Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายไท
•
ติดตาม
3 ม.ค. 2020 เวลา 03:38 • การศึกษา
วิวัฒนาการของกฎหมายไทยเป็นมาอย่างไร?
สมัยกรุงสุโขทัย
กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทยโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้ทรงตั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณปี พ.ศ.1781ในสมัยนั้นมีกฎหมายที่ใช้อยู่อยู่หลายลักษณะ เช่น กฎหมายโจร กฎหมายว่าด้วยเรื่องราวร้องทุกข์ กฎหมายลักษณะที่ดิน และกฎหมายพิจารณาความเป็นต้น
ในช่วงที่กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของไทยภาคกลางนั้น ทางลานนาไทยได้เริ่มสร้างอาณาจักรและตั้งเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีประมาณปี พ.ศ. 1835 มีการปกครองเป็นอิสระของตัวเองมีพระเจ้ามังรายเป็นกษัตริย์ ปกครองอาณาจักรลานนาไทยโดยใช้กฎหมายมังรายศาสตร์ มังรายศาสตร์จึงเป็นกฎหมายที่รวบรวมข้อบัญญัติต่างๆทั้งทางเพ่งและอาญามีการกำหนดโทษไว้ จนต่อมาสุโขทัยหมดอำนาจลงประมาณปี พ.ศ. 1893 ในสมัยพระเจ้าเลอไทย ส่วนอาณาจักรลานนายังมีอายุมาจนถึงประมาณ พ.ศ. 2101 จึงเสียให้แก่พม่า
ต่อมากฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ได้ทรงสร้างอยุธยาเป็นราชธานีแห่งใหม่ของไทยเมื่อปี พ.ศ. 1893 การปกครองในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้รับอิทธิพลมาจากขอม ซึ่งมีประเพณีและวัฒนธรรมแบบฮินดูนิยม พระเจ้าแผ่นดินเปรียบเสมือนเทพเจ้าในสรวงสวรรค์แบ่งภาคลงมาเกิด สำหรับกฎหมายสมัยนั้นมีดังนี้
1.คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ในสมัยอยุธยาได้มีการนำเอาหลักธรรมศาสตร์มาจากมอญ พระธรรมศาสตร์นี้ถือว่าเป็นประกาศิตจากสวรรค์ ซึ่งแสดงถึงสัจธรรมและความเป็นธรรมจึงมีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นอมตะ
2.พระราชศาสตร์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบกฎหมายไทยโบราณ ซึ่งได้แก่พระบรมราชวินิจฉัย ในอรรถคดีของพระมหากษัตริย์ทั้งหลาย โดยมีหลักว่าจำต้องสอดคล้องกับพระธรรมศาสตร์ด้วย
3.กฎหมายอื่นๆ ที่พระเจ้าแผ่นดินทรงตราขึ้นเพื่อใช้บังคับในสมัยกรุงศรีอยุธยามีมากมาย เช่น กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ กฎหมายอาญาหลวง กฎหมายลักษณะกบฎ กฎหมายเหล่านี้เรียกว่า "พระราชกำหนดบทพระอัยการ"
กฎหมายสมัยรัตนโกสินทร์
หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 เอกสารต่างๆรวมทั้งตัวบทกฎหมายได้ถูกทำลายลงเกือบหมด ต่อมาพระยาตากได้รวบรวมผู้คนขึ้นต่อสู้กับพม่าจนประสบชัยชนะและปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีและได้มีการรวบรวมกฎหมายต่างๆที่ใช้อยุ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยามาตรวจชำระใหม่ ซึ่งในขณะนั้นได้มีคดีหย่าระหว่างอำแดงป้อมและนายบุญศรีช่างเหล็กหลวงและลูกขุนศาลหลวงได้สั่งให้หย่าได้ ทั้งที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายนอกใจและเป็นฝ่ายผิดและฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายที่ได้สินเดิมไปหมด สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าได้รับสั่งให้ตรวจดูกฎหมาย ณ ศาลหลวงมาตรวจสอบปรากฎว่าทุกฉบับ มีความสอดคล้องกับที่ปรากฎในคำพิพากษาและทรงเห็นว่ากฎหมายยังไม่มีความถูกต้องเพียงพอ จึงได้มีการแก้ไขกฎหมาย กฎหมายที่ชำระเรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" ที่เรียกเช่นนี้เพราะมีตราคชสีร์ ตราราชสีห์และตราบัวแก้วประทับอยู่ ซึ่งต่อมากลายเป็นตราของกระทรวงมหาดไทย กลาโหม และต่างประเทศ และได้ใช้จนถึงราชกาลที่4
ต่อมารัชกาลที่4 ได้รับอิทธิพลของประเทศตะวันตกแม้ว่าพระองค์จะได้มีการปรับปรุงและแก้ไขก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจเช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา อเมริกาและญี่ปุ่น ไม่ยอมใช้กฎหมายของไทยและไม่ยอมขึ้นศาลไทยโดยอ้างว่ากฎหมายของไทยนั้นป่าเถื่อนและล้าสมัยจึงมีการตั้งกงสุลของตนขึ้นมาพิจารณาคดีของคนชาติตน จึงเรียกว่าเรา"สูญเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต"
ต่อมารัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ทรงปฎิรูปศาลและได้จัดระบบกฎหมายเสียใหม่เป็นการใหญ่ รวมทั้งได้ตั้งคณะกรรมการและร่างกฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ 2440 ซึ่งประกอบไปด้วยนักกฎหมายไทยคือลูกหลานของท่านที่ส่งไปเรียนกฎหมายที่ต่างประเทศแลัที่ปรึกษาชาวต่างประเทศ มารวมกันชำระกฎหมายเสียใหม่โดยนำหลักของนานาอารยประเทศมาปรับใช้ ซึ่งกฎหมายฉบับแรกคือ กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ 127 หลังจากนั้นก็มีกฎหมายอื่นๆตามมา เช่น กฎหมายเพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความต่างๆ
ฝากติดตามด้วยนะครับ
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย