24 ธ.ค. 2019 เวลา 14:50 • ความคิดเห็น
"เจ้าพ่อกู่ช้าง"เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือย่างยิ่งของชาวลำพูน ใครเดือดร้อนก็จะไปบนขอให้ช่วย เมื่อสมหวังก็จะแก้บนโดยรูปปั้นช้าง
ว่ากันว่าเป็นช้างทรงของพระนางจามเทวี เมื่อตายไปก็ถูกนำมาฝังยังตะวันออก ของเมืองลำพูน หันงวงไปทางไหน บ้านเมืองจะร้าง จึงฝังแบบเอางวงชี้ฟ้า แล้วสร้างเจดีย์สถูปครอบเอาไว้
ช้างก่ำคือช้างลำตัวสีดำเหมือนข้าวเหนียวดำ แต่งาสีเขียว เวลาร้องดุจฟ้าคำราม เป็นช้างทรงคู่บารมี พระนางจามเทวี ครั้งที่พระนางจามเทวี ทำศึกกับขุนวิลังคะ ซึ่งเป็นชนเผ่าบนดอยสุเทพ ช้างก่ำงาเขียว แสดงอิทธิฤทธิ์จน ขุนวิลังคะเกรงขาม
คราวนั้นผู้เขียนกับเพื่อนไปเที่ยวลำพูน พักกับคนที่นับถือ ชื่อศักดิ์ บุญมา มีภรรยาเป็นครูสอนที่รร.เวียงยอง อยู่หลังตัวเมือง ชื่อพงษ์จันทร์ บ้านพักอยู่ใกล้ประตูลี้ บ้านหลวยเป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวหลวย ที่ถูกกวาดต้อนมาจาก12ปันนา ตะวันออกของเชียงตุง ระหว่างที่พักอยู่นั้น เช้าวันหนึ่งชาวบ้าน วิ่งมาบอกว่า "เจ้าพ่อกู่ช้าง" อาละวาดส่งเสียงร้องกัมปนาท จนชาวบ้านแตกตื่นไปตามๆกัน
สอบถามได้ความว่า มีคนบุกรุกที่ทำบ้านจัดสรร ซึ่งรุกที่"เจ้าพ่อกู่ช้าง" ผู้เขียน&เพื่อน&พี่ศักดิ์ จึงรีบไปดู มีชาวบ้าน4-5คนเอาอิฐ เล็กๆ4-5ก้อน ไปล้อมรอยเท้าช้าง ไม่ให้ใครเหยียบ เป็นรอยใหม่ย่ำตามพื้นดิน ไม่ห่างจากบ้านจัดสรร ที่เริ่มโครงการไว้ ชาวบ้านเล่าว่าตอนตี4กว่าๆ ได้ยินเจ้าพ่อร้องจนฟ้าสางก็เงียบไป เมื่อออกมาดูมีรอยเท้าช้างย่ำเต็มไปหมด
วันนั้นทั้งวันชาวบ้านไม่ยอมไปไหน ชุมนุมที่ศาลเจ้าพ่อกู่ช้างทั้งวัน
เรื่องราวของช้างก่ำงาเขียว มีมากมายคู่กับประวัติเมืองลำพูน เป็นช้างคู่บารมีพระนางจามเทวี ในช่วงครองเมืองลำพูน ช่วยปกปักษ์รักษาเมือง ยามเกิดสงครามก็ออกรับศึก แสดงอภินิหารขับไล่ศัตรูให้พ่ายแพ้ไปอย่าง น่าอัศจรรย์
หลังจากนั้นในเวลาต่อมา โครงการบ้านจัดสรรมีอันต้องล้มเลิกไป เจ้าพ่อกู่ช้างนี้ชาวลำพูน&จังหวัดใกล้เคียงนับถือกันมาก มักขอพรให้ปลอดภัยจากการเดินทาง โดยนำอิฐก้อนเล็กๆติดตัวไปด้วย แล้วกลับมาคืนที่เดิม
เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาในทางงมงาย เพียงเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นวิทยาทาน&อ่านเล่นเพลิน เนื่องจากเป็นตำนาน&เรื่องเล่า ที่มีมาช้านานของชาวลำพูน
#อ้างอิงจาก หนังสือ"เหนือธรรมชาติ เหลือเชื่อ แปลกแต่จริงในประวัติศาสตร์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา