27 ธ.ค. 2019 เวลา 10:18
เรื่องสั้นขนาดยาวชุดนทีแห่งชีวิต
เรื่องอิยะความหมายที่หายไป ภาค5
ตอนที่4..ที่พักสุดท้าย
photograph by little walk_.
"เกือบถึงแล้วเด็กๆ"ชายหนุ่มอิยะ..ปั่นจักยานนำหน้าตะโกนให้สัญญาณ พวกเขากำลังไปที่ผาหล่มสัก อิยะ ริวจิ พิมพ์มาดาพี่สะใภ้ และเด็กแฝดอาโปและน้ำใจลูกแฝดชายหญิงของริวจิและพิมพ์มาดา
ใกล้เย็นพอดีที่ผาหล่มสัก เป็นหน้าผาที่อยู่ไกลที่สุดรวมระยะทางร่วม9กม.จากผาหมากดูกซึ่งเป็นหน้าผาแรก พวกเขาพากันปั่นจักรยานลัดเลาะตามแนวหน้าผา ผาหมากดูก ผาจำศีล ผานาน้อย ผาเหยียบเมฆ ผาแดง สุดท้ายผาหล่มสักกิโลเมตรที่9
1
ผาหล่มสัก มีที่มาจากชื่อชุมชน ที่อยู่เบื้องล่าง
เมื่อมองจากหน้าผา จะเห็นชุมชนหล่มสัก เขตจ.เพชรบูรณ์ ถ้าท้องฟ้าดีจะมองเห็นภูผาจิตสูงสุดในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว
ปกติที่นี่จะมีผู้มาเยือนมาก วันนี้ก็เช่นกัน หลังจากพักให้หายเหนื่อย ผู้คนก็ไม่มีท่าทีจะกลับ
พวกเขาจึงตัดสินใจกลับ เบื้องต้นกะว่าจะมาโปรยอัฐิของผู้เป็นมารดาและบิดาที่นี่ ตามความประสงของผู้เป็นมารดา เขาจึงเลี่ยงมาอีกที่หนึ่งอยู่ระหว่างผาหล่มสักและผาแดง เป็นชะง่อนหินผา และไม่มีผู้คน
ที่นี่คงเหมาะกับเขาทั้งสอง
ชายหนุ่มคลี่ผ้าขาวข้างในบรรจุอัฐิของผู้เป็นมารดาและบิดา ถูกบดรวมกัน..เถ้าสีขาว
"พี่จิว่าพ่อกับแม่จะรับรู้มั้ย "
อิยะผู้เป็นน้องชายถาม
ริวจิพยักหน้าแทนคำตอบ น้ำตาชายหนุ่มผู้เป็นพี่ชายเริ่มซึม แม้ไม่ใช่พ่อแม่ที่ให้กำเนิด ก็เป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงดูและให้ชีวิต
photograph by little walk_.
"คุณพี่...เดี๋ยวดิฉันพาเด็กๆไปเล่นทางนู้นนะคะ" พิมพ์มาดากล่าวกับสามี
เธออยากให้สามีและน้องชายได้ส่งผู้เป็นอันเป็นที่รักอย่างเงียบๆด้วยรู้ว่า มันช่วงเวลาสำคัญของเขาทั้งสอง
เธอเองก็ได้รับความกรุณาจากคุณแม่น้ำตกอย่างมากมาย จากเด็กหญิงผู้อยู่กับยาย เป็นเพื่อนบ้านปลูกเรือนข้างที่ทำการมูลนิธิใจใสของคุณแม่น้ำตกเล็กคุณพ่อซก เป็นมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยจิตเวชที่ยากไร้
เธอเองก็เข้ามาวิ่งเล่นและช่วยงานที่มูลนิธิบ่อยๆจนกระทั่งเรียนจบมัธยม6 คุณยายก็ได้จากไป เหลือตัวเธออยู่คนเดียว คุณแม่น้ำตกเลยชักชวนมาอยู่ด้วยและส่งเสียเธอเรียนพยาบาล
ส่งเข้าอบรมจนเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการใช้เครื่องTMS*หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อการรักษาผู้ป่วยซึมเศร้า ซึ่งตอนนั้นเป็นเรื่องที่ใหม่มาก
.
และริวจิสามีของเธอตอนนี้ ครั้งที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน ก็เป็นผู้ป่วยคนแรกของเธอที่ได้ใช้วิธีนี้ ร่วมกับคุณหมอน้ำตกแม่ของริวจินั่นเอง เนื่องจากระยะหลังริวจิไม่สามารถใช้ยาชนิดกินได้เนื่องจากมีอาการแพ้ อาเจียนทุกครั้งที่กินยาซึ่งเกิดได้เป็นบางรายและน้อยรายที่จะเกิด
.
.
พบว่าการรักษาได้ผลดีพอๆกับการใช้ยา ร่วมกับการดูแลอย่างใกล้ชิด และคนที่ให้กำลังใจริวจิเสมอ นอกจากครอบครัวก็คือพิมพ์มาดา
.
.
และช่วงสุดท้ายของพ่อริวจินายแพทย์ชลธีร์หรือหมอซก หลังจากลาสิกขาบทเนื่องจากโรคหัวใจที่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด เธอกับแม่น้ำตกก็ได้ดูแลจนช่วงสุดท้ายของชีวิต
.
เธอยังจำภาพของความรักของเขาทั้งสองในช่วงเวลาสุดท้ายได้ดี
.
แม่น้ำตกจะบอกกับทุกคนในครอบครัวว่าการจากไปเป็นเรื่องปกติของทุกชีวิต แต่จะจากไปอย่างไรไม่ให้เขาและเราตระหนก เปลี่ยนจากความกลัวเป็นความเข้าใจ ให้เขามีความสุขที่สุดในระยะท้าย
.
photograph by little walk_.
"สภาพร่างกายเปรียบเหมือนไฟในบ้านหลังหนึ่งเมื่อเข้ามาสู่ระยะท้าย ร่างกายคุณพ่อจะค่อยๆหยุดทำงาน " คุณแม่น้ำตกอธิบายแล้วพูดต่อไปว่า
"เพดาน ฝาบ้าน เหล่านี้เปรียบเหมือนอวัยวะ
โดยมีชีวิตจิตใจเปรียบเหมือนไฟส่องสว่างในบ้าน โดยที่มีแผงควบคุมสวิทต์ไฟก็คือสมอง"
"เหมือนกับดวงไฟค่อยๆหรี่ลงทีละดวง จนกระทั่งดับสนิท"
photograph by little walk_.
แม่จะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ให้หนูพิมพ์มาดาจำไว้ว่า..
"ช่วงไม่กล่าว,ช่วงไม่กิน,ช่วงไม่กลืน"
"เมื่อไฟดวงที่หนึ่งดับลงก็คือสมองส่วนรับรู้ความรู้สึกนึกคิดหยุดทำงาน
ในช่วงนี้คุณพ่อจะเริ่มซึม สับสน
แม่ขอเรียกว่าช่วงไม่กล่าว"
"เมื่อไฟดวงที่สองดับลงหรือสมองควบคุมการหิวหยุดทำงาน ช่วงนี้คุณพ่อก็ไม่อยากทานอาหาร น้ำ
ช่วงนี้แม่เรียกว่าช่วงไม่กิน"
"เมื่อดวงไฟดวงที่สามเป็นดวงสุดท้ายดับ สมองที่ควบคุมประสาทอัตโนมัติ การกลืน การหายใจ คุณพ่อจะกลืนน้ำลายได้ยาก และหายใจไม่สม่ำเสมอ
แม่ขอเรียกว่าช่วงไม่กลืน"
สิ่งนี้ยังจดจำในใจของพิมพ์มาดาและทุกคน และคุณพ่อก็เป็นอย่างนั้น คุณพ่อจากไปด้วยความสงบ และยังมีรอยเปื้อนยิ้ม เป็นนัยบอกว่าคุณพ่อจากไปด้วยดี ที่แม่รู้ เพราะพ่อได้เขียนบันทึกทุกอย่างไว้ให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนพาหนะชีวิต
🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅🔅
🎯ท้ายบท
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับTms*
การปรับการทำงานของสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Transcranial Magnetic Stimulation (TMS)*
เป็นอีกหนึ่งวิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่ชอบรับประทานยา ดื้อยา หรือมีภาวะข้างเคียงจากการรับประทานยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ฝันร้าย มากกว่านั้นคืออาการซึมเศร้าไม่ตอบสนองหลังรับประทานยา
TMS คือการรักษาด้วยการปล่อยคลื่นแม่เหล็กขนาดสูงลงไปบนเนื้อสมองประมาณ 3-4 เซนติเมตร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในเซลล์ประสาท เมื่อทำซ้ำหลายๆรอบ จะทำให้เซลล์ประสาทเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร มีการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ที่ดีขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้าก็จะดีขึ้นและสามารถหายขาดได้ โดยการรักษาจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคน ในรายที่รับประทานยาแล้วไม่มีผลข้างเคียงอาจจะให้รับประทานยาควบคู่ไปกับการทำ TMS สำหรับคนที่มีอาการข้างเคียงมากแพทย์จะให้หยุดยาแล้วทำ TMS เพียงอย่างเดียว ส่วนกรณีที่ไม่เคยรักษาด้วยยามาก่อนก็สามารถรักษาด้วย TMS ได้เลย
การทำ TMS 1 ครั้งใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ทำอย่างน้อย 3 ครั้ง ส่วนใหญ่หลังทำครั้งที่ 3 อาการจะดีขึ้นประมาณ 50% จากนั้นแพทย์จะประเมินว่าต้องทำอีกกี่ครั้งและทิ้งระยะห่างอย่างไร โดยรวมจะทำทั้งหมด 30 ครั้ง แต่หากหายจากโรคก่อนก็หยุดการรักษาได้เลย ในกรณีที่จบคอร์สแล้วยังมีช่วงที่อาการไม่นิ่งอยู่บ้าง แพทย์อาจนัดมากระตุ้นเดือนละ 1 ครั้งเพื่อให้อาการคงที่ต่อเนื่อง
ที่มา:รพ.รามคำแหง
✅ข้อดี
ได้ผลดีในรายที่มีอาการหนัก โอกาสที่อาการจะดีขึ้นประมาณ 70% และสามารถหายขาดได้
ปลอดภัย ผลข้างเคียงน้อยเมื่อเทียบกับการรับประทานยา บางรายมีเพียงอาการปวดหัวเล็กน้อยหลังการกระตุ้นเท่านั้น
หากเทียบกับเครื่องช็อตไฟฟ้าประสิทธิภาพการรักษาอาจเทียบเท่ากัน แต่ผลข้างเคียงต่างกันมาก การช็อตไฟฟ้าจะทำให้สมองเสื่อมลง ความจำระยะสั้นเกิดความเสียหายชั่วขณะ ในขณะที่ TMS ไม่มีเลย ในบางรายทำแล้วความจำดีขึ้นด้วย
ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการบริการแล้วกลับบ้านได้เลย แต่สำหรับการช็อตไฟฟ้าต้องนอนพักอย่างน้อย 1 คืนเพื่อดูอาการ
❌ข้อเสีย
จากงานวิจัยมีโอกาสเกิดอาการลมชักหลังการกระตุ้น แต่พบน้อยมากเพียง 1 ใน 10,000 เท่านั้น
ที่มา:Isue 247.com
โฆษณา