23 ธ.ค. 2019 เวลา 02:10 • ประวัติศาสตร์
จอมพลถนอม กิตติขจร
"นายกรัฐมนตรีที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศไทย"
Time x Biography
ผม The Time ขอเล่า
จอมพลถนอม กิตติขจร
นับตั้งแต่ไทยเปลี่ยนการปกครองในปี พ.ศ. 2475 โดยคณะราษฎร์ ตลอดระยะเวลากว่า 35 ปีที่บ้านเมืองถูกปกครองโดยทหาร จนในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ถือเป็นวันมหาวิปโยค หรือวันแห่งชัยชนะของประชาชน ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น และคนไทยไม่ควรลืม เขาคือ "จอมพล ถนอม กิตติขจร"
1
จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2454 ณ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
บิดาชื่อ นายอำพัน กิตติขจร หรือ ขุนโสภิตบรรณารักษ์
มารดาชื่อ นางลิ้นจี่ กิตติขจร
มีพี่น้อง 7 คน
1
จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 1 ต่อมารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
1
ในปี พ.ศ. 2491 ก็ได้เข้าร่วมการก่อรัฐประหาร เพิ่มให้จอมพล ป. กลับมานั่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ตอนนั้นถนอม กิตติขจรมียศเป็นพันโท
ก่อรัฐประหาร
และหลังจากนั้นท่านก็ค่อยๆเลื่อนตำแหน่ง เป็นรองผู้บัญชาการกองพล ผู้บัญชาการกองพล รองผู้บัญชาการภาคทหารบก และเป็นแม่ทัพภาค ตามลำดับ
จนท่านได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในสยัมจอมพล ป.
และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ทำการปฏิวัติ ก็ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในสมัยนายพจน์ สารสิน
1
เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2501 ทางสภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งให้ท่านป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 10 ของประเทศ แต่ท่านถนอมก็บริหารประเทศแค่ 9 เดือนเศษก็ขอลาออก เพื่อเปิดทางให้จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่กลับมาจากการรักษาจากต่างประเทศ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน
1
สภาผู้แทนราษฎร กับ จอมพลถนอม กิตติขจร
แต่เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ถึงแก่อสัญกรรม จอมพลถนอม กิตติขจร ก็ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
3
รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร บริหารประเทศตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2502 สืบต่อจากรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
3
ในช่วงเวลาที่ท่านบริหารประเทศ ได้สร้างทางหลวงและเขื่อนต่างๆ เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นต้น
อีกทั้งท่านยังปรับปรุงและพัฒนากองทัพให้ทันสมัยทัดเทียมกับนานาชาติ และยังได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนามด้วย
จนในปี พ.ศ. 2511 ท่านได้ประกาศให้กลับมาใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งร่างตั้งแต่สมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ และประกาศให้มีการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512
1
จอมพลถนอมก็ได้จัดตั้งพรรค "สหประชาไทย"
โดยท่านเป็นหัวหน้าพรรค และมีพลเอกประภาส จารุเสถียร และ นายพจน์ สารสิน เป็นรองหัวหน้าพรรค มีพลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ เป็นเลขาธิการพรรค
สหประชาไทย
ผลการเลือกตั้ง พรรคของจอมพลถนอมได้ที่นั่ง ส.ส. ในสภาฯไปถึง 75 ที่นั่ง และพรรคประชาธิปัตย์ได้ไป 50 ที่นั่ง ส่วนที่เหลือเป็น ส.ส. จากพรรคเล็กพรรคน้อย และ ส.ส. อิสระ
ผลการเลือกตั้งท่านจอมพลถนอมชนะและได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
แต่แล้วในปี พ.ศ. 2514 ท่านได้ตั้งทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง และจัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น และท่านก็ดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาบริหารคณะปฏิวัติ
1
มีผู้อำนวยการ 4 ฝ่าย คือ
1. พลเอกประภาส จารุเสถียร เป็นผู้อำนวยการฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ
2. นายพจน์ สารสินเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจและการคลัง
3. พลอากาศเอกทวี จุลละทรัพย์ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายเกษตรและคมนาคม
4. พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจขณะนั้น เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศึกษาและสาธารณสุข
ในช่วงต้นท่านดำรงตำแหน่ง เศรษฐกิจของไทยก็มีความเจริญเติบโตขึ้นตามลำดับแบบแผนที่วางเอาไว้ ในช่วงแรกๆรายได้ประชาชนเพิ่มขึ้น เพราะรํบบาลได้ทำการกู้เงินจากต่างประเทศ เอามาสร้างถนน เขื่อน ไฟฟ้า ปรพปา ต่างๆ เพื่อช่วยในภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร
1
เมื่อมีสิ่งอำนวยตวามสะดวกเหล่านี้ ทำให้เริ่มมีนายทุกจากอเมริกา ญี่ปุ่น และ ไต้หวันเริ่มเขามาลงทุน
1
จอมพลถนอม กิตติขจร
แต่แล้วช่วงหลัง รายได้ของประชาชนลดลง เพราะความล้มเหลวทางด้านเกษตร เพราะรัฐบาลมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมมากกว่าเกษตร ซึ่งมันคือรายได้หลักของประเทศ
ส่งผลให้เกิดการอพยพแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมือง ส่งผลต่อการปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและการเมืองในเวลาต่อมา
อีกทั้งในปี พ.ศ. 2513 สหรัฐอเมริกาถอนทหารออกจากประเทศไทย ทำให้ไทยขาดรายได้จากการตั้งฐานทัพของสหรัฐอเมริกา และจะส่งผลให้งบประมาณประจำปี พ.ศ. 2515 เริ่มขาดดุลอย่างหนัก
1
เศรษฐกิจไม่ดี การเมืองก็แตกแยก แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่าง กลุ่ม พล.ต.อ ประเสริฐ รุจิรวงศ์ อธิบดีกรมตำรวจ กับกลุ่มของจอมพลถนอมและจอมพลประภาศ
1
ต่อมาเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นคือ มีการลบชื่อนักศึกษาเก้าคนของมหาวิทยาลัยรามคำแหงออก เกิดมาจากเรื่องการประท้วงที่เฮลิคอปเตอร์ตกที่ทุ่งใหญ่นเรศวร และพบซากสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก
เฮลิคอปเตอร์ตกที่ทุ่งใหญ่นเรศวรและพบซากสัตว์ป่า
นำมาสู่การเดินขบวนเรียกร้องคามเป็นธรรมแก่นักศึกษา ในการประท้วงมีนักศึกษาจากทุกสถาบันกว่า 50,000 คนเข้าร่วม ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2516
3
ในช่วงแรกแค่เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงรับนักศึกษาทั้งเก้าที่ออกมาประท้วงได้กลับไปเรียนตามปกติ
แต่เรื่องก็กลับลามไปถึงการเรียกร้องให้อธิกาบดีของม.รามคำแหงลาออก และเรียกร้องให้รัฐบาลคืนอำนาจการปกครองแก่ประชาชน พร้อมกับเรียกร้องให้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 6 เดือน
ผลสรุปฝ่ายนักศึกษาชนะ นักศึกษาทั้งเก้าได้กลับมาเรียนตามปกติ
ดร. ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์ ลาออกจากตำแหน่งอธิกาบดี
แต่เรื่องรัฐธรรมนูญนั้นไร้ผล
จนมีการก่อตั้ง "กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ" ขึ้น นำทีมโดย นายธีรยุทธ บุญมี
ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2516 กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญได้ออกแถลงข่าวให้ประชาชนออกมาสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของตน
กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ
วันต่อมาแกนนำนักศึกษา 13 คนของกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญถูกจับ ถูกตั้งข้อหา "มั่วสุมชักชวนให้มีการชุมนุมทางการเมือง" และ "ขบถภายในราชอาณาจักร"
1
จากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้เกิดการร่วมตัวของ นิสิต นักศึกษา และประชาชนออกมาประท้วงกว่าแสนคน และแล้ววันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 รัฐบาลจอมพลถนอมได้ออกคำสั่งให้ทหาร และตำรวจใช้อาวุธเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงที่ไม่มีอาวุธ
1
ทำให้เกิดการจลาจลไปทั่วเมือง มีผู้คนล้มตายบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
แต่แล้วปาฏิหาริย์ก็เกิดขึ้น เมื่อ "พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช" เข้ามายุติความรุนแรง พระองค์ท่านทรงออกรายงานทางโทรทัศน์ให้หยุดการใช้กำลังกับประชาชน และเรียกจอมพลถนอมเข้าเฝ้า และเกลี่ยกล่อมให้จอมพลถนอมลาออก เพื่อยุติความขัดแย้ง
ในที่สุดจอมพลถนอมก็ลาออก ร่วมระยะเวลาที่จอมพลถนอมเป็นนายกฯทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ และเดินทางออกนอกประเทศ
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็แต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่และจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่แทนชุดเก่า
14 ตุลา
ในวัย 65 ปีของจอมพลถนอมได้กลับประเทศไทยอีกครั้งโดยบวชเป็นสามเณร แต่นักศึกษาและประชาชนได้ออกมาประท้วงและขับไล่อดีตนายกฯอีกครั้ง
และแล้วในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2547 จอมพลถนอม กิตติขจรในวัย 92 ปีถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกในเวลากลางดึก
เหลือไว้เพียงความทรงจำที่คนไทยทั้งประเทศไม่เคยลืม เหตุการณ์ "14 ตุลา วันมหาวิปโยค" ที่วีรชนคนรุ่นหลังที่ควรจดจำ และการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอมในสมัยของท่าน
รู้หรือไหม
ตอนที่เกิดความรุนแรงระหว่างทหารและประชาชน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีรับสั่งให้มหาดเล็กเปิดประตูพระวังสวนจิตรลดา แล้วให้เหล่านักศึกษาบางกลุ่มเข้ามาหลบภัย จากความรุนแรง
2
เปิดประตูพระวังสวนจิตรลดาให้เหล่านักศึกษาเข้ามาหลบภัย
อ้างอิงจาก "หนังสือ 100 ตนผู้ทรงอิทธิพลแห่งสยามประเทศ"

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา