20 ธ.ค. 2019 เวลา 10:15 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เหมืองความคิด"ขอเสนอในชื่อเรื่อง"
ไนท์แมร์ (Nightmare) ทูตฝันร้ายไนท์แมร์
คือ ปีศาจที่กินฝันร้ายของผู้คนมีลักษณะคล้ายม้าสีดำ และมียมทูตถือเคียวอยู่บนหลัง
แต่ไม่มีลักษณะแน่นอน... มันสามารถเปลี่ยนรูปร่างเป็นไปตามจิตใจของคนเป็นอะไร ก็ได้เพื่อทำให้คนผู้นั้นฝันร้าย
บางครั้งมันจะกินฝันร้ายของผู้คนเพื่อให้เขาสบายใจ แต่บางครั้งมันก็จะสร้างฝันร้ายและทำให้คนผู้นั้นเกิดความเสียหายทางจิตใจจนตาย
ไม่มีวิธีกำจัดมันได้อย่างแน่นอน แต่สามารถป้องกันได้โดยการไม่นอนหลับ
แต่เดิมนั้นไนท์แมร์ถูกเรียกว่าเป็นความฝันอันโหดร้ายในขณะตื่นขึ้น เพราะความฝันจะเกิดขึ้นในช่วงที่นอนหลับในรูปแบบ REM (rapid eye movement) หรือภาวะหลับไม่สนิทซึ่งเมื่อเปิดเปลือกตาของผู้หลับ
ในสภาวะนี้จะเห็นว่าลูกตาดำนั้นเคลื่อนไหวไปมาราวกับตื่นอยู่และมีท่าทางทรมาน
แต่งานวิจัยล่าสุดระบุว่า
หากคุณฝันร้ายเมื่อคืนนี้ ก็อาจเป็นเรื่องที่ดี
ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐฯ พบหลักฐานบ่งชี้ว่า
ความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นในขณะหลับฝันอาจช่วยให้สมองมีประสิทธิภาพดีขึ้นในการตอบสนองต่อความรู้สึกกลัวในยามที่เราตื่น
ทีมนักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยเจนีวา, โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเจนีวา ในสวิตเซอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ในสหรัฐฯ
ร่วมกันศึกษาว่าสมองมีการตอบสนองอย่างไรต่อความฝันในรูปแบบต่าง ๆ และหาว่าฝันร้ายที่มีความน่ากลัวระดับปานกลางจะมีประโยชน์ต่อคนเราอย่างไร
ทีมนักวิจัยชี้ว่า ความฝันอาจถูกนำมาใช้เป็นรูปแบบหนึ่งในการรักษาโรควิตกกังวล (anxiety disorder )
อย่างไรก็ตาม พวกเขาพบว่า ฝันร้ายที่มีความน่ากลัวมาก ๆ จะไม่ก่อประโยชน์และส่งผลในเชิงลบมากกว่าผลดี
ความฝันช่วยให้เรา "เตรียมพร้อมกับอันตรายในชีวิตจริง"
ทีมนักวิจัยได้ศึกษาเรื่องนี้โดยใช้ขั้วไฟฟ้า (electrode) ติดไว้ที่ผู้เข้าร่วมการทดลอง 18 คน และให้ผู้เข้าร่วมการทดลองอีก 89 คน
จดบันทึกเรื่องการนอนหลับและการฝันของตัวเอง
จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ว่าอารมณ์ความรู้สึกขณะที่ฝันมีความเชื่อมโยงกับความรู้สึกในขณะที่ตื่นหรือไม่
ผลการศึกษาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Human Brain Mapping บ่งชี้ว่า
ฝันร้ายช่วยให้คนเรา "ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่น่ากลัวได้ดีขึ้น"
โดยพบว่า เมื่อคนเราตื่นขึ้นจากฝันร้าย บริเวณของสมองที่ควบคุมการตอบสนองต่อความกลัวจะทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นี่จึงบ่งชี้ว่า ฝันร้ายคือหนทางหนึ่งที่ช่วยให้คนเราเตรียมพร้อมรับมือกับความกลัวในชีวิตจริง
อารมณ์กับฝันร้าย
ทีมนักวิจัยระบุว่า พบ "ความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างอารมณ์ที่เรารู้สึกในขณะหลับและตื่น"
โดยฝันร้ายเป็นการจำลองสถานการณ์ที่น่ากลัวเพื่อให้เราได้ซักซ้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราตื่น
นายแลมปรอส เปโรแกมฟ์รอส หนึ่งในทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเจนีวา กล่าวว่า
"ความฝันอาจถือเป็นการซักซ้อมปฏิกิริยาตอบสนองในอนาคตของเรา และเตรียมเราให้พร้อมเผชิญหน้ากับอันตรายที่จะเกิดขึ้นในชีวิตจริง"
อย่างไรก็ตาม นายเปโรแกมฟ์รอส ชี้ว่า หากความฝันมีระดับความน่ากลัวมาก ๆ ก็จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ และจะไปรบกวนการนอน รวมทั้ง "ส่งผลกระทบเชิงลบ" ต่อเนื่องไปจนถึงตอนที่เราตื่นจากฝัน
แหล่งที่มา: BBC
โฆษณา