21 ธ.ค. 2019 เวลา 08:43 • ไลฟ์สไตล์
แนะนำของดีบ้านเรา "ปทุมธานี"
ปทุมธานี กราบพระ ไหว้เซียนแปะ แวะทานของอร่อยที่วัดศาลเจ้า
นอกจากปทุมธานีมีสาวมอญสวยๆ แล้ว ก็ยังมีสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ ใครอยากรู้จัก "เซียนแปะ โรงสี วัดศาลเจ้า" เชิญเข้ามาอ่านค่ะ..ว่าท่านดังในเรื่องใด...มาม๊ะๆๆ
พนอ ชมภูศรี
วัดศาลเจ้า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ในพื้นที่ ต.บางกลาง อ.เมือง ปทุมธานี ถือเป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานกว่า 200 ปี ประวัติการสร้างวัดศาลเจ้า นั้น กล่าวว่าวัดนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยชาวรามัญที่อพยพหลบหนีภัยสงครามจากพม่า เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในครั้งนั้นชาวรามัญเข้่ามากันเป็นจำนวนมาก โดยแยกย้ายกันไปตั้งถิ่นฐานทั้งในพื้นที่เมืองสามโคกหรือเมืองปทุมธานีในปัจจุบัน เมืองพระปะแดง ปากเกร็ด ปากลัด เป็นต้น ชาวมอญ หรือชาวรามัญเหล่านี้ล้วนแล้วแต่นับถือพระพุทธศาสนา เมื่อตั้งหลักปักฐานมั่นคง ก็มีการสร้างวัดขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ รวมทั้งปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ และวัดแห่งนี้ก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
พนอ ชมภูศรี
ที่วัดแห่งนี้นอกจากจะมี พระอุโบสถที่งดงาม เจดีย์ทรงรามัญ รวมทั้งเสนาสนะต่างๆดังเช่นวัดทั่วๆไปแล้ว ยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ศาลเซียนแปะ หรือ “แปะ โรงสี” ฆราวาสผู้เรืองวิทยาคม จนเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้ว่า ในทุกๆวันจะมีประชาชนจากทุกสารทิศเดินทางมากราบไหว้ขอพร “แปะ โรงสี “กันอย่างเนืองแน่น “แปะ โรงสี” ได้รับการยกย่องว่าเป็นเซียน โดยเฉพาะ เหรียญ ล๊อกเก็ต และผ้ายันค์ฟ้าประทานพรอันโด่งดัง เป็นที่ต้องการของลูกศิษย์และผู้เคารพเป็นอย่างสูง
พนอ ชมภูศรี
“แปะ โรงสี” หรือนายกิมเคย หรือกิมโคย แซ่โง้ว เกิดที่ประเทศจีน ติดตามบิดามารดาเข้ามาถึงพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเติบโดขึ้นมาก็ประกอบอาชีพค้าขายข้าวเปลือก ต่อมาเมื่อกิจการดีขึ้นจึงได้ร่วมลงทุนทำกิจการโรงสีข้าว และแต่งงานกับนางศรี เอี่ยมเข่ง และเริ่มดำเนินกิจการโรงสีที่เป็นของตนเองที่บริเวณปากคลองเชียงราก เยื้องกับวัดศาลเจ้าในนาม”โรงสีไฟทองศิริ และโอนสัญชาติเป็นไทย รวมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น นายนที ทองศิริ
ด้วยอุปนิสัยของท่านที่เป็นคนโอบอ้อมอารีย์ ชอบชี้แนะและให้ความช่วยเหลือผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาคม มีวิชาไล่ฝน ปรับเปลี่ยนดินฟ้าอากาศ จนลูกศิษย์ที่เคารพนับถือยกย่องให้เป็นเซียน เรียกกันว่าเซียนแปะ โรงสี ทั้งนี้ท่านมักจะช่วยชี้แนะแก่ลูกศิษย์เกี่ยวกับเรื่องฮวงจุ้ย ทำเลที่ตั้งร้านค้าบ้านเรือนโดยไม่คิดค่าตอบแทน ซึ่งผู้ที่ได้รับคำแนะนำหรือชี้แนะจากท่าน จะประสบความสำเร็จกิจการค้าขายเจริญรุ่งเรืองจนเป็นที่เลื่องลือ แม้แต่เจ้าสัวใหญ่ระดับประเทศ ก็ยังได้รับคำชี้แนะจากเซียนแปะ จนกิจการค้าเจริญรุ่งเรืองใหญ่โตทั้งในประเทศและต่างประเทศ
พนอ ชมภูศรี
พนอ ชมภูศรี
พนอ ชมภูศรี
เซียนแปะ โรงสี ถือเป็นกำลังสำคัญในการบูรณะวัดศาลเจ้า ซึ่งในสมัยนั้นการคมนาคม การขนส่งยังลำบาก แต่ท่านไม่เคยย่อท้อ ได้ร่วมแรงร่วมใจกับผู้มีจิตศรัทธาทำการบูรณะวัดศาลเจ้าจนสำเร็จลุล่วง อีกทั้งท่านยังเป็นผู้กำหนดวันในการจัดงานประจำปีศาลเจ้าพ่อวัดศาลเจ้า คือ วันขึ้น 5 ค่ำ เดือนอ้าย หรือเดือน 1 ถึงวันขึ้น 8 ค่ำ รวมงาน 4 วัน 4 คืน ซึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนจะเรียกช่วงนี้ว่า “เจียง่่วย ซิวโหงว ถึง เจียงง่วย ซิวโป๊ย” และยึดถือเป็นประเพณีสืบต่อมา
ความโอบอ้อมอารีย์ คอยชี้แนะให้คำแนะนำแก่ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปของเซียนแปะ ดำเนินติดต่อมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต “เซียนแปะ โรงสี” จากลูกศิษย์ไปในวันที่ 16 มกราคม 2526 ด้วยอายุ 85 ปี หลังเสร็จสิ้นพิธีศพของท่าน ทางครอบครัวและคณะศิษย์ได้จัดสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าตัวจริง ตั้งไว้ให้เป็นที่สักการะบูชา ณ ศาลานที ทองศิริ ภายในวัดศาลเจ้า จนถึงทุกวันนี้
ความโอบอ้อมอารีย์ คอยชี้แนะให้คำแนะนำแก่ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปของเซียนแปะ ดำเนินติดต่อมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต “เซียนแปะ โรงสี” จากลูกศิษย์ไปในวันที่ 16 มกราคม 2526 ด้วยอายุ 85 ปี หลังเสร็จสิ้นพิธีศพของท่าน ทางครอบครัวและคณะศิษย์ได้จัดสร้างรูปเหมือนขนาดเท่าตัวจริง ตั้งไว้ให้เป็นที่สักการะบูชา ณ ศาลานที ทองศิริ ภายในวัดศาลเจ้า จนถึงทุกวันนี้
พนอ ชมภูศรี
หลังจากกราบพระ ไหว้เซียน แล้วก็เดินเที่ยวชมตลาดน้ำวัดศาลเจ้าและวัดมะขาม ชิมสินค้าพื้นที่ และอาหารอร่อยๆที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าในพื้นที่ใกล้เคียงนำมาวางจำหน่ายกันอย่างมากมายภายในบริเวณวัดศาลเจ้า อาทิ ก๋วยเตี๋ยวรสเลิศ ที่มีอยู่หลายร้าน ที่สำคัญมีร้านก๋วยทรงเสวยด้วย กุ๋ยช่ายเจ้มลแสนอร่อยค่ะ ล้วนแล้วแต่อุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันเข้าไปอุดหนุน ขนมกุ๋ยช่ายเลื่องชื่อ ห่อหมกเลิศรส ขนมไทยๆ หลายหลาก ผักผลไม้สดๆของชาวบ้านที่นำมาจำหน่าย ก่อนกลับก็อย่าลืมแวะไปทำทาน ให้อาหารปลาที่ริมแม่น่ำเจ้าพระยา ที่มีปลาหลากหลายสายพันธ์ นับหมื่นนับแสนตัวที่รอการมาเยือนของทุกๆท่านด้วยนะ
ขอบขอบคุณ
พนอ ชมภูศรี
ข่าวสารทั่วไทย 77 ข่าวเด็ด 77 จังหวัด
โฆษณา