22 ก.พ. 2020 เวลา 02:19
3 ยาม คือ ยามลงทุน ยามว่าง และยามเก็บเกี่ยว (ใจเกษตร EP18)
การปลูกพืชแบบเกษตรเชิงเดี่ยว แต่ละช่วงเวลาเกษตรกร จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป
3 ยาม ของเกษตรเชิงเดี่ยว
ซีรีย์ใจเกษตร ผ่านมาแล้ว 17 EP หลาย EP มีการนำเสนอแนวทางการทำเกษตรแบบ ใจเกษตรฟาร์ม ดังต่อไปนี้
1. การสูญเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste)
2. สิ่งที่ได้มาฟรีๆ (Free Things)
3. เกษตรรักษ์โลก (Green Farming)
ใน EP18 นี้ ขอนำเสนอ
4. การทำเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming)
โดยเปรียบเทีบกับเกษตรเชิงเดี่ยว
ความเป็นมา
ตัวอย่างเกษตรผสมผสานที่ผมรู้สึกประทับใจ คือ สวนลุงนิล ที่ชุมพร ที่ลุงนิลปลูกพืชคอนโด 9 ชั้น ผมชอบมากๆในวิธีคิด และนำมาปฏิบัติที่ได้ผลจริงๆ
ลุงนิล ถือว่าเป็นเกษตรกรไอดอลของผม เวลาผมออกแบบหรือวางแผนอะไร ในทุกๆเรื่อง เช่น โต๊ะทำงาน ที่จอดรถ ผมพยายามผสมผสานประโยชน์ในหลายๆอย่าง ในพื้นที่ด้วยกัน
สิ่งที่ตรงกันข้ามกับเกษตรผสมผสาน คือ เกษตรเชิงเดี่ยว จริงๆแล้ว เกษตรเชิงเดี่ยวในมุมมองของผม ผลตอบแทนของการทำเกษตรแบบนี้ดีพอสมควร
ตัวอย่างของเกษตรกรเชิงเดี่ยว ที่ทำแล้วร่ำรวยมั่นคงก็มีให้เห็น ถ้าบริหารจัดการได้ดีจริงๆ เช่น แนวทางเกษตรแปลงใหญ่ จัดการโดย
- ผลิตสินค้าจำนวนมากๆ ใช้เครื่องจักรลดต้นทุน
- การรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองกับผู้ซื้อ
ที่ทำเกษตรกรเชิงเดี่ยว แล้วประสบความสำเร็จ ก็มักจะเป็นนายทุนที่มีเงินทุนและมีเครื่อข่ายกับพ่อค้า หรือกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็งจริงๆ
จริงๆ ผมไม่ได้ยึดติด หรือเอนเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แต่ชอบศึกษาข้อดีและข้อเสียหลายๆแนวทาง แล้วนำมาปรับใช้ ตามที่เหมาะสมของเรา
แต่สำหรับเกษตรกรรายย่อย ที่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว จะมีความเสี่ยงด้านต่างๆ แตกต่างกันไปทั้ง 3 ช่วงยาม ดังนี้
** ยามลงทุน **
เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีรายได้ มีความเสี่ยงที่เงินลงทุนไม่พอ ต้องเสียโอกาสบ้าง ต้องกู้ยืมดอกเบี้ยสูงๆบ้าง หรือต้องยอมรับเงื่อนไขที่เสียเปรียบบ้าง
อาจขาดทุนตั้งแต่ยังไม่เก็บเกี่ยว เกษตรกรที่มีชีวิตล้มเหลวหลายคน เป็นหนี้เป็นสินก็เพราะบริหารจัดการยามลงทุนได้ไม่ดี
เป็นที่มาของคำพูดเศร้าๆที่ว่า "ยิ่งทำเกษตรก็ยิ่งต้องขายที่ทำกิน"
** ยามว่าง **
ช่วงนี้ก็มีความเสี่ยงไม่แพ้กัน เป็นช่วงเวลาที่รอพืชเติบโต รอให้ออกดอกออกผล รอเก็บเกี่ยว เป็นช่วงเวลาที่ไม่มีรายได้ เช่นกัน
มีความเสี่ยงที่ อบายมุข หรือสิ่งไม่ดีต่างๆจะเข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ความขี้เกียจ สุราของมึนเมา การพนัน หรือความขัดแย้ง (ว่างมาก ก็เผือกเรื่องชาวบ้าน)
ในทางตรงกันข้าม เกษตตกรหลายคน รู้จักใช้ยามว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น ท่องเที่ยว ทัวร์บุญ หาความรู้เพิ่มเติม เพิ่มทักษะการทำงาน หารายได้เพิ่ม เช่น ทำงานก่อสร้าง ค้าขาย หรือทำงานสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น
** ยามเก็บเกี่ยว **
เป็นยามที่มีรายได้ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเช่นกัน ต้องแย่งคิวรถเกี่ยวที่มีอยู่จำกัด ถ้าแปลงเล็กมาก รถเกี่ยวก็ไม่รับจ้าง ก็ต้องหาแรงงานเกษตรทดแทน ซึ่งหายากเพิ่มขี้นทุกวัน
ช่วงนั้นเกษตรกรหลายๆรายเก็บเกี่ยวพร้อมกัน เกิดสินค้าเกษตรล้นตลาด ราคาสินค้าเกษตรอาจตกต่ำ จนทำให้เกษตรกรถึงกับขาดทุนก็เป็นไปได้
การทำเกษตรผสมผสาน ช่วยแก้ไขความเสี่ยง ได้
- ยามลงทุน พืชอีกอย่าง ก็จะมีรายได้จากพืชอีกอย่าง มาช่วยลงทุน
- ยามว่าง จากพืชอีกอย่าง ก็จัดสรรเวลาให้เกิดประโยชน์แก่พืชอีกอย่าง
- ยามเก็บเกี่ยว เลือกเก็บเกี่ยวในจังหวะที่เหมาะสมได้ เพราะทำหลายอย่าง
การทำเกษตรผสมผสาน ยังช่วยแก้ปัญหาอื่นๆได้อีก เช่น ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาต้นทุนแรงงานภาคเกษตร ปัญหาราคาสินค้าเกษตร ปัญหาภัยธรรมชาติ ซึงปัญหาต่างๆ มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
แนวทางเกษตรผสมผสานนี้ ก็เพื่อลดความเสี่ยง ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน และเพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่ได้กล่าวมาข้างต้น
สนใจการเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม
โปรดติดตาม ใจเกษตร EP ต่อไป
ได้ที่ Blockdit: www.blockdit.com/worklifewinwin

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา