30 ธ.ค. 2019 เวลา 04:30 • ประวัติศาสตร์
รัฐฉาน**การเลือกอยู่กับพม่าเพราะเกลียดทหารไทยจริงหรือไม่?
พอดีเวลาที่ได้ยินได้ฟังเรื่องราวของรัฐฉานหรือดินแดนไทใหญ่ในเขตประเทศพม่า โดยเฉพาะเชียงตุง เรื่องที่ว่าเหตุใดจึงได้อยู่กับพม่านั้น มักจะมีการกล่าวอ้างคำพูดเจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง(ภายหลังเป็น ณ เชียงใหม่เพราะสมรส) ว่าตอนได้เอกราชจากอังกฤษนั้น อังกฤษถามว่าเชียงตุงว่าอยากอยู่กับพม่าหรือไทย ซึ่งเชียงตุงเลือกอยู่กับพม่าเพราะตอนไทยปกครองเชียงตุงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารไทยปล้นฆ่าและข่มขืนจนเชียงตุงเกลียดไทยนั้น ก็ทำให้สงสัยมาตลอดว่าเป็นเพราะเหตุนั้นจริงหรือไม่
2
ทั้งนี้ผมขออกตัวก่อนว่าด้วยกฎเกณฑ์ข้อบังคับสมัยนั้น รวมถึงการเข้าร่วมกองทัพญี่ปุ่นทำให้น่าจะมีการกระทำเช่นว่านั้นจริง หากแต่พอได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับพม่า 2-3 เรื่อง พอจะเข้าใจสภาพการเมืองพม่า-รัฐฉานขณะนั้นพอคร่าวๆ ซึ่งคงสรุปได้ว่าไม่น่าเป็นดังคำกล่าวนั้น โดยขอเล่าตามสังเขปดังนี้
3
เริ่มด้วยชาวไท(เชื้อชาติไท มิใช่คนในประเทศไทย) เชื่อกันว่าตนอพยพหนีมองโกลลงมาจากน่านเจ้า มาอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำสาละวินทั้งสองฝั่ง บริเวณเหนือของประเทศไทยและตะวันออกของพม่าเมื่อราว 600 กว่าปี มีการปกครองเป็นเมืองเล็กเมืองน้อยในลักษณะนครรัฐอิสระราว 3-4 สิบเมือง(พื้นที่ไม่ใหญ่) ดินแดนเป็นป่าเขาไม่เจริญ ผู้คนไม่มากและไม่มีอำนาจทางทหาร จึงอาศัยการส่งบรรณาการให้รัฐที่เข้มแข็งเพื่อความอยู่รอดทั้งพม่าและสยาม แต่โดยส่วนใหญ่เป็นพม่าโดยตลอด ภาษาพื้นเมืองเป็นไท และชนเผ่า โดยภาษาไทคล้ายกับคำเมืองของล้านนา และสามารถสื่อสารกับภาษาไทย(ไท กับ ไทย ต่างกัน) ได้เพราะพื้นฐานศัพท์ใกล้เคียง แต่วัฒนธรรมการแต่งกายโดยเฉพาะชั้นสูงอิงไปทางพม่า และปกครองโดยระบอบเจ้าฟ้า มีเจ้าฟ้าประจำเมืองไม่ขึ้นกันเอง แต่มักสมรสเป็นเครือญาติกัน
7
ต่อมาเมื่อพม่ารบกับจักรวรรดิอังกฤษ ในช่วงรัชกาลที่ 4 ไทยเองคิดฉวยเอาโอกาสนี้เข้ายึดดินแดนส่วนนี้ แต่มุ่งเน้นไปที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวินคือฝั่งเมืองเชียงตุง เมืองสาด เมืองยาง หรือฉานตะวันออก มิได้มุ่งยึดฉานเหนือและใต้ เพื่อเอาเป็นรัฐกันชนปักปันดินแดนกับอังกฤษ แต่ตีไม่สำเร็จเพราะฉานเหนือและใต้ส่งกำลังมาช่วยรวมถึงพม่าที่ต้องการรักษาที่มั่นสุดท้ายให้ได้ นั่งจึงเป็นเครื่องการันตีว่าฉานมิเคยอยู่ในอธิปไตยสยาม
4
ต่อเมื่ออังกฤษยึดพม่าสำเร็จและเนรเทศพระเจ้าสีป่อและพระนางศุภยาลัตไปอินเดีย ช่วงแรกดูเหมือนอังกฤษจะไม่สนใจฉานเท่าใดนัก ทั้งนี้เพราะห่างไกลและเดินทางยากเนื่องจากไม่มีถนนหนทาง จนเกิดการแก่งแย่งอำนาจระหว่างเจ้าฟ้าเมืองยองห้วยกับพระญาติ จึงได้ร้องขอให้ทางอังกฤษเข้ามาเป็นคนกลาง นั่นจึงเป็นการเชิญอังกฤษเข้ามาและเป็นการยอมรับอำนาจอังกฤษที่มีเหนือดินแดนฉาน ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะพม่าก็มองว่าฉานเป็นของตนมาแต่เดิมและฉานก็มองว่าพม่าเป็นเจ้าประเทศราช เมื่ออังกฤษชนะพม่าได้เขาก็เป็นเจ้าสูงสุดนั่นเอง
6
โดยช่วงนั้นอังกฤษก็ยังใส่ใจแต่พม่าอยู่ดีเพราะเจริญกว่า แล้วก็ไม่สู้สนใจความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของไท รวมไปถึงดินแดนใกล้เคียงเช่น คะฉิ่น ฉิ่น กะเหลี่ยง ดังเช่นกำหนดให้สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษหรือพม่าเท่านั้น ทั้งที่ไทเป็นชนอีกกลุ่มที่มีดินแดนและประชากรไม่น้อยในพม่า และคงเป็นแบบนี้เรื่อยมา
2
ต่อมาญี่ปุ่นประกาศสงครามมหาเอเชียบูรพา บุกยึดพม่าได้เข้ายึดส่วนของรัฐฉานด้วย โดยฝั่งตะวันออกยกให้ไทยเข้ายึด เมื่อยึดได้แล้วแม้จะยังคงระบอบเจ้าฟ้า แต่ได้ประกาศรวมฉาน คะฉิ่น ฉิ่น และกระเหรี่ยงเป็นหนึ่งเดียวกับพม่า เว้นแต่ฉานตะวันออกเพียงสองเมืองคือเชียงตุงและเมืองปั่นเท่านั้นที่ยกให้สยาม(ตามคำบอกเล่าเจ้านางจันทรา บุตรีเจ้าส่วนไตก์ เจ้าฟ้าเมืองยองห้วยและประธานาธิบดีคนแรกของพม่า)
1
ในระหว่างนี้เองทหารญี่ปุ่นก็มีเรื่องเล่าลือว่ามักข่มขืนหญิงชาวไทและทำร้ายคนที่คิดช่วย ดังครั้งหนึ่งพยายามบุกเข้าหอหลวงเมืองยองห้วยแล้วตะโกนถามว่ามีหญิงสาวหรือไม่ ตรงนี้เองคิดว่าในเชียงตุง และเมืองอื่นก็คงมีสภาพเดียวกัน
ในระหว่างนี้ย้อนไปสักนิด คือก่อนสงครามมีนายทหารหนุ่มพม่าชื่อร้อยเอกอองซาน คุ้นชื่อไหม เขาคือพ่อนางอองซาน ซุจีนั่นล่ะครับ ที่มีความคิดชาตินิยมจะขับไล่อังกฤษปลดแอกพม่า แต่ถูกตามจับจนหนีไปจีน และถูกกองทัพญี่ปุ่นจับได้ก่อนสงครามมาถึงพม่า ญี่ปุ่นเห็นโอกาสเลยนำตัวไปฝึกร่วมกับพรรคพวก 30 คนสนับสนุนเป็นกองกำลังใต้ดินต่อต้านจักรวรรดิอังกฤษ เมื่อกลับมาชายแดนทางเหนือของไทยก็รวมตัวได้ 3,000 คน เป็นกองทัพสหพันธุ์ต่อต้านฟาสซิสต์ ช่วยญี่ปุ่นรบกับอังกฤษ
9
แต่กลายเป็นว่าพอญี่ปุ่นยึดได้ ประกาศรวมฉานและดินแดนชนกลุ่มน้อยให้พม่าและให้เป็นอิสระตามสัญญา แต่รัฐบาลก็ถูกคุมจากญี่ปุ่นยิ่งกว่าอังกฤษเสียอีก ตอนนั้นเองอองซานที่เลื่อนข้ามขั้นเป็นพลตรีเลยแอบไปเจรจากับอังกฤษ ให้ช่วยกันไล่ญี่ปุ่น ซึ่งแม้อังกฤษจะระแวงความกลับกลอกของนายพลอองซานแต่ก็เห็นประโยชน์ร่วมกัน จึงตกลงและไล่ออกไปได้ในปี 2488. ภายใต้ข้อตกลงว่าจะให้เอกราชใน 3 ปี หลังสงคราม
5
แต่ก็ตามคาดนายพลอองซานกลับไปบี้รัฐบาลอังกฤษ ขอเอกราชไวกว่านั้นเมื่อสงครามจบ เพราะมีปัญหาความไม่สงบภายในและเศรษฐกิจที่ตกต่ำ จึงเปิดการเจรจาสันติภาพที่อังกฤษ โดยอังกฤษเชิญตัวแทนเจ้าฟ้าจากรัฐฉานไปด้วย เท่าที่จำได้มีตัวแทน 2 คนคือเจ้าฟ้าเมืองยองห้วยและเจ้าฟ้าเมืองแสนหวีนะครับ แต่มีผู้สังเกตการณ์ในฐานะที่ปรึกษาอีกสองคน คือเจ้าฟ้าเชียงตุงและอีก 1 ท่าน จำไม่ได้จริงๆ
3
ตอนนั้นล่ะที่ตัวแทนอังกฤษมาคุยกับตัวแทนเจ้าฟ้าในฉานว่าประสงค์เช่นไร ซึ่งได้คำตอบว่าประสงค์จะมีอิสระอยู่บนความเสมอภาพภายใต้สหภาพพม่า...
2
เข้าใจคำพูดนี้ไหมครับ อธิบายง่ายๆ คือจริงๆ แรกเลยฉานถูกดูถูกและเหยียดว่าป่าเขา ต่ำต้อยกว่าพม่า เมื่อได้อิสระก็อยากเท่าเทียมภายใต้การปกครองตนเอง แต่ไม่ได้อยากแยกจากพม่า เพราะอยู่กันมานาน ทางออกทะเลก็ไม่มี และที่สำคัญยังล้าหลังและเสียหายจากสงครามมาก แยกไปก็ลำบาก ไม่เคยมีการถามจากอังกฤษว่าจะไปอยู่กับสยามไหม เพราะไม่ใช่ประเด็นเลย ก็สยามไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิ์อังกฤษเลย จะมายกให้เราทำไม?
4
อังกฤษฟังดูก็ถือว่าโอเคนะ แถมบอกด้วยว่าไม่ได้หวังให้ฉานแยกออกจากพม่าอยู่แล้ว การที่ผู้แทนฉานต้องการเช่นนี้ก็ถือว่าตรงใจทุกฝ่าย แต่มันติดที่ทางนายพลอองซานต้องการให้เป็นสหภาพ คือหนึ่งเดียวไม่แบ่งแยก แต่ฉานต้องการเป็นสหพันธรัฐ คือรัฐอิสระปกครองตนเองภายใต้ประเทศเดียวกัน เอาให้เข้าใจง่าย หรือฉานอยากได้แบบสหรัฐอเมริกา ต่างคนต่างเป็นรัฐอิสระในประเทศเดียวกัน แต่พม่าอยากได้แบบรัสเซียคือคนละแคว้นแต่ขึ้นตรงต่อการปกครองส่วนกลาง ตรงนี้ล่ะที่ไม่จบ
2
แต่นายพลอองซานชำนาญการประสานอยู่แล้ว ไม่งั้นเข้าไม่ได้กับทั้งญี่ปุ่นและอังกฤษหรอก เลยจัดการประชุมที่เวียงปางหลวงในเขตฉานขึ้น โดยเชิญเจ้าฟ้าที่เป็นที่นับถือ รวมทั้งตัวแทนจากคะฉิ่น ฉิ่นและกระเหรี่ยงมาร่วมประชุม โดยตัวแทนพม่ามีเพียงนายพลอองซานผู้เดียว
3
การประชุมไม่มีอะไรมาก คือต้องการให้ทุกรัฐร่วมกันเพื่อต่อรองจากอังกฤษให้มีเอกราชทันที โดยข้อแลกเปลี่ยนง่ายๆ 2 ข้อ คือ 1 สัญญาว่าจะเท่าเทียมโดยแท้จริง ถ้าพม่าได้เงิน 1 จัต ไท คะฉิ่น ฉิ่นและกระเหรี่ยงต้องได้ 1 จัตเท่ากัน และ 2 ให้อยู่ร่วมเป็นสหภาพกันไปสัก 10 ปีดูก่อน ถ้าไม่เวิร์คจะกำหนดในรัฐธรรมนูญไว้เลยว่าให้สามารถแยกเอกราชได้ ที่สำคัญยังยื่นข้อเสนอให้ประธานาธิบดีคนแรกหากไม่ใช่ตัวนายพลอองซานก็ให้เป็นตัวแทนจากฉาน คือให้เจ้าฟ้าไทใหญ่เลือกกันมาเลย พม่ารับได้หมดทุกเงื่อนไข แหม่ฟังเงื่อนไขนี้ใครจะไม่เอาด้วย
7
เมื่อตกลงกันหมด อังกฤษก็เห็นว่าตามกันหมดแล้วนี่ แถมอังกฤษยังมองว่าพม่าเต็มไปด้วยปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ ปกครองยากอยู่แล้ว ดังนั้นปีกว่าหลังจบสงครามจึงมอบเอกราชให้ทันที แถมเหน็บในรัฐธรรมนูญปี 2490 ว่าให้รัฐฉานและรัฐอิสระอื่นๆพิจารณาการแยกตัวเอกราชได้เมื่อผ่าน 10 ปี และการกระทำของพม่าไม่ตัดสิทธิ์ใดๆ ไป โดนใจใช่เลย
7
น่าเศร้าตรงบิดาสหภาพพม่าอย่างนายพลอองซานถูกลอบสังหารก่อนถึงสิบปี ทำให้คนที่รับประกันความเท่าเทียมไม่อยู่ เมื่อตั้งรัฐบาลแรกเจ้าส่วยไตก์ เจ้าฟ้าหลวงเมืองยองห้วยจึงได้เป็นประธานาธิบดีคนแรก ทั้งนี้ตามที่นายพลอองซานตกลงกับอังกฤษว่าหากไม่ใช่ตนแล้ว ให้คนไท เป็นประธานาธิบดีคนถัดไปเพราะมีประชากรลำดับที่สองนั่นเอง โดยเจ้าส่วยไตก์เป็นผู้มีความสนิทกับข้าหลวงอังกฤษประจำพม่ามาแต่เดิม และยังเป็นเมืองใหญ่ของฉานตะวันตกอีกทั้งเป็นผู้อาวาโสที่เจ้าฟ้าไทใหญ่ให้ความเคารพ
7
แต่ความที่เป็นประเทศใหม่และเจ้าส่วนไตก์ก็ไม่มีอำนาจอย่างแท้จริง งบประมาณที่พม่ามีน้อยนิดแล้วยังไปถึงฉานน้อยเข้าไปอีก เอาเป็นว่าสัญญา 1 จัตเท่ากันไม่ต้องพูด เพราะแม้แต่กระเหรี่ยง คะฉิ่นยังได้มากกว่าฉาน
สาเหตุนั้นคนไทเชื่อว่าพม่าไม่พอใจฉานมาแต่เดิม คืออังกฤษชนะพม่าได้ ก็ปลดพระเจ้าสีป่อเนรเทศและไม่ตั้งกษัตริย์องค์ใหม่ แต่เจ้าฟ้าไทใหญ่กลับได้ปกครองตามเดิม มันเอาเปรียบกันนี่น่า
เมื่อได้งบน้อย การพัฒนาพื้นที่ก็แย่ ทุกโครงการไม่มีอะไรสำเร็จ โรงเรียน โรงพยาบาล ถนน ยิ่งความเจริญเข้ามาตามยุค คนรุ่นใหม่ก็ต่อต้านระบอบเจ้าฟ้า โดยโจมตีว่าไม่พัฒนาเพราะเจ้าฟ้าสนใจแต่เรื่องของตน ไม่สนใจประชาชน โดยไม่ดูว่างบมันไม่มี ภาษีแต่ละเมืองก็น้อยนิด
2
ตอนนั้นเอง เป็นปี 2500 คือครบ 10 ปีตามรัฐธรรมนูญพอดี พวกฉานเลยขอใช้สิทธิ์แยกการปกครอง สังเกตนะครับ ไม่ใช่สิทธิ์แยกเอกราช แค่แยกปกครองเป็นรัฐ แต่ยังรวมกันในนามสหพันธรัฐพม่า เพื่อแก้ปัญหา แต่อูนุประธานาธิบดีตอนนั้นไม่เห็นด้วย เขาเข้าหานายพลเนวินและให้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเสีย!!!
พศ 2501 นายพลเนวินจึงทำรัฐประหารแบบวีรบุรุษ คือเข้ามาแก้ปัญหาชาติ ทั้งเศรษฐกิจ การเมืองและความแตกแยก ทหารคือมาแบบโคตรเป็นมิตร ใจดี ประชาชนรัก โอ๊ยตาย คุ้นมาก ขอบอก
17
ในภาพลักษณ์ดีของทหารช่วงนั้น นายพลเนวินที่เกลียดเจ้าฟ้าเป็นทุนเดิม แอบไปสนับสนุนพวกใต้ดินเด็กหนุ่มไทใหญ่ให้ล้มระบอบเจ้าฟ้า จนถึงจุดที่ระบอบเจ้าฟ้าอยู่ไม่ได้ ในที่สุดปี 2502 ตัวแทนเจ้าฟ้าลงนามประกาศคืนอำนาจเจ้าฟ้าแก่สภาแห่งชาติ เป็นอันสิ้นระบอบเจ้าฟ้าในฉาน แม้จะมีประชาชนบางส่วนยังเคารพอยู่เช่นเดิม ก่อนที่จะคืนอำนาจให้อูนุหลังเลือกตั้งภายหลังปฏิวัติไป 2 ปี
3
แล้วละครบทเดิมก็เริ่ม คือรัฐบาลพลเรือนคุมกันไม่อยู่ การเมืองเศรษฐกิจและความขัดแย้งเพิ่มขึ้น จนในที่สุดทหารที่นำโดยนายพลเนวินเจ้าเดิมก็บุกยึดอำนาจรอบสองในปี 2505 แต่คราวนี้ไม่มีทหารแสนดีขวัญใจประชาชนอีกแล้ว คงเหลือแต่ค้อนเหล็กอันแข็งกร้าวควบคุมประชาชน โดนเฉพาะดินแดนชนกลุ่มน้อย ที่หนักและชัดคือกระเหรี่ยง แม้แต่ฉานเองก็รู้แล้วว่าผิดพลาดที่รวมกับพม่า แถมไปเชื่อทหารพม่าล้มเจ้าตัวเอง ซึ่งสุดท้ายก็ไม่มีอะไรให้ตามคำพูด ทั้งเอกราชแม้แต่อัตลักษณ์ของตนที่พยายามทำลาย ดังที่เผาหอหลวงเมืองเชียงตุงทิ้ง และจับบรรดาเจ้าฟ้าไปขังไว้ที่ย่างกุ้ง จนบางพระองค์สิ้นพระชนม์ยังไม่อนุญาตให้นำพระศพกลับบ้านเกิดเลย
6
ความกดดันตรงนี้เอง จึงทำให้ในที่สุดก็เกิดกองทัพกู้ชาติรัฐฉานแบบที่เราได้ยินมานั่นล่ะ ซึ่งพม่าก็บอกว่าเป็นกบฎ ก่อการร้าย ส่วนคนไทเขาบอกว่าแค่ต้องการอิสระความมีตัวตน ซึ่งนโยบายพม่าคือ ชาติเดียวคำสั่งเดียว
2
อันนี้เล่าย่อแล้วนะ ย่อไหม55 แต่หวังว่าใครอ่านมาจนถึงตรงนี้จะพอได้เข้าใจที่มาที่ไปของการเมืองพม่าและรัฐฉานพอสมควร เรื่องที่ฉานไม่เลือกอยู่กับไทยไม่เคยเป็นจริง อังกฤษไม่เคยมีตัวเลือกนี้ให้แต่ไหนแต่ไร และเอาเข้าจริง เจ้าฟ้าเชียงตุงมีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชไม่มาก เพราะตอนนั้นเจ้าฟ้าเชียงตุงอายุมากชราภาพ เจ้าจายหลวงรัชทายาทก็เด็กมากเกินไป ส่วนใหญ่อำนาจของฉานช่วงเวลานั้นเป็นของยองห้วยและแสนหวีมากกว่า โดยเฉพาะยองห้วยที่ถือเป็นเมืองใหญ่ เพราะเป็นหน้าด้านติดกับพม่า ที่ทั้งพม่าและอังกฤษให้ความสำคัญ เมื่อรวมกับระบบแต่งงาน ทำให้เจ้าฟ้ายองห้วยได้รับการยอมรับมากที่สุด แต่ทางไทยเราไม่คุ้นเคยเพราะเป็นส่วนในพม่า ต่างกับเชียงตุงที่มีเขตติดกับไทยนั่นเอง ถ้ามีส่วนใดผิดพลาดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ครับ
3
โฆษณา