมากในการเข้าใจโลกและอนาคต
เราอาจจะเคยชินกับการใช้คำนี้เมื่อพูดถึงคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ ก็คือ Electrical Algorithm ชนิดหนึ่ง เราใช้มันมาเป็นเครื่องมือ ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆได้ เช่น การใช้ algorithm ในการหาค่าเฉลี่ยของตัวเลข2ตัว คุณก็ตั้งค่าโปรแกรม ให้มันเอาตัวเลข2ตัวนั้นบวกกัน แล้วหารสอง
ขั้นตอนที่มีการเอาเลขมาบวกกัน แล้วหารสอง นี้คือ Electrical Algorithm นั่นเอง ซึ่งทำตัวเป็นตัวกลาง คุณแค่ป้อน Input ลงไป แล้วมันจะหา Output ให้คุณเอง
คนก็เป็น Algorithm เหมือนกัน แต่เป็น Biological Algorithm
คนเป็น Algorithm ที่มีชุดคำสั่งคือ ทำอะไรก็ได้ ให้มันอยู่รอด และสามารถสืบพันธุ์ ซึ่งชุดคำสั่งนี้ก็มีอยู่ใน Gene ของเรานั่นเอง
หาก Electrical Algorithm ที่คุมเครื่องทำกาแฟ ทำงานโดยผ่าน ฟันเฟือง และวงจรไฟฟ้า
Biolgical Algorithm ที่ควบคุมมนุษย์ และสัตว์อื่นๆในการทำงาน ก็ทำงานในรูปแบบของความรู้สึก และความนึกคิด (Sensation , Emotion and Thought)
สมมุติว่าลิงตัวหนึ่งเห็นกล้วย และเห็นสิงโตอยู่ใกล้ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ จะต้องมีข้อมูล Input ผ่านสมองลิงที่เป็น Algorithm แล้วแปลงเป็น output ซึ่งก็คือการกระทำต่างๆ
1
Input ก็จะแบ่งอีกเป็น 2 พวก คือ
External Input : เช่น กล้วยมีกี่ลูก กล้วยสุกหรือดิบ กล้วยอยู่ใกล้แค่ไหน สิงโตตัวนั้นหิวหรืออิ่มอยู่ อยู่ไกลแค่ไหน ถ้าสิงโตวิ่งมา มันจะหนีทันมั้ย
Internal input : ซึ่งก็ขึ้นกับว่าตอนนั้นมันอยู่ในสภาพไหน ถ้ามันหิวจนใกล้ตาย มันก็คุ้มที่จะแลกด้วยชีวิต ถ้ามันพึ่งกินมา มันจะเสี่ยงตายไปทำไม
การที่สิ่งมีชีวิตใช้ input ทั้งหลายมาหาน้ำหนัก มาคำนวณความเป็นไปได้ ว่าจะทำหรือไม่ทำอะไร มาคำนวณข้อดีข้อเสียของ Action นั้นๆ ก็ต้องผ่าน algorithm ที่ซับซ้อนมากมายกว่าเครื่องทำกาแฟ
ลิงที่คำนวณความน่าจะเป็นต่างๆได้ดี รางวัลตอบแทนนั้นก็คือความอยู่รอด เมื่อยู่รอดมันก็สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมของมันต่อไปได้
แน่นอนว่าลิง ไม่สามารถคำนวณความน่าจะเป็นออกมาเป็นตัวเลข หรือสามารถ List ข้อดีข้อเสียของแต่ละการตัดสินใจ ออกมาเป็นรูปธรรมได้ แต่มันใช้ทั้งตัวของมันในการตัดสินใจ ใช้ตัวมันเป็นเครื่องคำนวณ โดยอาศัยข้อมูลจาก External input และ internal input
จึงกล่าวได้ว่า ตัวมัน ก็คือ Biological Algorithm นั่นเอง
ดังที่ได้กล่าวว่า Algorithm ไม่ได้มีบทบาทแค่ในการเอาตัวรอด แต่ในการสืบพันด้วย เวลาคุณเห็นคนหน้าตาสวยๆ ในไม่กี่ชั่วพริบตาคุณอาจจะแปลผลได้เลย ว่าผู้หญิงคนนี้น่าตาดี มี Gene ที่ดี เหมาะกับเป็นแม่ของลูก ผ่าน Algorithm ที่พัฒนาและอยู่ในตัวคุณมาอย่างยาวนานหลายล้านปี
99% ของการตัดสินใจในชีวิตเรานั้น ไม่เว้นแต่การตัดสินใจสำคัญๆในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่เรียน คู่ชีวิต ที่อยู่อาศัย ต่างก็ผ่านการใช้ Algorithm ทั้งนั้น
แล้ว Algorithm เกี่ยวข้องอะไรกับความรู้สึก (Emotion) ?
ความรู้สึกคือ Input แบบหนึ่ง
ถ้าเราเชื่อว่า Algorithm นั้นควบคุมการอยู่รอดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และอาจจะรวมถึงสัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ –> เราจึงอาจ Assume ได้ว่า พวกสัตว์ต่างๆ ก็มีความรู้สึกด้วย
แน่นอนว่าความรู้สึกของสัตว์นั้น ก็คงไม่เหมือนมนุษย์
หมูคงไม่มีความรู้สึก ’ทึ่ง’ เวลามันเห็นดาวสวยๆ บนท้องฟ้า
แต่เชื่อว่าความรู้สึกที่ทุก mammal มีเหมือนกัน คือความรู้สึกของสายสัมพันธ์แม่ลูก ( Mother-infant Bond )
เรารู้ว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกที่เกิดใหม่นั้นไม่สามารถรอดได้ หากไม่ได้นมจากแม่ของมัน แต่อีกสิ่งที่ขาดไม่ได้เช่นกัน คือความรู้สึกอบอุ่น ที่ได้มาจากความใกล้ชิดกันของแม่และลูก -> สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นวัยทารก ต้องการ mammal bond ด้วย จึงจะอยู่รอดได้นาน
ถ้าเราเชื่อว่า การที่ลูกสัตว์และแม่สัตว์ถูกพรากความรู้สึก Mammal bond แล้วจะเกิดความทุกข์
อุตสาหกรรมการผลิตเนื้อ และนม ก็กำลังทำให้สัตว์หลายพันล้านตัวในแต่ละตัว ต้องทุกทรมาน
The Agricultural Deal
1
ถามว่าคนเลี้ยงสัตว์รู้ถึงปัญหาความทรมานของสัตว์นี้หรือไม่? … ก็น่าจะรู้
คำถามคือเหล่าคนที่เลี้ยงสัตว์นี้ Deal กับความรู้สึกผิดได้ยังไง?
Harari เสนอว่า พวกเขา Justify การกระทำนี้ ผ่านสิ่งที่เกิดขึ้นมาในช่วง Agricultural Revolution สิ่งที่ว่านั้น ก็คือ ศาสนา
จากความเชื่อเดิมของ Animist ที่คน สัตว์ พืช เท่าเทียมกัน พึ่งพาอาศัยกัน
การมาของศาสนาทำให้มีผู้เล่นใหม่หน้าใหม่เกิดขึ้น นั่นคือ การมาของ พระเจ้า (Theism)
ศาสนานั้นยกระดับของพระเจ้าให้เหนือมนุษย์ แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ด้วยนั้น ก็คือการยกระดับของมนุษย์ขึ้นไปด้วยกัน
พระเจ้ามีบทบาทในแง่นี้ 2 อย่าง
1. พระเจ้าช่วยอธิบายว่าทำไมSapiens จึงพิเศษกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และทำไมเขาจึงควรปกครองสัตว์ต่างๆ :
เช่น ในเรื่องน้ำท่วมโลกของศาสนาคริส พระเจ้าเห็นสมควรที่จะฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สัตว์ทุกชนิดบนโลก เพื่อเป็นการลงโทษบาปของมนุษย์ เรือ Noah ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการอพยพมนุษย์และสัตว์โลกต่างๆให้รอดพ้นจากวันล้างโลก ซึ่งในภายหลัง พระเจ้าเองก็รู้สึกพลาด เนื่องจากจะไม่มีใครมา Offer สิ่งบูชายันให้อีกต่อไป พอเมื่อน้ำท่วมหาย พระเจ้าจึงได้สัตว์ต่างๆเป็นบูชายันอีกครั้ง และทำให้พระเจ้าไม่คิดจะทำให้เกิดเหตุกาณ์นี้ขึ้นอีก
2. พระเจ้าเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างมนุษ์ และธรรมชาติ
เช่น ใน Animist ถ้าคุณอยากให้ฝนตก คุณก็ต้อง บูชาก้อนเมฆ หากอยากให้ผลไม้ออก คุณก็บูชาต้นไม้
แต่การบูชาพระเจ้า ก็จะให้คุณได้ทั้งฝน ได้ดินอุดสมบูรณ์ ได้พืชพรรณที่เจริญงอกงามดี แค่คุณต้องมีอะไรไปแลกเปลี่ยน เช่น เหยื่อบูชายัน
แน่นอน ในหลายๆศาสนา เช่น พุทธ ฮินดู ก็มีการแสดงความเมตตาต่อสัตว์ แต่ก็จำเพาะเจาะจงเป็นรายกรณีไป และมักจะมีช่องทางใดช่องทางหนึ่งที่เปิดช่องให้พอใช้ประโยชน์จากสัตว์ต่างๆได้ เช่น หากกินเนื้อวัวไม่ได้ เราก็กินนมวัวได้
จะเห็นได้ว่าการที่มนุษย์ตกลงปลงใจไปกับ Agricultural Deal นี้เอง ทำให้มนุษย์เชื่อว่า มี cosmic force ที่ให้พลังแก่มนุษย์ในการมีอำนาจเหนือสัตว์ต่างๆ โดยมีเงื่อนไขที่ต้องยอมรับต่างกันไปในแต่ละศาสนา
ในขณะที่ Hunter Gatherer ต้องสนใจความรู้สึกว่ากวางตัวนั้นคิดอะไรอยู่ สิงโตตัวนั้นกำลังคิดอะไรอยู่ เพราะมันเกี่ยวข้องกับความอยู่รอดโดยตรง
Agriculture Revolution ได้แยกมนุษย์ ให้มีลำดับชั้นเหนือกว่าสัตว์อื่นๆ
Agriculture revolution จึงเป็นทั้ง economic และ religious revolution
มันทำให้ เกิดระบบเศรษฐกิจ เกิดลำดับขั้นของมนุษย์แบบใหม่ๆ และเกิดศาสนาแบบใหม่ ที่ยอมให้มนุษย์เอาเปรียบสัตว์ตัวอื่นๆได้
ที่น่าสนใจคือ กระบวนการลดคุณค่าความสำคัญ ( Degrade) สัตว์ชนิดอื่นๆ จากเป็นเพื่อนร่วมโลก จนกลายเป็นสมบัติของมนุษย์นั้น ก็ไม่ได้หยุดแค่สัตว์ร่วมโลก
ท้ายสุดมันก็ย้อนกลับมาทำร้ายมนุษย์ด้วยกันเอง ดังที่เราเห็นตั้งแต่สมัยโบราณ ที่มีทั้งการค้าทาส การค้ามนุษย์ การแบ่งวรรณะ การเหยียดผิว เป็นต้น
Five Hundred Year of Solitude
Animism : เมื่อนายพรานโบราณออกล่าสัตว์ เขาขอความช่วยเหลือจากวัวป่า และวัวป่าก็ขอบางอย่างเป็นสิ่งตอบแทน
Agricultural Revolution :เมิ่อชาวนาโบราณขอให้วัวของเขาผลิตนมเยอะๆ เขาขอพรพระเจ้า พระเจ้าก็ขอสิ่งตอบแทน
Scientific Revolution: เมื่อนักวิทยาศาสตร์ ของ Nestle’ ต้องการเพิ่มผลผลิตนมวัว พวกเขาศึกษาGene และ Gene ไม่ต้องอะไรตอบแทน!
1
ถ้า Agricultural Revolution นำมาซึ่งศาสนาแห่งเทพเจ้า (Theism)
Scientific Revolution ก็นำมาซึ่ง ศาสนาแห่งมนุษย์ (Humanist religion/ Humanism)
มนุษย์ขึ้นมาแทนที่ตำแหน่งพระเจ้า และบูชาความรู้สึก ตัวตนของมนุษย์ด้วยกัน และนั่นหมายถึงว่า สัตว์ต่างๆ ก็ยิ่งมีสำคัญน้อยลงไปอีก
แต่ผิดคาด…ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มแสดงความเห็นแกเห็นใจสิ่งมีชิวิตร่วมโลกมากขึ้น เหตุผล? หรือว่ามนุษย์กลัวจะกลายเป็น Lower life form ไปด้วย?
จึงนำมาสู่คำถามว่า ถ้าศาสนาไม่เกี่ยวอะไรกับการเพิ่มคุณค่าให้มนุษย์ ลำพังแค่ Humanism ก็สามารถเพิ่มคุณค่าให้มนุษย์ได้แล้ว
1
แล้วมันคืออะไรหละ ที่ทำให้มนุษย์ มีคุณค่ากว่าสัตว์ ?
…เพราะเราฉลาดกว่างั้นหรือ?
ถ้าหากวันใดที่ Computer program พัฒนาจนถึงขั้นมี Superhuman intelligence จนมันเลียนแบบสมองมนุษย์ได้ และมันฉลาดกว่าเรา…มันจะมีค่ากว่าเราหรือไม่?
จะโอเคมั้ยถ้า AI ใช้ประโยชน์คนแบบทิ้งๆขว้างๆ หรือฆ่าคนได้เมื่อมันต้องการ เหมือนที่เราทำกับ หมู เห็ด เป็ด ไก่?
ถ้ามันไม่โอเค มันไม่ควรเกิดขึ้น …AI ไม่มีสิทธิ์หรือความชอบธรรมมาทำร้ายเรา แม้มันจะเก่งกว่า ฉลาดกว่ามนุษย์สักแค่ไหน .... ก็จะพาเราสู่คำถามสำคัญ ที่ต้องย้อนกลับไปตั้งแต่ต้น นั่นคือ
1
มนุษย์มีความชอบธรรมอะไรที่จะไปทรมานสัตว์อื่นๆ หรือ ฆ่าสัตว์ตัวอื่นๆได้หละ?
หรือเพราะมนุษย์มี ประกายเวทมนตร์วิเศษ (Magical Spark) อะไรบางอย่าง ที่อยู่ดีๆก็ประทุออกมา ดุจดังมนตราคาถา เสกให้เผ่าพันธุ์นี้เหนือกว่า และ แยกออกมาได้จาก หมู ไก่ ชิมแปนซี หรือแม้แต่ Super AI
ถ้าใช่ … Magical Spark ที่ว่านั้นมาจากไหน แล้วทำไม AI จะไม่สามารถพัฒนามันได้เหมือนเราหละ
อะไรกันแน่ที่ทำให้มนุษย์ฉลาด และมีอำนาจจนมาถึงจุดนี้ได้?
คำถามนี้สำคัญ เพราะมันจะช่วยตอบว่า ถ้าในอนาคต มีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Entity) ที่เหนือกว่า Sapiens และเอาชนะเราได้ อนาคตของ Sapiens จะกลายเป็นอย่างไร? และช่วยตอบว่า จะมี Entity ใด สามารถเอาชนะเราในอนาคตได้หรือไม่?
ติตตาม อัพเดท บทความอื่นๆ ได้ที่ FB : ในโลกของคนอยู่เป็น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา