2 ม.ค. 2020 เวลา 16:32 • ประวัติศาสตร์
🔴เพจใหม่ ฝากกดติดตามและกดไลค์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะครับ…•
…รู้หรือไม่? 🔴 ทำไมวันปีใหม่ต้องเป็น 1 มกราคม
ผู้คนทั้งโลกยอมรับว่า “ปีใหม่” คือ 1 มกราคม และเราๆก็รอที่จะ Countdown อย่างสนุกสนาน……เเต่คำถามคือ “ทำไมต้องเป็น 1 มกราคม จะเป็นวันอื่นๆไม่ได้หรือยังไง……มันต้องมีที่มาที่ไป
ขอเริ่มต้นย้อนหลังไปที่อาณาจักรโรมันเมื่อ 46 ปี ก่อนคริตกาล(46 BC) จอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ จูเลียส ซีซ่าส์ ได้ยกทัพไปครอบครองอาณาจักรอียิปส์เพื่อผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ซีซ่าส์สยบกองทัพอียิปส์ด้วยแสนยานุภาพของทหารโรมันตามคำล่ำลือ แต่พอเอาเข้าจริงๆ นอดนักรบกลับถูกฟาร์โรสาวสวยอายุคราวลูกครอบง่ำ แน่นอนสาวสวยคนนั้นคือ “พระนางคลีโอพัตรา”
อาณาจักรโรมันขณะนั้นใช้ปฎิทินที่ตกทอดมาตั้งเเต่ยุคเริ่มสร้างกรุงโรมเมื่อ753 ปีก่อนคริตกาล เรียกว่า Romulus Calender และมีการปรับปรุงเป็น Numa Calendar ปฏิทินโรมันไ้ด้รับการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องaนถึงยุคซีซาส์ เเต่ปัญหาคือมีความคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับฤดูกาล ท่านซีซ่าส์จึงหมดอารมณ์และคิดจะหาปฏิทินฉบับใหม่ที่ถูกต้องกับฤดูกาล เรื่องนี้ทำทำให้เข้าทางพระนางคลีโอพัตราทันที เพราะอียิปส์เป็นนักดาราศาสตร์และมีความรู้เรื่องปฏิทินดีกว่าโรมัน ประกอบกับซีซ่าส์ก็ตามใจพระนางคลีโอพัตราอยู่เเล้ว จึงเชิญให้นักดาราศาสตร์ในราชสำนักฟาร์โร ชื่อ Sosigenes ทำหน้าที่เป็นผู้คิดค้นปฏิทินฉบับใหม่
แน่นอนอียิปส์จึงใช้แม่แบบปฏิทินของตนเป็นหลักในการสร้างโดยอิงกับ “สุริยคติ”
(Solar Calendar) ซึ่งเเตกต่างกับปฎิทินโรมันที่เป็นแบบ “จันทรคติ” (Lunar Calendar)
ปฏิทินฉบับใหม่นี้กำหนดให้หนึ่งปีมี 365 วัน และทุกๆ 4ปีให้ชดเชยอีก1วัน เป็น366 วัน เดือนกุมภาพันธ์มี29 วัน
ปฏิทินฉบับเเรกของโรมัน Romulus Calendar มีจำนวน 10 เดือน 304 วัน ใช้ในช่วงปี753 ปี ก่อนคริตกาล
ปฏิทินฉบับปรับปรุง โดยกษัตริย์ Numa เพิ่มเป็น 12 เดือน 355 วัน
ปฏิทินโรมันฉบับสุดท้าย ที่ประกาศใช้โดย”จูเลียส ซีซ่าส์ เมื่อ 45 ปี ก่อนคริตกาล เป้นปฏิทินสริยะคติตามแบบอียิปส์ กำหนดให้หนึ่งปีมี365วัน
ทำไมปฏิทินจูเลียส ซีซ่าส์ (Julian Calendar) จึงกำหนดให้ปีใหม่ตรงกับ 1 January หรือเริ่มต้นปฏิทินที่วันที่1 มกราคม สรุปได้ดังนี้คือ
……ชาวโรมันมีความถือเทพเจ้าเจนัส (God Janus) ซึ่งมีรูปลักษณ์เป็น “เทพสองหน้า” หน้าหนึ่งมองกลับไปในอดีตอีกหน้ามองไปยังอนาคต เมื่อถึงฤดูหนาวชาวโรมันสังเกตุเห็นดวงอาทิตย์คล้อยต่ำลงทางทิศใต้และเวลากลางวันสั้นลวมากกว่าปกติ เขาเหล่านั้นกว่าว่าดวงอาทิตย์จะไม่กลับมาอีก จึงต้องไปอ้อนวอนเทพเจนัสให้ดวงอาทิตย์กลับมา และดวงอาทิตย์ก็กลับมาจริงๆ เรื่องนี่สอดคล้องกลับเอกสารที่ระบุว่า
…Our modern celebration of New Year’s Day stems from an ancient Roman custom, the feast of the Roman god Janus – god of doorways and beginnings. The name for the month of January also comes from Janus, who was depicted as having two faces. One face of Janus looked back into the past, and the other peered forward to the future
…แปลเป็นไทยได้ว่า…การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ในปัจจุบันมีที่มาจากประเพณีโรมันโบราณ เรียกว่า ต้น ชื่อเดือน มกราคม January มาจากคำว่า Janus ผู้ซึ่งมีภาพลักษณ์สองหน้า หน้าหนึ่งมองไปทางอดีต อีกหน้ามองไปทางอนาคต
เมื่อตีความตามข้อมูลข้างต้นก็พบว่า …วันที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนกลับมาหลังจากหยุดนิ่งอยู่ที่ขอบฟ้าด้านทิศใต้ในปรากฏการณ์ Winter Solstice (เหมายัน) เป็นวันที่ชาวโรมันยินดีปรีดาอย่างยิ่ง เพราะโลกกล้บมาสดใสอีกครั้งหนึ่ง ปฎิทินของจุเลียส เซซ่าส์จึงยึดเอาปรากฏการณ์นี้เป็นวันเริ่มต้น Julian Calendar และตั้งชื่อเดือนนี้ว่า January หรือ lanuarius ในภาษาโรมัน. ตั้งเเต่นั้นมาวันที่ 1 January จึงเป้น new year ที่อาณาจักรโรมันอย่างเป็นทางการ
โฆษณา