3 ม.ค. 2020 เวลา 06:39 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
คืนนี้! #ฝนดาวตกควอดรานติดส์ ต้อนรับทศวรรษใหม่
http://thaiastro.nectec.or.th
ดาวตกเกิดจากสะเก็ดดาว ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของดาวหางและดาวเคราะห์น้อย เคลื่อนเข้าสู่บรรยากาศโลก
หากสังเกตจากสถานที่ซึ่งท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีเมฆหมอก แสงจันทร์ และแสงไฟฟ้ารบกวน โดยทั่วไปสามารถมองเห็นดาวตกบนท้องฟ้าได้เฉลี่ยราว 6 ดวงต่อชั่วโมง
ดาวตกที่สว่างมากเรียกว่าลูกไฟ (fireball) หากระเบิดเรียกว่าดาวตกชนิดระเบิด (bolide) ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดเสียงดัง
ฝนดาวตกควอดรานติดส์ (Quadrantids Meteor Shower) เกิดจากเศษอนุภาคที่หลงเหลือของ ดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช1 (2003 EH1) ที่โคจรตัดผ่านวงโคจรของโลก เมื่อโลกเคลื่อนที่เข้าใกล้บริเวณดังกล่าว
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยว่า ช่วงระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม – 12 มกราคม ของทุกปี จะเกิดปรากฏการณ์ฝนดาวตกควอดรานติดส์
สำหรับปี 2563 ฝนดาวตกควอดรานติดส์ มีอัตราการตกสูงสุด หลังเที่ยงคืน วันที่ 3 ม.ค.นี้จนถึงรุ่งเช้า 4 ม.ค.นี้ โดยช่วงเวลาที่แนะนำคือ 02:30 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
อัตราการตก 120 ดวงชั่วโมง ไม่มีแสงจันทร์รบกวน เหมาะแก่การสังเกตการณ์เป็นอย่างยิ่งครับ
ผู้สนใจชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกควรเลือกสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟรบกวน สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ไม่จำเป็นต้องมองผ่านกล้องโทรทรรศน์
โฆษณา