Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BKK Bus Photographer
•
ติดตาม
6 ม.ค. 2020 เวลา 11:00 • ท่องเที่ยว
รถเมล์สีฟ้า... ที่ไม่ได้ฟ้าเดียวกันน
เขียนโดย Admin Hydrogen bond
สืบเนื่องในกรณีอุบัติเหตุสายปอ.29 เพลาหลุดบนถนนพหลโยธินเมื่อเช้าวานนี้ (5 มกราคม 2563) ซึ่งดูเหมือนเป็นอุบัติเหตุธรรมดาทั่วไป แต่ผมได้สังเกตสิ่งที่ไม่ธรรมดา นั่นก็คือคอมเมนต์ของทั้งในเพจของ จส.100 และ สวพ.91 ตามลิงก์นี้นะครับ
https://www.facebook.com/116483835041859/posts/2813947565295459/
https://www.facebook.com/172059279471277/posts/3089798471030662/
ซึ่งทำให้ผมเกิดความรู้สึกว่า หลายๆคนยังคงมีความเข้าใจผิดๆ (อันนี้ไม่นับพวกด่าเอามันหรือด่าอย่างคนไม่สน 4 สน 8 นะครับ กลุ่มคนจำพวกนี้ผมขอไม่นับ) เกี่ยวกับรถเมล์ปรับอากาศสีฟ้า ที่วิ่งให้บริการอยู่บนท้องถนน กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล นะครับ ก่อนที่จะเริ่มตัวส่วนตัวของเนื้อเรื่อง ผมขออนุญาตถามท่านผู้อ่านในนี้ว่า สมมติรถเมล์สีฟ้าทั้ง 3 คันนี้เดินทางมาป้ายรถเมล์ที่ท่านอยู่ ท่านสามารถแยกลักษณะของรถเมล์สีฟ้า 3 คันนี้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร นะครับ
โอเค เรามาเริ่มกันเลยละกัน รถเมล์สีฟ้าๆที่เราเริ่มทยอยเห็นในถนนในปัจจุบันนี้ เป็นรถเมล์ปรับอากาศที่ใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติอัด (CNG/NGV) เป็นเชื้อเพลิงหรือก็คือรถเมล์เอ็นจีวีนี่แหละครับ โดยมีข้อกำหนดมาจากกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ว่ารถเมล์ประเภทนี้จะต้องมีการทำสีตัวรถเป็นสีฟ้าทั้งคัน ทั้งรถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หรือรถร่วมบริการ
ดังนั้นเราจึงไม่แปลกใจว่ารถเมล์ปรับอากาศรุ่นใหม่ของ ขสมก. ที่สั่งซื้อมาในลอตล่าสุดเมื่อปี 2561 นั้นถึงมีสีฟ้า รวมถึงรถเมล์ปรับอากาศของบริษัท สมาร์ทบัส จำกัด ที่วิ่งอยู่ในหลายๆสาย ในตอนนี้ ที่เริ่มวิ่งให้บริการเมื่อเดือนมิถุนายน ปีที่แล้ว ก็มีสีฟ้าเช่นกัน เพราะเป็นรถเมล์ลอตที่มาหลังจากการกำหนดของทาง ขบ. นั่นเองครับ
“อ่าว แล้วรถเมล์สีฟ้า คันนี้นี่รถเมล์ใหม่ไม่ใช่เหรอ?” นี่คือคอมเมนต์หลักๆที่ผมเจอในเพจของทั้ง จส.100 / สวพ.91 ทั้งในแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ด้วยเช่นกัน เมื่อคนเห็นรถเมล์สีฟ้า คนจะนึกถึงคือถ้าไม่ใช่รถเมล์ใหม่ ก็รถเมล์ขององค์การฯเลย (ปัจจุบันก็มีคนแยกรถเมล์ขององค์การฯกับสมาร์ทบัสไม่ออกเช่นกันครับ) เราจะชี้แจงรถเมล์อีกแบบนึงนะครับ
บริษัท พรีเมียม แมเนจเมนต์ จำกัด ผู้ให้บริการรถเมล์ปรับอากาศในหลายสาย ได้แก่ สาย 29 40 504 554 และ 558 มีรถปรับอากาศจำนวนมาก และในสายทั้งหมดนี้ ในอนาคตจะมาวิ่งในนามบริษัท สมาร์ทบัส จำกัดครับ ซึ่งก็ต้องมีรถใหม่เข้ามาในสายนี้ แบบในหลายสาย เช่น 147 69 104 พวกนี้เช่นกัน แต่รถบางส่วนนั้นจะวิ่งอยู่ต่อ ไม่ได้ปลดระวางนะครับ โดยจะวิ่งผสมๆใน 5 สายที่ผมกล่าวมานี่แหละ โดยเหตุนี้ จึงได้นำรถที่ได้วิ่งต่อ ไปปรับปรุงสภาพและเปลี่ยนสีตัวรถ จากสีเหลืองเป็นสีฟ้า ตามข้อกำหนดของ ขบ. (เพราะรถเมล์พวกนี้ใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวีเช่นกัน) ซึ่งบางคนจะเรียกพวกนี้ว่าเป็นรถย้อมแมวนะครับ เพราะเปลี่ยนไปหลายอย่าง แต่ออกมาแล้วยังคล้ายๆเดิมอยู่ และ ไม่ใช่รถเมล์สีฟ้ารุ่นใหม่เหมือนรถ 2 ประเภทแรกครับ
สำหรับการเก็บค่าโดยสาร ตามข้อกำหนดของ ขบ. รถเมล์ขององค์การฯ และรถเมล์ของสมาร์ทบัส จะเก็บค่าโดยสาร 15,20 และ 25 บาท ตามระยะทาง ส่วนรถปรับปรุงสภาพ หรือรถย้อมแมวเนี่ย จะเก็บค่าโดยสาร 14-26 บาท ตามระยะทาง (อัตราเดียวกับรถเมล์สีเหลืองที่มีมาตรฐานเทียบเท่ายูโรทู) ครับ
ทุกท่านสงสัยมั้ยครับว่า ทำไมรถปรับปรุงสภาพที่เป็นสีฟ้าทำไมถึงไม่สามารถเก็บเรตราคาเหมือนอีก 2 ประเภท คำตอบก็คือ รถเมล์ที่สามารถใช้เรตราคา 15,20 และ 25 บาทได้นั้น จะต้องเป็นรถเมล์ที่นอกจากใช้เชื้อเพลิงเอ็นจีวีแล้ว ยังต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการ หรือการออกแบบ Universal design คือ รถแบบชานต่ำ (Low-Floor) หรือ แป้นลาดเอียงสำหรับผู้พิการที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ (โดยจะมีสัญลักษณ์ผู้พิการติดอยู่) รวมถึงป้ายไฟแบบอิเล็กทรอนิกส์และการจัดวางตำแหน่งประตูฉุกเฉิน อุปกรณ์ความปลอดภัยจากกรณีเพลิงไหม้ และจดทะเบียนหลังจากต่อตัวรถก่อนเวลา 2 ปี ซึ่งรถปรับปรุงสภาพนั้น ปัจจุบันให้บริการเป็นปีที่ 12 แล้วครับ และประเภทรถเป็นแบบกึ่งชานต่ำ (Semi-Floor) ครับ
ทีนี้ หวังว่าทุกท่านจะเข้าใจแล้วนะครับ ว่ารถเมล์สามคันที่ผมถามไว้ตอนต้นโพสต์นั้น ต่างกันอย่างไร ที่ไม่ใช่แค่รูปทรงนะครับ และผมขอสรุปปิดท้ายด้วยรูปนี้นะครับ
ทั้งหมดคือข้อมูลที่ทางผมและทีมงานรวบรวมมา หวังว่าทุกคนที่อ่านจะมีความเข้าใจมากขึ้น ไม่มากก็น้อยครับ สำหรับท่านผู้อ่านอยากให้เขียนเกี่ยวกับรถเมล์อย่างไร สามารถเสนอได้ที่คอมเมนต์นะครับ แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้านะครับ
บันทึก
3
2
6
3
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย